ก่อการครู – Korkankru

ก่อการครู

“กาฬสินธุ์ศึกษา” ปลายฝันชุมชนแห่งการเรียนรู้

“ครู” ที่อยากเชื่อมโยงทรัพยากรเข้ากับชีวิตผู้เรียน มีคนกล่าวว่า “กาฬสินธุ์นี้ดินดำน้ำซุ่ม” ออกเสียงสำเนียงอีสาน สื่อถึงชื่อเสียงเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งยึดเกี่ยวไว้กับอาชีพเกษตรกรรมและการประมงพื้นบ้านของผู้คนที่มีมานาน ถึงแม้ในบริบทความเป็นชุมชน “ดินดำ น้ำซุ่ม” จะมีเรื่องราวของความร่มเย็น แต่หากมองไปยังความภาคภูมิใจของคนแถบนี้ อาจจัดได้ว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยมองเห็นศักยภาพ และความง่ายงามของทรัพยากรที่พวกเขามี สำหรับ ครูสราวุฒิ พลตื้อ หรือ ครูตู้ ผู้มีบุคลิกไม่ยอมหยุดนิ่งกับการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ย่อมอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านเครื่องมือที่เขาถนัด นั่นคือ “การศึกษา” ก้าวครูกล้าเปลี่ยน หากเจอนอกรั้วโรงเรียนก็อาจจะแยกได้ยากว่าชายคนนี้มีอาชีพอะไร ในบรรยากาศทั่วไปเขามักสวมเสื้อยืดธรรมดา ไม่ก็เสื้อเชิ้ตแขนยาวเรียบง่ายในกิจกรรมที่ต้องพบปะผู้คน เป็นคนพูดคุยด้วยคำที่มีแง่คิดราวกับเคยเป็นนักบวช เราอาจทายว่าเขาคือศิลปิน แต่จริง...

การศึกษาความเป็น “ไท” โดยเหล่าครูก่อการและหนุ่มสาวไทบ้าน

“การศึกษา” ที่เราเชื่อ คือ “การศึกษา” ที่ทำให้เรามีทักษะและความรู้ สามารถทำให้เราอยู่รอดได้ แล้วต้องทำให้เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสันติสุข มากกว่านั้นคือ อยู่อย่างมีความหมาย อยู่อย่างสร้างสรรค์ มีส่วนร่วม กล้าที่จะตั้งคำถามกับปัญหาที่พบเจอ กล้าที่จะลงมือทำ กล้าที่จะแตกต่าง กล้าที่นำ เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นต่อส่วนรวม ปัจจัยที่จะทำให้ภาพของ “การศึกษา” ที่เราเชื่อเกิดขึ้นได้ เริ่มต้นจากทัศนคติที่มองเห็นระบบนิเวศของการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม ไม่ได้แยกส่วนจากกันเหมือนกับระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ที่ยังขาดการบูรณการ ตั้งแต่โครงสร้างที่แยกเป็นวิชา แยกเป็นชั้นเรียน แยกระดับการเรียนเป็นเกรด ประเมินการเรียนรู้หรือศักยภาพผู้เรียนที่ถูกตัดสินจากมุมมองหรือหลักเกณฑ์ที่ไม่หลากหลาย...

More Than Art อำนาจของศิลปะ และธรรมชาติ

หลังจากเราขึ้นเขา ลุยป่ากันมาหลายสัปดาห์ “ห้องเรียนและธรรมชาติ” ครั้งนี้ เลยปรับให้เบา และโหดน้อยลงกว่าทุกครั้ง แม้จะเป็นช่วงหน้าฝน แต่สภาพอากาศช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ฝนทิ้งช่วงห่างไปหลายวัน ความร้อนอบอ้าว ทำให้เราต้องหาพื้นที่เย็น ๆ ธรรมชาติสีเขียว ผ่อนคลาย หายร้อน คลายเครียดจากการเรียนออนไลน์ และช่วยเกาะเกี่ยวนักเรียนที่ไม่ชอบออนไลน์ให้ได้ ที่สำคัญไม่แพ้กันคือช่วยเยียวยาตัวครูเอง และนักเรียนของเรา “ลำน้ำพอง” คือห้องเรียนธรรมชาติของพวกเรา โดยมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนมากขึ้นกว่าครั้งก่อน ๆ มีรองผู้อำนวยการต่างโรงเรียน...

ภูเขาหลังบ้าน ใกล้เเค่ไหน ก็ไม่เคยไปถึง

  “การเรียนรู้ คือ ชีวิต”  และ “ชีวิต คือการเรียนรู้” ครูสอยอ | สัญญา มัครินทร์   แล้วธรรมชาติของมนุษย์เรา เรียนรู้ไปทำไม? เรียนรู้กันอย่างไร? และเรียนรู้อะไรกัน? ที่จะทำให้ชีวิตเรา อยู่รอด อยู่ร่วม และอยู่อย่างมีความหมาย มันมีปรัชญาการศึกษา...

Visual note คิดเห็นเป็นภาพฉบับคุณครู

Visual note คิดเห็นเป็นภาพฉบับคุณครู     ทำความรู้จักกับ Visual Note หลายคนอาจคุ้นเคย เคยเห็น หรือ ไม่รู้จักกับ Visual Note ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งในศาสตร์ Visual Thinking มาก่อน วันนี้ ก่อการครู พาทุกคนมารู้จักเเละฝึกทำ...

วิชาคณิตศาสตร์กับห้องเรียนฐานสมรรถนะออนไลน์

วิชาคณิตศาสตร์กับห้องเรียนฐานสมรรถนะออนไลน์ โดย จุฑารัตน์ จอมเมืองบุตร เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม? เป็นคำถามหรือคำกล่าวที่มักจะได้ยินกันบ่อย ๆ เมื่อเรียนในชั้นสูงขึ้นคำถามนี้จะยิ่งมีมากขึ้น อันที่จริงแล้ววิชาคณิตศาสตร์มีความสำคัญกับมนุษย์เราเป็นอย่างมาก ช่วยให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐาน ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียม...

หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะในโรงเรียนไทย ไม่ใช่เเค่เพิ่งปรับเเต่ที่นี่เปลี่ยนมาเเล้วกว่า 2 ปี

  เมื่อต้องปรับเป็นการศึกษาฐานสมรรถนะ เชื่อว่าทั้งคุณครูเเละผู้บริหารต่างก็มีความกังวลว่าในการปรับหลักสูตรครั้งนี้ต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง มีความยากง่ายเเละท้าทายเเค่ไหน เเละเเน่นอนว่าเมื่อปรับเเล้วเกิดผลอะไร วันนี้ ก่อการครู พาทุกคนมารู้จักกับ โรงเรียนฐานสมรรถนะในบริบทของประเทศไทยกันบ้างไม่ใช่เเค่เพิ่งปรับเเตที่มีเปลี่ยนเป็นฐานสมรรถนะมากว่า 2 ปีเเล้ว เเต่ละขั้นตอนการเปลี่ยนเเปลงเป็นอย่างไรบ้างจากการทำงานลงมือจริงหน้างานโดยผอ.วี หรือคุณปวีณา พุ่มพวง ที่จะมาฉายภาพการศึกษาฐานสมรรถนะในบริบทโรงเรียนไทยให้เรากัน   ก้าวเเรกสู่หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ     โรงเรียนวัดถนนกะเพรา โรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง...

จิตวิทยาเชิงบวกกับการทบทวนจุดเเข็งของตัวเอง

จิตวิทยาเชิงบวก     ท่ามกลางความเหนื่อยล้าเเละวุ่นวายของสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีเเค่ไหนถ้าเรายังสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างเเข็งเเกร่งเเละเต็มไปด้วยอารมณ์เชิงบวก จิตวิทยาเชิงบวก เเนวคิดใหม่ของหลักจิตวิทยาที่หันมาให้ความสำคัญกับอารมณ์ด้านบวก และจุดแข็งของตนเองมากยิ่งขึ้น อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว” ถ้าใจเราเข้มเเข็งเเล้วล่ะก็การจะยิ้มสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตก็จะสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ก่อการครูชวนมาทำความรู้จักกับจิตวิทยาเชิงบวกเเละพร้อมกับทบทวนจุดเเข็งของตัวเองผ่าน Toolkit จิตวิทยาเชิงบวกกัน จิตวิทยาเชิงบวกสร้างกันได้ง่ายนิดเดียว สำหรับใครที่ยังนึกภาพจิตวิทยาเชิงบวกไม่ชัดเจนนักตามไปอ่านกันได้ที่ ลิงก์ นี้เลย นอกจากจิตวิทยาเชิงบวกจะดีต่อใจเราเเล้ว การมีใจที่เข้มเเข็งเเละเปี่ยมไปด้วยพลังบวกยังส่งผลต่อคนรอบข้างได้อีกด้วยผ่านการกระตุ้น 3...

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ   “การเรียนรู้ของผู้เรียน” หัวใจสำคัญของการศึกษา แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาได้กำหนดให้การศึกษาฐานสมรรถนะนั้นเป็นแนวทางในการปฏิรูปหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้เกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต โดยการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนในครั้งนี้ ครูผู้สอน หลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และสนับสนุน เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเกิดสมรรถนะตามเป้าหมายที่กำหนดได้ โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรของสถานศึกษา คือผู้บริหารและครูผู้สอนซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ มีกรอบคิดในการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง เกิดความตระหนัก เข้าใจในสิ่งที่ตนต้องพัฒนาก่อนการนำไปใช้จริง ...

'ปฐมบท' ใต้พรมแห่งความดีงาม : สำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย

เมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’  ‘ปฏิรูปการศึกษา’ วาทกรรมคุ้นหูที่วนเวียนหลอกหลอนเราและผู้คนที่เกี่ยวข้องในสังคมไทยมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ ปรากฏการณ์ความล้มเหลวทางการศึกษาปรากฏชัดให้เราเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนบนหน้าข่าวของสื่อทุกสำนักแทบจะทุกวัน โลกกำลังเปลี่ยนแปลงบนหนทางการวิวัฒน์ไปข้างหน้า ขานไปกับเส้นเวลาที่ไม่อาจถอยหลังกลับ แต่เพราะเหตุใดการศึกษาไทยกลับก้าวถอยหลังสวนทางกับนานาประเทศในสังคมโลก ปรากฏการณ์การศึกษาคือภาพสะท้อนสภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจนจนไม่อาจปฏิเสธ การศึกษาเป็นเช่นใดก็สร้างสังคมเช่นนั้น หรือเพราะสภาพสังคมเป็นเช่นใดก็จะสร้างการศึกษาเช่นนั้น ปฏิสัมพันธ์ของทั้งสองสิ่งสอดคล้องบรรสานกันอย่างแนบแน่นดุจคำถามโลกแตก ‘ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน’ นโยบายการศึกษารายวันถูกผลิตขึ้นจากผู้กำหนดนโยบายที่หวังว่าการสร้างนโยบายเหล่านั้นจะเป็น ‘วัคซีน’ ที่ช่วยแก้ปัญหาโรคระบาด โดยที่ไม่เคยคำนึงว่า เรายังไม่เคยวินิจฉัยโรคอย่างถึงแก่น เพียงแค่นำเข้าเทคโนโลยีที่อาจใช้ได้ผลในประเทศอื่น ๆ โดยไม่ศึกษาบริบทของปัญหาและสภาพแวดล้อมอันเป็นลักษณะเฉพาะที่อาจมีวิธีการแก้ไขที่ตรงจุดได้มากกว่า แต่เราจะแก้ปัญหาใด ๆ ได้ก็ต่อเมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’ ...