Korkankru

โครงการผู้นำแห่งอนาคต /ก่อการครู

Reading Time: < 1 minutes

โครงการผู้นำแห่งอนาคตมีจุดยืนในการพัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง และนักขับเคลื่อนสุขภาวะทางปัญญา โดยหนุนเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากด้านใน (Self-leadership) เพื่อก้าวข้ามมายาคติ ความคิด และความเชื่อเดิมๆ ชวนหันกลับมาพัฒนาความสามารถเชิงการสะท้อนย้อนมองตนเอง (Reflexivity) การเชื่อมโยงกับสรรพสิ่ง (Connectivity) การเรียนรู้ใหม่และการเปลี่ยนแปลงตนเอง (Renewability) และความรับผิดชอบต่อตน ผู้อื่น และสังคม และสภาวะการนำที่เอื้อให้เกิดความยั่งยืนและเกิดสังคมสุขภาวะนั้น จำเป็นต้องสร้างสภาวะการนำแบบรวมหมู่ และหลากหลาย Collective Leadership) สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลังพร้อมมุ่งประโยชน์สุขของส่วนรวม (Transformative Leadership) นอกจากนี้ โครงการฯ เชื่อว่าการบูรณาการข้ามศาสตร์ และการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันจะเป็นประตูสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมที่ยั่งยืน พร้อมโอบอุ้มความหลากหลาย และพร้อมร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสังคม

เป้าหมายของโครงการ

  1. ยกระดับและขยายเครือข่ายผู้นำการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
  2. พัฒนาศักยภาพนักสื่อสารสุขภาวะและผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  3. วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการทำงาน
  4. สื่อสารเพื่อเสนอบทสนทนา และจิตสำนึกใหม่ทางสังคม (Public Pedagogy)

ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยกระดับและขยายเครือข่ายผู้นำการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การวิจัยและสร้างองค์ความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

พลเมืองโลกอะไรก๊อน!? แค่สอนยังไม่ทันเลย

Reading Time: < 1 minutes หน้าที่พลเมือง เป็นอะไรได้มากกว่าค่านิยม 12 ประการ? ชวนทุกท่านย้อนคิดเกี่ยวกับวิชาหน้าที่พลเมือง แนวคิดเบื้องหลังวิชา ตัวอย่างการออกแบบวิชา ผ่านมุมมองแขกรับเชิญ 4 ท่าน คุณไอติม (พริษฐ์ วัชรสินธุ) ครูทิว (ธนวรรธน์ สุวรรณปาล) ครูแนน (ปาริชาต ชัยวงษ์) ครูธัช (ธรัช ตรีคุณประภา) รับชมได้ที่ : https://youtu.be/1Ac4kKbLbdM ติดตามรายการ “ใต้โต๊ะครู” ทุกวันพฤหัสที่ 2 และ 4 ของเดือน บนช่องทาง Facebook และ Youtube ก่อการครู

Mar 15, 2024 < 1 min

พิเศษ ถาแหล่ง: โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคมฯ และ ‘ห้องเรียนระบบสอง’ แนวทางของครู-ชุมชน ป้องกันเด็กหล่นจากระบบการศึกษา

Reading Time: < 1 minutes ออกจากโรงเรียนกลางคันปีละสิบกว่าราย ปัญหาใหญ่ของตำบลห้วยซ้อ โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิษก เป็นโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนประมาณ 620 คน เป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 280 คน ตอนปลาย 340 คน และมีบุคลากรโรงเรียน 42 คน ซึ่งความยากจนในพื้นที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับนักเรียนอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลตั้งแต่ปี 2558 ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เคยระบุเอาไว้ว่าตำบลห้วยซ้อมีสัดส่วนคนจนมากถึงร้อยละ 10-18 ของจำนวนประชากรทั้งหมด “บอกตรงๆ ว่าเราไม่ได้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณไว้ แต่เด็ก ม.ต้นส่วนที่คัดกรองแล้วก็จะได้รับทุนปัจจัยพื้นฐานตามกรอบของ กสศ. ที่ช่วยเหลือได้บ้างในปีการศึกษานั้น 1,500-3,000 บาทต่อคน จะได้รับทุนกันประมาณ 100 คน อีกส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มที่โรงเรียนพยายามหาทุนจรให้ เขามอบมาครั้งละ 1,000-2,000 บาท”  อย่างไรก็ตาม ทุนเหล่านี้ก็ไม่ได้เข้าถึงได้ง่ายพอสำหรับเด็กยากจนเสมอไป จุดนี้ ผอ.พิเศษกล่าวย้ำชัดเจนว่า “บางทีทุนมีเงื่อนไข เช่น ต้องมีเกรดเฉลี่ยที่ดี มีผลการเรียนที่ดี เด็กยากจนมันจะเอาผลการเรียนแบบนั้นมาจากไหน มันยาก มันเป็นไปแทบไม่ได้ เด็กยากจนจะให้เอาพฤติกรรมที่ดีที่สุดมาวัดงี้มันยาก… เขาไม่ได้ทุกคน เขาก็ต้องรอ ...

Mar 14, 2024 < 1 min

10 ทักษะแห่งปี 2025 และ Soft Skills 7 ด้าน
โรงเรียนต้องมอบทักษะที่หลากหลายในโลกที่พลิกผัน

Reading Time: 3 minutes 10 ทักษะแห่งปี 2025 และ Soft Skills 7 ด้าน เมื่อความต้องการทักษะการทำงานในอนาคตและสถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โรงเรียนจึงจำเป็นต้องปรับตัวทั้งในด้านหลักสูตรการเรียนรู้ ไปจนถึงการแนะแนวและพัฒนาตนเอง

Dec 21, 2023 3 min

‘Fish Bank’ สนุกกับการเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง สำรวจทรัพยากรผ่านบอร์ดเกม

Reading Time: 2 minutes Fish Bank บอร์ดเกมเรียนรู้การจัดสรรทรัพยากร แก่นของเกมนี้กำลังบอกอะไรกับเรา ซึ่งการทบทวนการกระทำและการตัดสินใจของตนเองจะช่วยสะท้อนได้ว่า พฤติกรรมและความคิดของเราเป็นไปในทิศทางใด ควรแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

Dec 21, 2023 2 min