Korkankru

ก่อการครู กิจกรรมที่ผ่านมา บันทึกเวทีการเรียนรู้

บันทึกครูปล่อยแสงปี 2 เปลี่ยนห้องเรียนที่ย้อนแย้ง เป็นแสงแห่งความสุข7 min read

Reading Time: 4 minutes ครูปล่อยแสง หรือก่อการครูโมดูล 4 เป็นโมดูลสุดท้ายของโครงการก่อการครู ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ครูก่อการรุ่น 2 กลับมาใคร่ครวญสะท้อนคิดและถอดบทเรียนร่วมกันถึงการเดินทางบนเส้นทาง ก่อการครูที่ผ่านมาทั้ง 3 โมดูล Dec 26, 2019 4 min

บันทึกครูปล่อยแสงปี 2 เปลี่ยนห้องเรียนที่ย้อนแย้ง เป็นแสงแห่งความสุข7 min read

Reading Time: 4 minutes

ครูปล่อยแสง หรือก่อการครูโมดูล 4 เป็นโมดูลสุดท้ายของโครงการก่อการครู ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ครูก่อการรุ่น 2 กลับมาใคร่ครวญสะท้อนคิดและถอดบทเรียนร่วมกันถึงการเดินทางบนเส้นทาง ก่อการครูที่ผ่านมาทั้ง 3 โมดูล สิ่งที่ได้เรียนรู้สร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรกับตัวเอง ห้องเรียน ลูกศิษย์ และชุมชน รวมถึงเป็นการส่งต่อประสบการณ์ที่แต่ละคนมีร่วมกันสู่สาธารณะ เพื่อนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันไปต่อยอด แลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายเล็กๆ ของตัวเองที่เป็นดั่งแรงกระเพื่อมในการเปลี่ยนแปลและสร้างห้องเรียนแห่งความสุขต่อไป

วันแรก หลังจากเปิดเวที กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมจับกลุ่มแบ่งปันเรื่องราวชีวิตและความเปลี่ยนแปลงสำคัญในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา สิ่งที่ได้ทำในห้องเรียน ชุมชน และฟีดแบ็กที่ได้รับหลังจากเข้าร่วมก่อการครู

ตามด้วยให้แต่ละคนทำ Paper of Change ทบทวนการเปลี่ยนแปลงในสามระดับ คือการเปลี่ยนแปลงในตัวเอง ความเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียน และความเปลี่ยนแปลงในชุมชนและเพื่อนร่วมวิชาชีพในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา แล้วจึงแบ่งปันเรื่องราวที่เขียนกันในวงย่อย

วันที่สอง เป็นเวทีสาธารณะ ED Talk ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย โดยคุณครู 4 ท่าน คือ 1. ธนาพร ตระกูลดิษฐ์ (มินท์): จักรวาลของความเป็นครู 2. รณกฤต ไชยทอง (ครูโอ๊ค): ของขวัญพิเศษจากคนพิเศษ 3. อัฒทวินทร์ ธนเดชสำราญพงษ์ (ครูบลู): เด็กทุกคน ล้วนเป็นเพชรอยู่ในมือครู 4. สุดารัตน์ ประกอบมัย (ครูเก๋): Super Kae Model บอกเล่าการเปลี่ยนแปลงตนเองและชั้นเรียนของตัวเองที่นำไปสู่การเรียนรู้ที่มีความสุข ให้ความหวังและแรงบันดาลใจแก่ผู้เข้าร่วมอย่างมาก

ตามด้วยการเสวนา “การเปลี่ยนแปลงท่ามกลางความย้อนแย้งของการศึกษาไทย” โดย รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.ไกรยศ ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา คุณสันติพงศ์ ช้างเผือก จากสำนักข่าวไทยพีบีเอส ท่านสุดท้าย และคุณนาฏฤดี จิตรรังสรรค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสุจิปุลิ

อ.อนุชาติ กล่าวถึงปัญหาความย้อนแย้งในระบบการศึกษาไทย 3 ประเด็น คือ หนึ่ง ความคาดหวังให้โรงเรียนเป็นอิสระ สามารถบริหารงานตนเองได้ แต่นโยบายสวนทาง งบประมาณค่อนข้างรัดตึง สอง ความคาดหวังคุณครูให้จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับความเป็นมนุษย์ ให้เด็กๆ เรียนรู้ทักษะต่างๆ แต่การผลิตครูยังเน้นที่ Content-Based และระบบการจัดการหรือความก้าวทางวิชาชีพไม่จูงใจให้ครูพัฒนาตนเอง สาม สังคมคาดหวังให้ระบบการศึกษาช่วยให้เด็กก้าวทันโลก แต่เอาแค่เรื่องในประเทศ ยังอยู่ยาก ส่วนความหวังหรือโอกาสที่จะแก้ไข หนึ่ง คืนการศึกษามาที่การจัดการของประชาชน ไม่ใช่การศึกษารับใช้วาระของรัฐเพียงอย่างเดียว สอง ต้องเน้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ในระบบการศึกษา ไม่ใช่แก้ไขทางเทคนิคอย่างเดียว

อ.ไกรยศ กล่าวว่าเริ่มต้นทุกคนมีความตั้งใจดีและทุ่มเทความพยายาม แต่เมื่อถึงการจัดสรร นโยบายเชิงปฏิบัติการบางอย่าง เช่น เรื่องเงิน อาจจะให้ค่าต่างกัน และกลายเป็นระบบต่อหัวเท่ากันทุกคน ทั้งที่คุณครูควรจะออกแบบได้ว่าเด็กแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน จะพาเขาไปสู่ดวงดาวที่ต้องการจะไปได้อย่างไร โดยมีงบประมาณที่สอดคล้อง

คุณนาฏฤดี กล่าวจากประสบการณ์ของครูที่อยู่หน้างาน วิธีการของระบบคือการประเมินและตรวจสอบที่ส่วนกลางกำหนด อยู่บนฐานความไม่ไว้วางใจกัน น่าจะเปลี่ยนมาไว้ใจกัน
ส่วนคุณสันติพงศ์ กล่าวว่าการศึกษาย้อนแย้งเพราะสังคมย้อนแย้งด้วย เนื่องจากการศึกษาไม่ได้แยกขาดจากสังคม การแก้ไข ต้องมองทะลุปัญหา ทำแล้วตรวจสอบตัวเองว่า สิ่งที่ทำแก้ไขปัญหาการศึกษาได้จริงหรือไม่ เปลี่ยนชีวิตนักศึกษามากน้อยแค่ไหน และคอยมองรอบๆ ว่าการศึกษาหรือนักศึกษาพัวพันกับเรื่องอื่นๆ เช่น การเมือง สิ่งแวดล้อมต่างๆ อย่างไรด้วย

แต่ความหวังคือ ถ้ารวมแสงหรือเครือข่ายคนที่มีใจอยากจะเปลี่ยนแปลงการศึกษาได้ ทำกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมในลักษณะจับต้องได้ ถ่ายรูปติด จะช่วยต่อการขับเคลื่อนในวงกว้าง และถ้าทำให้สุด ทำให้จริง และรวบรวมกันออกมาสื่อสารปล่อยแสง เชื่อว่านี่คือทางสว่าง
อ.อนุชาติกล่าวปิดท้ายการเสวนาว่า หนึ่ง รูปแบบการศึกษาต้องเปลี่ยนไปแน่นอน แม้ว่าเรื่องการศึกษาจะอยู่ท่ามกลางการย้อนแย้ง แต่ยังมีความหวัง เพราะมีการผุดบังเกิดของสิ่งดีๆ มากมาย มีองค์กรพันธมิตรที่พร้อมจะร่วมมือทำงานขับเคลื่อนเรื่องการศึกษามีมากขึ้น ทำอย่างไรให้เราเข้าไปเชื่อมไปต่อกัน

สอง การเปลี่ยนแปลงใดๆ จะเหนื่อยเสมอ แต่ถ้าเรามุ่งมั่นและทำด้วยเจตจำนงที่บริสุทธิ์ เชื่อว่าการเปลี่ยนในด้านบวกมีความเป็นไปได้จริง

สาม การเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องสวมวิญญาณกบฏ กล้าที่จะออกไปจากพื้นที่ปลอดภัยบ้าง กล้าที่จะถูกหมั่นไส้ หรือกล้าที่จะย้อนแย้งกับคนอื่น

สุดท้าย คำนึงถึงเสมอว่าการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในบริบทของการศึกษาเป็นเรื่องระยะยาว

ช่วงบ่าย เชิญชวนผู้เข้าร่วมเดินชมนิทรรศการครูปล่อยแสง และแยกย้ายกันเลือกเข้าร่วมเวิร์กชอปที่คณะคุณครูก่อการรุ่น 1 และ 2 เป็นกระบวนกร จำนวน 13 ห้อง

ช่วงค่ำ เป็นการเฉลิมฉลองโครงการก่อการครู ให้แต่ละคนนึกถึงคำหรือวลีดี ๆ ที่โดนใจในหนึ่งปีที่ผ่านมา 7 คำหรือ 7 วลี แล้วส่งมอบให้แก่กันและกัน

วันที่สาม หลังจากแบ่งกลุ่มย่อยทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในงานครูปล่อยแสงเมื่อวาน ว่าแต่ละคนรู้สึกอย่างไร เห็นอะไรที่มีความหมายกับตนเอง แล้วเป็นการจัดวงเวิลด์คาเฟ่แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในโมดูล 1-3 ก่อนจะสรุปภาพรวมการเรียนรู้ในแต่ละโมดูลในวงใหญ่ สกัดแก่นสำคัญของการขับเคลื่อนที่เกิดขึ้นในหนึ่งปีที่ผ่านมา แล้วให้จับกลุ่มคุยกับเพื่อนๆ ในเรื่องที่สนใจอยากจะทำร่วมกันในอนาคต แล้วแบ่งปันความคิดในวงใหญ่ พบว่ามีอยู่ 8 แนวทาง ได้แก่

ก่อการครูอีสาน เป็นการเคลื่อนเชิงพื้นที่ในจังหวัดของตัวเอง เช่น ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ เมื่อถึงวันที่พร้อมอาจจะเปิดเวทีถอดบทเรียน โดยเชิญอาจารย์จากส่วนกลางไปช่วยเสริมพลังในพื้นที่

ก่อการครูใต้ สงขลา สุราษฎร์ พังงา ชุมพร สตูล ยังไม่มีข้อสรุปในเชิงกิจกรรมและระยะเวลา แต่มีทุนสถานที่และทุนทางธรรมชาติที่เครือข่ายสามารถเข้าไปเรียนรู้วิถีชุมชนกับเด็ก กับครูได้

ก่อการครูสีรุ้ง จะเปิดตัวกับ InsKru แบ่งปันเรื่องเล่าในห้องเรียนและการจัดการพฤติกรรมในห้องเรียน และมีการจัดเวิร์กชอปเกี่ยวกับด้านจิตวิทยาและการดูแลเด็กพิเศษ

ก่อการครูบางกอก กิจกรรมที่จะทำร่วมกันคือ มกราคม ค่ายสร้างคน คนสร้างค่าย กุมภาพันธ์

ก่อการครู STEM เมษายน ก่อการครู @ เครือประภามนตรี มีแบบที่คนจัดไปหาทุนกับเข้าไปช่วยโรงเรียนที่ต้องการ

ก่อการห้องพักครู เป็นกลุ่มสนับสนุนการทำกิจกรรมของทุกกลุ่มในรูปแบบที่ดูแลด้านใน สามารถเคลื่อนตัวเองไปเข้าร่วมได้ทุกที่ ทุกกลุ่ม

ก่อการครูทวารวดี เป็นการรวมกันของสุพรรณฯ นครปฐม อยุธยา เพชรบุรี กาญจนบุรี 5 พื้นที่ อย่างแรกคือการสร้างเพจ แบ่งปันและติดแฮชแท็กไปเรื่อยๆ ก่อน เมษายนปีหน้า จะทำหัวข้อเกี่ยวกับบอร์ดเกม

ก่อการครูโมดูล 5 จะสร้างโมดูลต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เพื่อจะให้กลุ่มก่อการครูได้มา Reconnect Recharge Relax Relationship เติมพลังและสร้างการเติบโตให้กันและกัน โดยแต่ละโมดูลจะมีประเด็นและสถานที่เปลี่ยนไปตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โมดูล 5 คือวันที่ 25-27 มกราคม 2563 ทางภาคเหนือ เป็นกิจกรรมแนวศิลปะ งานฝีมือที่ทำให้อยู่กับตัวเอง ภาวนา ได้ดูแลตัวเอง

ก่อการรักและการเยียวยา เริ่มที่กรุงเทพฯ ร่วมกับก่อการครูบางกอก InsKru ที่มีพื้นที่ให้ทำกระบวนการ แต่อยากจะฝึกทีมให้แข็งแรงก่อน รักตัวเองเป็นอย่างแท้จริงก่อน แล้วทำเวิร์กชอปเรียนรู้กับผู้เข้าร่วมในเดือนกุมภาพันธ์ โดยธนาคารกรุงเทพอาจจะช่วยเงินทุนสนับสนุน

บันทึกกระบวนการ

[pdfjs-viewer url=”https%3A%2F%2Fwww.leadershipforfuture.com%2Fwp-content%2Fuploads%2F2019%2F12%2F%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9-2-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87-script-final.pdf” viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true print=true]

ภาพกิจกรรมทั้งหมด

Album 1

Album 2

Your email address will not be published.