Korkankru

ก่อการครู คลังความรู้ ผู้นำแห่งอนาคต

ประเมินอย่างไรให้ได้สมรรถนะกับเครื่องมือ Rubrics1 min read

Reading Time: 2 minutes ก่อการครูพามาทำความรู้จักกับ "การประเมินฐานสมรรถนะกับเครื่องมือ Rubrics" รูปแบบการประเมินที่เป็นการประเมินจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีความหมาย เป็นเชิงบวก และหนุนเสริมสำหรับนักเรียนที่เกิดขึ้นและให้ผลในจังหวะเวลาที่เหมาะสม มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงและเอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เริ่มตั้งเเต่การตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของนักเรียนบนพื้นฐานของสมรรถนะ ที่ต้องมองเห็นทั้งเป้าหมาย เนื้อหา เเละการกระทำที่จะเกิดขึ้น Oct 15, 2021 2 min

ประเมินอย่างไรให้ได้สมรรถนะกับเครื่องมือ Rubrics1 min read

Reading Time: 2 minutes

เราเรียนไปทำไม? 

คำถามสุด classic ที่ตกเป็นประเด็นบ่อยครั้งกับการศึกษาที่ว่าสุดท้ายเเล้วผลลัพธ์ที่เราคาดหวังคืออะไร

 

การศึกษาที่ให้คุณค่าในตัวเลขมากกว่าการเรียนรู้ของเด็ก ?

คะเเนน = การเรียนรู้

เราเองอาจคุ้นชินกับการตัดสินผลการเรียนรู้ผ่านตัวเลขเเละเกรด จนบางครั้งมันเเทบจะกลายเป็นหมุดหมายการเรียนที่ถูกให้ค่าเสียยิ่งกว่าการเรียนรู้จริง ๆ ที่เกิดขึ้นเสียอีก ด้วยปัจจัยหลากหลายที่ทำให้เกรด เข้ามามีส่วนสำคัญต่ออนาคตเเละส่งผลกระทบต่อการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยหรือการหางานทำ เเต่สุดท้ายเเล้วการประเมินผลการเรียนรู้ควรเป็นอย่างไรกันเเน่?

 

การประเมินฐานสมรรถนะ 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก https://ncca.ie/media/4434/research-informed-analysis-of-21st-century-competencies-in-a-redevloped-curriculum.pdf

 

วันนี้ก่อการครูพามาทำความรู้จักกับ “การประเมินฐานสมรรถนะกับเครื่องมือ Rubrics” รูปแบบการประเมินที่เป็นการประเมินจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีความหมาย เป็นเชิงบวก และหนุนเสริมสำหรับนักเรียนที่เกิดขึ้นและให้ผลในจังหวะเวลาที่เหมาะสม มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงและเอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เริ่มตั้งเเต่การตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของนักเรียนบนพื้นฐานของสมรรถนะ ที่ต้องมองเห็นทั้งเป้าหมาย เนื้อหา เเละการกระทำที่จะเกิดขึ้น เช่น

 

  • ล้างจานได้สะอาดและไม่เลอะเทอะ
  • พยากรณ์แนวโน้มจากชุดข้อมูลทางสถิติได้
  • สร้างคำอธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผลจากหลักฐาน
  • เข้าห้องตรงเวลาและพร้อมเรียน
  • อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้

 

เมื่อเราได้จุดประะสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจนเเล้ว ลอง Check-list วัตถุประสงค์การเรียนรู้ของเราผ่านหลักการประเมินฐานสมรรถนะมี 4 อย่างดังนี้

       ✅  Meaningful มีความหมาย

       ✅  Measurable วัดผลได้

       ✅  Explicit ชัดเจน

       ✅  Transferable ถ่ายโอนได้

เมื่อได้จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดบนฐานสมรรถนะเเล้ว อีกส่วนสำคัญที่จะพาเราไปถึงการประเมินฐานสมรรถนะ เกณฑ์ระดับความสามารถ (Rubrics) เกณฑ์กลางที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน เพื่อพัฒนา แผนที่นำทาง เพื่อเทียบความสามารถจริงของตนเอง และหนทางไปต่อมาลองดูตัวอย่างการออกเเบบ เกณฑ์ระดับความสามารถ (Rubrics) เเละการออกเเบบกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน



 

ตาครูเเล้ว !! มาลองออกเเบบ Rubrics วิชาของครูกัน

ลองฝึกตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้จากเรื่องที่คุณครูจะวางเเผนการสอน ผ่านตัวอย่างเเละหลักเกณฑ์ 4 ข้อจากด้านบนเเล้วฝึกเขียน Rubrics เพื่อใช้ในการวัดผลกันเเล้วไปต่ออีกนิดด้วยการออกเเบบกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียนว่าในการสอนครั้งนั้นทั้งครูเเละนักเรียนต้องทำอะไรบ้าง โหลด Rubrics ไปลองกันได้เลย!

 

สมรรถนะโดยเนื้อคือความเสมอภาคในการวัดผลเเละพานักเรียนไปต่อ

สุดท้ายเเล้วคำตอบของคำถามที่ว่า “ประเมินอย่างให้ได้สมรรถนะ” คำตอบอาจไม่ได้ตายตัวเสมอไปหากเเต่ขึ้นอยู่กับบริบทการใช้งาน เเต่สิ่งสำคัญที่เราควรตระหนักถึงในการเรียนรู้ของนักเรียนอาจไม่ใช่เพียงการตีค่าตัวเลขออกมาเป็น  1 2 3 4 ในใบเกรดหากแต่เป็นการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นภายใต้ฐานสมรรถนะ ภายใต้ความเสมอภาคที่มองเห็นว่านักเรียนเเต่ละคนนั้นเเตกต่าง ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถชอบเเละถนัดในทุก ๆ วิชา เราเองก็มีทั้งยาขมเเละขนมหวานของตัวเองกันทั้งนั้น โดยการวัดประเมินผลนักเรียนนั้นเราควรทำเพื่อพัฒนานักเรียนต่อ เเต่ไม่ใช่การพานักเรียนทุกคนเข้าสู่เส้นชัยเดียวกันเสมอไป เพราะท้ายที่สุดเเล้วพวกเขาต่าง ๆ มีเส้นทางของตัวเองที่อยากเลือกเดินเข้าสู้เส้นชัยนั้นด้วยตัวพวกเขาเอง โดยมีครูเป็นโค้ชที่จะคอยสนับสนุนเขาอยู่เสมอ

 

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.equality-equity-and-equal-educational-opportunity.com/articles/the-main-differences-between-equity-equality

 

Your email address will not be published.