Korkankru

ก่อการครู ผู้นำแห่งอนาคต โรงเรียนปล่อยแสง

การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education) ระบบการศึกษาเพื่อแทนที่ระบบเดิม2 min read

Reading Time: 2 minutes มันฝรั่งล็อตใหญ่ถูกส่งไปยังโรงงานแห่งหนึ่ง มันแต่ละหัวถูกลำเลียงไปตามสายพาน เข้าสู่ขั้นตอนต่าง ๆ ด้วยความเท่าเทียม ไม่มีลูกไหนได้เปรียบเสียเปรียบกัน ทั้งลำดับของการไปสู่แต่ละแผนก วิธีการที่ใช้ในแผนกนั้น ๆ ระยะเวลาในแผนกด้วยความเชื่อมั่นว่า มันฝรั่งที่เข้าสู่ขั้นตอนก่อนหน้าจะพร้อมสำหรับไปสู่ขั้นตอนถัดไป เพราะมันแต่ละหัวล้วนแต่ได้รับสิ่งต่าง ๆ เหมือนกัน ระบบการศึกษาปัจจุบันที่เราใช้กันมาแต่ดั้งเดิม ก็เช่นกัน Nov 12, 2021 2 min

การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education) ระบบการศึกษาเพื่อแทนที่ระบบเดิม2 min read

Reading Time: 2 minutes

การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education) ระบบการศึกษาเพื่อแทนที่ระบบเดิม

     ศราวุธ จอมนำ

 

มันฝรั่งล็อตใหญ่ถูกส่งไปยังโรงงานแห่งหนึ่ง มันแต่ละหัวถูกลำเลียงไปตามสายพาน เข้าสู่ขั้นตอนต่าง ๆ ด้วยความเท่าเทียม ไม่มีลูกไหนได้เปรียบเสียเปรียบกัน ทั้งลำดับของการไปสู่แต่ละแผนก วิธีการที่ใช้ในแผนกนั้น ๆ ระยะเวลาในแผนกนั้น ๆ ด้วย ตั้งแต่แผนกล้างทำความสะอาด แผนกต้ม แผนกปอกเปลือก แผนกหั่น แผนกทอด แผนกคัดแยก แผนกบรรจุ ฯลฯ

 

ด้วยความเชื่อมั่นว่า มันฝรั่งที่เข้าสู่ขั้นตอนก่อนหน้าจะพร้อมสำหรับไปสู่ขั้นตอนถัดไป เพราะมันแต่ละหัวล้วนแต่ได้รับสิ่งต่าง ๆ เหมือนกัน ถ้าระบบควบคุมการผลิตไม่ผิดพลาด ผลลัพธ์สุดท้ายก็ไม่น่ามีอะไรผิดพลาด

 

ระบบการศึกษาปัจจุบันที่เราใช้กันมาแต่ดั้งเดิม ก็เช่นกัน

 

ระบบการศึกษาดั้งเดิม

ระบบการศึกษาปัจจุบันที่เราใช้กันมาแต่ดั้งเดิม มีฐานคิดเดียวกันกับการผลิตในโรงงาน (Factory Model of Education) ที่เชื่อหลักความเท่าเทียม (Equality) โดยมุ่งให้ทุกคนได้รับสิ่งต่าง ๆ เหมือนกัน เท่ากัน ทั้งเนื้อหา วิธีการ ช่วงเวลา และระยะเวลา แต่เนื่องจากมนุษย์ไม่เหมือนวัตถุดิบในโรงงาน การได้รับสิ่งต่าง ๆ เหมือนกันไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะพัฒนาได้เท่ากัน ระบบการศึกษาแบบนี้จึงอนุญาตให้ “การเรียนรู้” แปรผันไปตามศักยภาพของแต่ละคน โดยตีค่าออกมาเป็นคะแนนหรือเกรด

 

“ขอแค่ครบเวลาก็พอ ได้ผลไม่ได้ผลเป็นอีกเรื่อง” 

 

เรามักจะได้ยินประโยคหรือวิธีคิดแบบนี้อยู่บ่อย ๆ ทั้งการพัฒนานักเรียนที่ดูจากปริมาณชั่วโมงที่เข้าห้องเรียน และการพัฒนาครูที่ดูจากปริมาณชั่วโมงอบรม นี่คือฐานคิดหลักของระบบการศึกษาปัจจุบัน ที่เรียกว่า การศึกษาโดยยึดเวลาเป็นสำคัญ (Time-Based Education)

 

ระบบการศึกษาที่ตอบโจทย์ธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์

ความก้าวหน้าขององค์ความรู้เกี่ยวกับสมองและการเรียนรู้ ทำให้เราตระหนักว่าแต่ละคนต่างกัน ทั้งความเร็ว ความชอบ ความถนัด แรงกระตุ้น ความพร้อม ความสนใจ ฯลฯ และการเรียนรู้เกิดขึ้นจากตัวผู้เรียนเอง สิ่งอื่น ๆ รอบตัวเป็นเพียงตัวกระตุ้น ที่แม้จะกระตุ้นขนาดไหนถ้าเขาไม่สนใจหรือไม่ต้องการ การเรียนรู้ก็จะไม่เกิด ฐานคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาจึงเปลี่ยนไป 

จากเดิมที่เชื่อว่าการศึกษาต้องพัฒนาผู้เรียนผ่านการจัดสรรทรัพยากรให้ทุกคนเท่ากัน เหมือนกัน ทั้งวิธีการ สื่อ และเวลา เพื่อที่จะมั่นใจว่าผู้เรียนได้รับสิ่งต่าง ๆ เท่ากันแล้วจริง ๆ ตามหลักความเท่าเทียม (Equality) 

เป็น เชื่อว่าการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองผ่านการสนับสนุนทรัพยากรตามความจำเป็นของผู้เรียนแต่ละคน โดยจัดสรรวิธีการ สื่อ และเวลาอย่างยืดหยุ่น เพื่อที่จะมั่นใจว่าผู้เรียนได้พัฒนาตัวเองจนทำได้แล้วจริง ๆ ตามหลักความเสมอภาค (Equity)

 

ระบบการศึกษาที่พัฒนาขึ้นภายใต้ฐานคิดนี้เรียกว่า การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education)

 

ระบบการศึกษาดั้งเดิม VS ระบบการศึกษาฐานสมรรถนะ

 

การศึกษาฐานสมรรถนะ

 

 Pre-Fix คือสิ่งที่ระบบการศึกษากำหนดไว้ว่าผู้เรียนทุกคนต้องได้รับอย่างเท่าเทียมกัน

Variable คือสิ่งที่ระบบการศึกษาอนุญาตให้ผู้เรียนทุกคนต่างกันได้

 

 

ประเด็น

 

Time-Based Education

 

Competency-Based Education

 

ฐานคิด

 

ทุกคนต้องได้รับสิ่งต่าง ๆ เท่ากัน (Equality) และอนุญาตให้การเรียนรู้ต่างกันได้

 

ทุกคนต้องได้เรียนรู้ โดยได้รับสิ่งต่าง ๆ ตามจำเป็นของแต่ละคน (Equity)

 

จุดเน้น

 

– เนื้อหา (Content)

– การสอน (Teaching)

– ครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher-Centered)

 

– สมรรถนะ (Competency) ทั้งสมรรถนะทั่วไป (General Competency) และสมรรถนะเฉพาะ (Specific Competency)

– การเรียนรู้ (Learning)

– นักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered)

 

สิ่งที่ครูจะถามถึงเป็นอันดับแรก ๆ เมื่อเตรียมบทเรียน

 

จะใช้หนังสือเรียน (Textbook) เล่มไหน แบ่งเป็นกี่บท เรียงบทยังไง

 

อยากให้เด็กทำอะไรเป็น (Learning Outcome) และจะรู้ได้ยังไงว่าตอนนี้เด็กมีความสามารถอยู่ในระดับไหนแล้ว (Rubrics) จะได้ส่งเสริมต่อได้ 

 

ภาพของห้องเรียน

 

การสอนทั้งห้อง (Whole Class Instruction) ด้วยบทเรียนหรือกิจกรรมที่ออกแบบมากลาง ๆ เพื่อให้ทุกคนในห้องเรียนเหมือนกัน ด้วยวิธีการเดียวกัน เด็กกลุ่มอ่อนจะตามไม่ทัน และเด็กกลุ่มเก่งจะเบื่อ

 

ครูมองเห็นเด็กเป็นคน ๆ แล้วการสนับสนุนผู้เรียนตามความจำเป็นของแต่ละคน (Differentiated Support) ด้วยแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเท่าที่พึงมี แต่ละคน/กลุ่มทำกิจกรรมที่แตกต่างกันตามความเหมาะสม

 

บทบาทครู

 

ผู้ถ่ายทอดความรู้ (Lecturer) และควบคุมห้องเรียนให้เป็นไปตามที่วางแผนไว้

 

ผู้อำนวยการเรียนรู้ / ผู้สนับสนุนการเรียนรู้ (Facilitation / Supporter)

 

บทบาทผู้บริหาร

 

เป็นเจ้านาย/หัวหน้า (Boss) ผู้ออกคำสั่ง (Director) รับคำสั่งโดยตรงจากหน่วยเหนือและสั่งการต่อไปที่ครู

 

เป็นผู้นำ (Leader) ผู้สนับสนุน (Supporter) ที่คอยฟังครู และเอื้ออำนวยให้ครูปฏิบัติหน้าที่ตามที่ควรจะเป็นอย่างราบรื่น

 

บทบาทนักเรียน

 

รอครูป้อน เพราะต้องเรียนตามที่กำหนดไว้เท่านั้น (Passive Learner)

 

เดินเข้าหาการเรียนรู้ เพราะเลือกประเด็น วิธีการ จังหวะเวลา ได้ (Active Learner)

 

ฐานคิดเกี่ยวกับการประเมิน

 

มุ่งเก็บคะแนน เพื่อเอาไปตัดสินผล (Summative) กดดัน มีโอกาสครั้งเดียวในแต่ละเรื่อง ใช้เครื่องมือเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน

 

มุ่งระบุระดับความสามารถ เพื่อส่งเสริมต่อยอด (Formative) เชิงบวก มีโอกาสหลายครั้ง ใช้เครื่องมือที่หลากหลายตามความจำเป็นของแต่ละคน เกิดขึ้นตามจังหวะที่เหมาะสม

 

ผลการประเมินที่ผู้เรียนคาดหวัง

 

ต้องการคะแนนเยอะที่สุด โดยทำทุกวิถีทางแม้กระทั่งการหลอกเครื่องมือวัด

 

ต้องการผลที่ตรงกับความสามารถจริงที่สุด

 

การเลื่อนระดับ

(สู่บทเรียนถัดไป /

สู่ระดับชั้นถัดไป)

 

เลื่อนพร้อมกันทุกคนตามเวลาที่กำหนด ถ้าเข้าเรียนครบตามเวลา (Seat Time) หรือถึงเวลาแล้วก็ต้องเลื่อนระดับเลย โดยไม่คำนึงถึงความพร้อมหรือพื้นฐานที่เพียงพอ หรือหากชำนาญแล้วแต่ยังไม่ครบเวลา ก็ต้องอยู่จนครบ

 

แต่ละคนใช้เวลาในแต่ละระดับไม่เท่ากัน ถ้าทำได้แล้วจริง / มีความสามารถจริง (Competent / Proficient / Mastery) ก็เลื่อนระดับได้เลย ส่วนคนที่ความสามารถยังไม่ถึงควรได้เวลาเพิ่ม พร้อมความช่วยเหลือ ให้พัฒนาตัวเองจนพร้อมก่อนเลื่อนระดับ

 

 

ระบบการศึกษาไม่ได้หมายถึงห้องเรียนหรือครูเท่านั้น การจัดการศึกษาจึงไม่ใช่การสั่งว่าจะให้ครูทำอะไร แต่เป็นการจัดระบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันตั้งแต่ฐานคิด เพื่อสนับสนุนให้การทำงานของครูเป็นไปอย่างราบรื่น และเป็นไปเพื่อการพัฒนาผู้เรียนจริง ๆ

 

การเปลี่ยนผ่านสู่การศึกษาฐานสมรรถนะ ต้องเริ่มที่การตระหนักถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ และยึดหลักที่จะสนับสนุนให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเอง จากนั้นจึงปลดล็อกวิธีการที่จะใช้และวิธีบริหารจัดการที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาจึงจะตามมา

 

 

??????????

 

อ้างอิง

Bramante, Fredrick J. ; & Colby, Rose L. (2012). Off the Clock: Moving Education From Time to Competency. Thousand Oaks, CA: Corwin.

Colby, Rose L. (2017). Competency-Based Education: A New Architecture for K-12 Schooling. Cambridge, MA: Harvard Education Press.

Levine, E. & Patrick, S. (2019). What is competency-based education? An updated definition. Vienna, VA: Aurora Institute. 

Lindsay Unified School District. (2017). Beyond Reform: Systemic Shifts Toward Personalized Learning -Shift from a Traditional Time-Based Education System to a Learner-Centered Performance-Based System. Denver, CO: Marzano Research.

Lopez, N.; Patrick, S.; & Sturgis, C. (2017). Quality and Equity by Design: Charting the Course for the Next Phase of Competency-Based Education. Vienna, VA: iNACOL.

 

 

Your email address will not be published.