ก่อการครู – Korkankru

เด็กกลัวครู… ครูจะปกครองง่ายขึ้นจริงหรือ ?

เธอต้องทำแบบนี้… เธอต้องเรียนตามที่ฉันบอก…หากเธอไม่ทำเธอจะต้องถูกลงโทษ ไม้เรียวสัญลักษณ์ของห้องเรียนไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม้ชี้กระดานเครื่องมือที่ถูกประกอบสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูสามารถชี้จุดที่ตนต้องการให้ผู้เรียนสนใจในขณะนั้นได้ ทว่าไม้ชี้กระดานนั้นกลับถูกวัฒนธรรมการสร้างความกลัวเพื่อง่ายต่อการปกครองครอบงำจนมีวิวัฒนาการกลายเป็นไม้เรียวอาวุธคู่กาย หากใครกระทำผิดหรือไม่เข้าใจในเนื้อหา ไม้เรียวนี้จะถูกตีเข้าไปยังผู้เรียน จนกลายเป็นพฤติกรรมที่ถูกส่งต่อกันมาอย่างช้านาน ความรุนแรงที่ถูกซ่อนอยู่ใต้พรมระบบการศึกษา ภัยร้ายที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ มณี อั่วหงวน หรือ “ครูน้อย” โรงเรียนวัดบ้านห้วยยาว จ.พิจิตร บอกเล่าประสบการณ์การใช้ความกลัวเป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้เรียนตลอดชีวิตการเป็นครูร่วม 30 ปี จนได้รับฉายาลับหลังว่า “แม่เสือ”...

‘การนิเทศ’ ที่มีความหมาย จะทำให้ ‘ครู’ อยากพาตัวเองไปข้างหน้า

คุยเรื่อง ‘ก่อการนิเทศ’ กับ ครูกั๊ก—ร่มเกล้า ช้างน้อย “ตอนฝึกสอน ความรู้สึกเราต่ออาจารย์ที่มานิเทศ เขาคือคนที่มาช่วยดูว่า เราต้องปรับปรุงตรงไหน เพื่อให้สอนได้ดีขึ้น อีกแบบหนึ่งก็จะตรวจตั้งแต่แผน แล้วแนะนำว่าจะปรับการสอนอย่างไร ซึ่งตอนนั้นก็ทำให้เราได้เรียนรู้ก่อนที่จะไปทำงานได้จริงๆ”  เมื่อถามถึง ‘การนิเทศ’ ในระบบการศึกษาไทยผ่านมุมมองที่ได้สัมผัสมา คำบอกเล่าแรกจาก ครูกั๊ก—ร่มเกล้า ช้างน้อย พาเราย้อนไปตอนที่ยังเป็นนักศึกษาฝึกสอน โดยการนิเทศในครั้งนั้นมาจากอาจารย์...

ถ้าการประเมินมีความหมาย เด็กจะมาโรงเรียนด้วยสายตาที่อยากจะเก่งขึ้น ข้ามขอบการประเมินไปคุยกับ เด้นท์–ศราวุธ จอมนำ และ ป้อมปืน–วรวัส สบายใจ 

หากพูดถึงการประเมินในระบบการศึกษาไทย ภาพที่ผุดขึ้นในความทรงจำของหลายคน คงหนีไม่พ้นห้องสอบอันเงียบสงัดที่เต็มไปด้วยความตึงเครียด เด็กๆ ก้มหน้าก้มตาจดจ่อกับกระดาษคำตอบ พยายามทำคะแนนให้ได้มากที่สุด จนบางครั้งทั้งผู้ประเมินและผู้ได้รับการประเมินก็ไม่แน่ใจว่า กำลังประเมินอะไรอยู่ และเป้าหมายจริงๆ ของการประเมินครั้งนั้นคืออะไร สะท้อนให้เห็นว่า การศึกษาบ้านเรายังคงติดกับดักของการประเมินที่มุ่งเน้นแต่ ‘ตัวเลข’ และ ‘การแข่งขัน’ ทว่า สิ่งที่เรากำลังประเมินอยู่กลับคือ 'มนุษย์' ที่แตกต่างหลากหลายและมีชีวิตจิตใจ การประเมินจึงเป็นมากกว่าการวัดผลด้วยตัวเลขหรือมาตรวัดเดียวกัน แต่ควรเป็นเครื่องมือที่สะท้อนความสามารถอย่างเป็นจริงของผู้ได้รับการประเมินและเสริมพลังใจให้พวกเขาพัฒนาตัวเองในก้าวต่อไป...

อ่านออก-เขียนได้ ไม่ใช่แค่ ‘ทักษะ’ แต่เป็น ‘โอกาส’ ของการเติบโต อ่านระบบการศึกษาไทย ในวันที่เด็กหลุดจากเส้นทางการเรียนรู้และโอกาสในชีวิต เพราะวิกฤตอ่าน-เขียน กับ ครูก้อย–ในดวงตา ปทุมสูติ

“...เด็กจะไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างผาสุกได้เลย หากเขายังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้…” “วิกฤติการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่แค่ยังไม่หมดไป แต่กลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครอบคลุมโรงเรียนทั่วพื้นที่ประเทศไทย” ข้อสังเกตที่สะท้อนความจริงอันน่าวิตกในระบบการศึกษาของบ้านเราวันนี้ จากครูก้อย–ในดวงตา ปทุมสูติ ครูก้อยเคยทำงานในบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ ในกรุงเทพฯ เมื่อลาออกแล้วก็มาทุ่มเทแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กไทยมาแล้วกว่า 20 ปี เพื่อถ่ายทอด ‘หลักสูตรทางเลือก’ สำหรับแก้ปัญหาให้หลายๆ โรงเรียนมาแล้วทั่วประเทศ ร่วมกับคุณพ่อ (ผศ.ศิวกานต์...

ครูไม่ใช่แค่คนที่ยืนอยู่หน้าห้อง แต่เป็น ‘ใครบางคน’ ที่ยืนอยู่ในชีวิตเด็ก   

คุยกับ ‘ครูหนิง-ครูกิ๊ก-ครูอ้อ’ แห่งโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาฯ กับภารกิจข้ามขอบรั้วโรงเรียน ไปมองเห็นชีวิตของเด็กอย่างรอบด้าน  โลกวันนี้หมุนเร็วและซับซ้อนขึ้นทุกขณะ ทั้งสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ทำให้การศึกษาและการเรียนรู้ของเด็กต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่ กลายเป็นโจทย์สำคัญในการออกแบบและเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาในหลายประเทศทั่วโลก เมื่อมองกลับเข้ามายังประเทศไทย จากข้อมูลการสำรวจในช่วงปีที่ผ่านมา เราพบว่ามีเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่หลุดและเข้าไม่ถึงระบบการศึกษา เป็นสัญญาณบ่งชี้ ‘วิกฤต’ ของระบบการศึกษาที่ไม่สอดรับกับวิธีการเรียนรู้อันแตกต่าง รวมถึงเงื่อนไขและปัญหาในชีวิตของเด็กแต่ละคนได้ กล่าวคือ การศึกษาของบ้านเรายังคงแยกขาด ‘ห้องเรียน’...

ห้องเรียนสีชมพู จังหวัดขอนแก่น: การเรียนรู้ที่ใช้ป่า ภูเขา ลำธาร เป็นตำรา เรียนได้ทุกวิชารวมถึงวิชารู้จักตัวเอง

หากพูดถึงพื้นที่เรียนรู้ของนักเรียน แน่นอนว่าหลายคนคงนึกถึงห้องเรียน หรือบริเวณโรงเรียน โดยเฉพาะที่อำเภอสีชมพู หรืออำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น พื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองขอนแก่นกว่าร้อยกิโลเมตร เราจะจินตนาการถึงการเรียนรู้ของเด็กทั้งในและนอกระบบการศึกษาว่าอย่างไรกัน หรือหากพูดถึงพื้นที่เรียนรู้ของผู้ใหญ่ วัยชรา เราจินตนาการว่าห้องเรียนของเขาหน้าตาเป็นแบบไหน สอญอ-สัญญา มัครินทร์ อดีตครูในระบบที่ยังคงมีไฟเรื่องบ้านเมืองและการเรียนรู้ นุ-อนุวัตร บับภาวะตา ผู้ที่เกิดและเติบโตที่นี่ กับประสบการณ์ทำงาน อบต. พี่อิ๋ว-เพลินจิตร เวชวงศ์...

‘ดงระแนงวิทยา’ กับโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่เกิดขึ้นได้ทุกขณะ

พื้นที่เรียนรู้นั้นกว้างไกลแต่ใกล้ และใหญ่กว่าห้องเรียนมหาศาล             พื้นที่เหล่านี้มีอยู่ รอเราอยู่        พื้นที่ที่การเรียนรู้สนุก ปลอดภัย มีชีวิต มีความหมาย        พื้นที่ที่การเรียนรู้เกิดได้ด้วยหินหนึ่งก้อน ใบไม้หนึ่งใบ หรือกระทั่งดินเหนียวหนึ่งกำมือ        พื้นที่นี้คือ ‘ดงระแนงวิทยา’ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จุดเริ่มต้น (ที่ไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด)...

จุดไฟให้ครูและการศึกษาในระบบโรงเรียน: เครือข่ายก่อการครูกระบวนกรอุดรธานี

พื้นที่จัดการศึกษาในโรงเรียน เป็นพื้นที่เรียนรู้หลักของนักเรียน เป็นพื้นที่ที่เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงต้นของชีวิตอยู่ที่นี่ หากพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยการเรียนรู้ที่สนุก มีความสุข และมีความหมายกับนักเรียน พื้นที่ที่มีครูเป็นผู้จุดประกายและพื้นที่ปลอดภัย โรงเรียนคงเป็นพื้นที่ที่มีความหมายอย่างมากต่อชีวิตของเด็กทุกคน เครือข่ายก่อการครูกระบวนกรอุดรธานีซึ่งค้นพบเคล็ดลับบางอย่างในการจุดไฟให้ครูและการศึกษาในระบบในโรงเรียนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง จึงอาสามาเป็นเพื่อนร่วมทาง ชวนผู้บริหารและครูในโรงเรียนมาเรียนรู้เคล็ดลับนี้เพื่อช่วยกันปลุกให้การศึกษาในระบบของอุดรธานีได้ทำหน้าที่สร้างการเรียนรู้ที่มีความสุขและมีความหมายกับนักเรียน เพราะพวกเขาเชื่อว่าเมื่อครูเปลี่ยนไป ห้องเรียนจะเปลี่ยนแปลง และผู้เรียนจะได้รับผลเป็นจำนวนมาก ก่อการครูกระบวนกรอุดรธานี เครือข่ายก่อการครูกระบวนกรอุดรธานี เกิดจากการรวมตัวของครูโรงเรียนต่าง ๆ ในอุดรธานี นำโดย อดีตผอ.หมอน-ศรีสมร...

เมื่อการสอนไม่เพียงพอ ถึงเวลาครูข้ามขอบ ข้ามขอบฟ้าไปเป็นกระบวนกร

จุดมุ่งหวังของโครงการห้องเรียนข้ามขอบการพัฒนา ‘นวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบใหม่’ ที่มุ่งสร้างระบบนิเวศการเรียนและการศึกษาที่ยืดหยุ่น ‘ครู’ จึงเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ ยิ่งครูเต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพในการจัดการเรียนรู้มากเท่าไหร่ เด็กก็จะสามารถข้ามขอบไปได้ไกล มากไปกว่าครูในระบบ ห้องเรียนข้ามขอบยังขยับชักชวนเหล่าผู้สร้างการเรียนรู้และสถานีการเรียนรู้ เข้ามาร่วมขบวนข้ามขอบสร้างการเรียนรู้แบบใหม่ไปพร้อมๆ กัน ด้วยความพยายามก้าวเล็กๆ แต่ต่อเนื่องจาก ‘เชียงดาวเมืองแห่งการเรียนรู้’ สิ่งที่เป็นผลสืบเนื่องต่อยอดกันมาคือการที่เหล่าสถานีการเรียนรู้พร้อมที่จะขยับต่อไปด้วยกันอย่างแข็งแรง บทบาทของครูในพื้นที่การเรียนรู้ แค่การ ‘สอน’ ไม่เพียงพออีกต่อไป ‘บอกวิชาความรู้ให้ (กริยา)’...

พระคุณที่สาม ยังแจ่มใสอยู่ไหม ?

highlight เพลงไหว้ครูที่คุ้นหูตั้งแต่จำความได้ สร้างวาทกรรม ความเชื่อ สู่การสร้างอัตลักษณ์และมายาคติความเป็น “ครูไทย” “ความเสียสละ”  กลายเป็นเครื่องมือใช้งานนอกเหนือขอบเขตการสอนและหน้าที่ครู จึงกลายเป็นภาระใหญ่ไม่รู้ตัว พร้อมกับถูกละเลยสวัสดิภาพที่ควรได้รับ ทำความเข้าใจปรากฎการณ์การลาออกราชการของครู ด้วย “การให้ความสำคัญต่ออัตลักษณ์” เพื่อชี้ให้เห็นว่า ปัญหาครูหมดไฟหรือครูลาออก ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตัวของครูเอง “...ครูบาอาจารย์ ที่ท่านประทานความรู้มาให้อบรมจิตใจ ให้รู้ผิดชอบชั่วดีก่อนจะนอนสวดมนต์อ้อนวอนทุกทีขอกุศลบุญบารมีส่งเสริมครูนี้ให้ร่มเย็น ครูมีบุญคุณจะต้องเทิดทูลเอาไว้เหนือเกล้าท่านสั่งสอนเรา อบรมให้เราไม่เว้นท่านอุทิศ...

พลังของพื้นที่เรียนรู้คู่ขนานกับการศึกษาในระบบ: เพราะทุกคนต่างมีบทบาทต่อการศึกษา

‘มนุษย์เด็ก’ ในสถานการณ์โลกที่ผันผวน โรคระบาด โลกรวนรุนแรง เรียกร้องให้เขาต้องปรับตัว ค่าครองชีพสูง สวนทางกับเศรษฐกิจทางบ้านที่ไม่สู้ดี ตัวเร่งที่ทำให้ตัดสินใจว่าอยาก ‘อยู่ต่อ’ หรือ ‘พอแค่นี้’ กับระบบการศึกษา ทุนนิยมเร่งเร้า โซเชียลมีเดียประชิดตัว เครื่องมือปลูกฝังค่านิยมชั้นดีที่เด็กในครอบครัวห่างเหินไม่มีคนสร้างการเรียนรู้พร้อมเชื่อและทำตาม ท่ามกลางความซับซ้อนและปั่นป่วนเหล่านี้ การที่มนุษย์เด็กเดินเข้าสู่รั้วโรงเรียน ใช้เวลาจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นเพื่อหวังเติบโต แข็งแกร่ง มีเกราะกำบังต่อโลกจากการเรียนตามหลักสูตรแกนกลาง จึงเป็นเรื่องที่มองอย่างไรก็เป็นไปได้ยาก...