Korkankru

บทความ / บทสัมภาษณ์

ยงยุทธ ศรีจันทร์ : สร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียน รับฟังโดยไม่ตัดสิน เข้าใจเด็กในทุกมิติ

“เรารับฟังเด็กมากขึ้น ทำความเข้าใจเด็กมากขึ้น ฟังโดยที่ไม่จับผิดตัวเด็ก และเชื่อว่าเด็กสามารถตัดสินใจเลือกได้ด้วยตัวเอง” ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านนาคำหลวง ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เล่าให้ฟังว่า หลังจากจบการอบรม ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ ทำให้ตนเองมองเด็กเปลี่ยนไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จากครูที่ต้องการให้เด็กได้รับความรู้ตามมาตรฐานตัวชี้วัด คะยั้นคะยอให้เด็กท่องจำเนื้อหาโดยไม่ใส่ใจพื้นฐานของเด็กแต่ละคนเท่าที่ควร ‘ทักษะการโค้ช’ จากโครงการฯ ทำให้ครูกิ๊ฟมีมุมมองใหม่ต่อเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม และหันไปทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชนมากขึ้น...

เปิดโลกการเรียนรู้ผ่านกระบวนการ ‘เกม’ เสริมทักษะใหม่ให้ครูรุ่นใหม่

ในอดีตนั้นการเล่นเกมของเด็ก ๆ มักถูกผู้ใหญ่มองในแง่ลบ จนถูกเรียกว่า ‘เด็กติดเกม’ ทว่าในยุคปัจจุบันเกมและบอร์ดเกมเริ่มได้รับการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และถูกมองเห็นคุณค่าในแง่การพัฒนาสมอง ซึ่งในแวดวงการศึกษาก็ได้นำแนวคิดของการเล่นเกมมาผนวกใช้ให้เข้ากับเนื้อหาการเรียนรู้ในห้องเรียนมากขึ้น อีกทั้งงานศึกษาจำนวนมากยังพบว่า กระบวนการเกมเป็นวิธีเสริมการเรียนรู้แก่นักเรียนได้อย่างรวดเร็ววิธีหนึ่งด้วย การศึกษาในยุคปัจจุบันแสดงให้เราเห็นว่า การมีข้อมูลมากไม่ได้แปลว่าผู้เรียนมีความรู้มาก สิ่งนี้ทำให้การศึกษาแบบเดิมที่เน้นป้อนข้อมูลให้นักเรียนจดจำครั้งละจำนวนมาก ๆ เริ่มเสื่อมประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้การ ‘เล่นเกม’ จึงเข้ามาตอบโจทย์ดังกล่าว เพราะเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เล่นสามารถเรียนรู้ผ่านการกระทำมากกว่าการท่องจำข้อมูล และนับเป็นเครื่องมือชั้นดีในการสอดแทรกเนื้อหาการเรียนรู้ผ่านความสนุก  แต่กระบวนการออกแบบการเรียนรู้ด้วยเกมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย...

การเงินส่วนบุคคล ที่ส่งผลกับทั้งครอบครัว ครูอิงอิง โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์

หากชวนทุกคนมาเสนอวิชาที่ช่วยพัฒนาครู เชื่อว่าจะได้รับคำตอบหลักๆ อย่างวิชาเสริมเทคนิคและพัฒนาแนวการสอน วิชาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ๆ ไปจนถึงวิชาบูรณาการเนื้อหาในห้องเรียนเข้ากับชีวิตประจำวัน แต่วันนี้ครูคนหนึ่งมีคำตอบอื่นที่น่าสนใจ คุณครู ‘อิงอิง’ ศิริวิมล เวียงสมุทร โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ จังหวัดหนองบัวลำภู หนึ่งในคุณครูจากโครงการโรงเรียนปล่อยแสง ซึ่งชวนเรามาเดินจับจ่ายซื้อของที่ตลาดข้างโรงเรียนและบอกว่า วิชาที่ตนเองได้ไปเรียนมาแล้วคิดว่าสำคัญมากกับทั้งคุณครูและนักเรียน คือวิชา “การเงินส่วนบุคคล” “ปัญหาการเงินเป็นเรื่องใหญ่และสร้างความเครียดให้ครอบครัวเราพอสมควร หลายครั้งเรายังใช้เงินแบบเดือนชนเดือนเหมือนกัน  เราเป็นครูที่บรรจุเข้ามาได้ไม่กี่ปี ยังไม่มีวิทยฐานะหรือฐานเงินเดือนสูง ...

ก่อร่างสร้างนิเวศการเรียนรู้ บันทึกการทำงานพัฒนาโรงเรียนจากสายตานักวิจัย

2 ปีของ “โครงการโรงเรียนปล่อยแสง” คุณครูหลายคนได้เดินทางไปบนสายธารแห่งการเปลี่ยนแปลง หลายคนได้เติมพลังไฟให้ลุกโชนจากใกล้มอดดับ หลายคนได้ฟื้นคืนความเป็นมนุษย์ พร้อมกับเรียนรู้ทักษะและเครื่องมือใหม่ๆ หลายคนได้ลงมือก่อการบางอย่างในห้องเรียนและเริ่มเห็นการผลิดอกออกผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น  คุณครูแต่ละคนจากหลายโรงเรียน ล้วนเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราว ปล่อยแสงสว่างสดใสด้วยกันทั้งนั้น วันนี้เราอยากชวนทุกท่านมารับฟังเรื่องราวเดิมในมุมมองใหม่ ที่เล่าผ่านสายตาของนักวิจัย ได้แก่  รศ. ดร. ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล (อาจารย์แต้ว), ผศ. ดร....

ฟื้นคืนความเป็นมนุษย์ จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการศึกษา

มีคำกล่าวที่ว่า “ก้าวที่ยากที่สุดของการเดินทางคือก้าวแรก” หากเป็นเช่นนั้น แล้วถ้าเราอยากจะเปลี่ยนแปลงครูสักคนหนึ่ง เราควรเริ่มต้นกันอย่างไร  เพื่อตอบคำถามนี้ เราจึงมาคุยกับ พฤหัส พหลกุลบุตร, ธนัญธร เปรมใจชื่น และ ผศ. นพ. พนม เกตุมาน วิทยากรในโมดูลที่หนึ่งของโครงการโรงเรียนปล่อยแสง ผู้ออกแบบห้องเรียนแรกที่ครูทุกคนจะต้องผ่าน เพื่อปรับฐานคิด ปลุกคุณครูให้ตื่นมาย้อนมองคุณค่าภายในตนเอง และเชื่อมั่นว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง...

วิธีหยุดการ Bully สร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วย ‘ห้องเรียนแห่งรัก’

การกลั่นแกล้งรังแก (Bully) กันในโรงเรียน ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ซุกซ่อนอยู่ในโรงเรียนมานาน แต่สังคมเพิ่งตระหนักและรับรู้เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผลกระทบของการกลั่นแกล้งนอกจากจะทำให้เด็กเสียสมาธิในการเรียนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดบาดแผลฝังลึกทางกายและทางใจในระยะยาว การจะป้องกันและดูแลให้ทั่วถึงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะครูมีเพียงแค่หนึ่งสมองสองมือ ทว่า ‘ครูโทนี่’ สามารถหาวิธีลดการ Bully ลงได้ผ่านเครื่องมือ ‘ห้องเรียนแห่งรัก’ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะช่วยป้องกันในระยะยาวอย่างยั่งยืนได้อีกด้วย “ลึก ๆ แล้วเขาโดน Bully เกือบทั้งโรงเรียน...

พาเด็ก ‘แว้นมอเตอร์ไซค์’ ท่องไปในโลกเวทมนตร์กับ Team Teaching

เธอต้องเรียนแบบนี้… ต้องสอนจากหนังสือเล่มนี้… ต้องทำสิ่งนี้จึงจะสำเร็จ!  กระบวนทัศน์ของระบบการศึกษาแบบเดิม มักลิดรอนจินตนาการและความเป็นไปได้อื่น ๆ ในการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งยังสร้างบรรยากาศความกลัวปกคลุมบุคลากรทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นครูหรือผู้บริหาร ความพยายามแหวกว่ายออกจากสภาวะหวาดกลัวและจำยอมของครูจำนวนหนึ่ง ล้วนต้องเจอแรงปะทะจาก ‘ระบบ’ ที่สร้างกรอบและสมาทานความถูกต้องเพียงหนึ่งเดียว พิมพ์นารา สิมมะโน หรือ ‘ครูพิมพ์’ จากโรงเรียนชุมชนสามพร้าว จังหวัดอุดรธานี ประสบสถานการณ์อันน่าเวียนหัวจากระบบการศึกษามาไม่น้อย เธอเป็นคุณครูมาแล้ว...

หันหลังให้กับไม้เรียว ด้วยจิตวิทยาเชิงบวกในห้องเรียน

“ถ้าไม่ทำการบ้าน จะโดนตี” “ถ้าไม่อ่านหนังสือ เธอจะสอบตก” “ถ้าทำคะแนนไม่ดี เธอจะไปแข่งกับใครได้” “ถ้าทำงานไม่เสร็จ ห้ามออกไปเล่นเด็ดขาด นั่งทำไปจนกว่าจะเสร็จ” การเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศเหล่านี้ นอกจากไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกกับการเรียนหรือเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ซ้ำร้าย แนวทางเช่นนี้อาจให้ผลในทางตรงข้าม และลงเอยด้วยความกลัว ความกังวลของผู้เรียน จากการที่ชีวิตถูกฝึกว่าห้ามผิดพลาดตลอดเวลา เช่นนี้แล้ว ห้องเรียนจึงไม่ใช่สถานที่อันพึงปรารถนาอีกต่อไป ‘ห้องเรียนจิตวิทยาเชิงบวก’ โครงการบัวหลวงก่อการครู โดยการดูแลของ...

‘กล้าที่จะไม่สอน’ สร้างห้องเรียนที่ปราศจากความกลัว

“เสรีภาพไม่ใช่การตามใจ และวินัยที่เกิดจากการใช้อำนาจบังคับก็ไม่ยั่งยืน”  คำพูดของ พฤหัส พหลกุลบุตร หรือ ‘อาจารย์ก๋วย’ จากมูลนิธิสื่อชาวบ้าน (กลุ่มละครมะขามป้อม) ได้กล่าวไว้บนเวทีการเรียนรู้ ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 ณ จังหวัดอุดรธานี ได้สะท้อนให้เห็นถึงหัวใจสำคัญของปัญหาในระบบการศึกษาไทยมาตลอด หัวใจที่ทำให้เห็นว่าการศึกษาที่ดีไม่ควรเกิดจากการบีบบังคับ และห้องเรียนที่ดีควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก  พฤหัส...

เปิดใจรับฟังเสียงเด็ก สร้างห้องเรียนที่เป็นมิตรต่อความแตกต่างหลากหลาย

“ทุกคนมีความแตกต่าง แล้วแตกต่างจากอะไร”“ฐานะ ความเป็นอยู่ ภูมิหลัง ความสนใจ ร่างกาย พรสวรรค์-พรแสวง ฯลฯ”“แล้วเราจะอยู่ร่วมกันอย่างไรล่ะ”“ไม่รู้หรอก แต่เราเปิดใจและรับฟังกันมากขึ้นได้นะ” ตัวแปรมากมายเกินนับไหวและเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเข้าใจลึกซึ้งในทุก ๆ รายละเอียดของแต่ละบุคคล ทว่าโลกสอนเราว่าต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีคุณภาพ โดยที่ไม่ลิดรอน เบียดบัง หรือทิ้งใครไว้ข้างหลัง  คำถามคือ ครูควรเริ่มปลูกฝังให้เด็กรู้จักโลกของความแตกต่างหลากหลายอย่างไร ปริมณฑลของคำตอบ อาจเริ่มจาก ‘ห้องเรียน’...