ก่อการครู – Korkankru

เวทีสาธารณะโหนด

ห้องเรียนที่ (หัวใจ) ปลอดภัย  สำคัญแค่ไหนต่อการเรียนรู้

“ห้องเรียนปลอดภัยคือพื้นที่ที่เด็กกล้าพูด มีความไว้ใจซึ่งกันและกันค่ะ”“พื้นที่ปลอดภัยเหรอ น่าจะเป็นพื้นที่ที่เป็นตัวเองได้แบบไม่ต้องกังวล จะทำอะไรก็มีความรู้สึกอิสระ ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกหรือจะผิดนะ”“น่าจะเป็นการยอมรับความแตกต่าง ความคิดเห็นที่แตกต่าง”“เป็นพื้นที่ที่ถ้าทำผิดไปแล้วจะมีคนให้อภัย ถ้าทำถูกก็จะรู้สึกว่าทุกคนยอมรับ”“ที่ๆ แสดงออกโดยไม่ถูกคุกคาม”“นักเรียนมีความสบายใจที่จะอยู่พื้นที่นั้น อยากจะพูดอยากจะปรึกษาอะไรก็ทำได้เลย โดยไม่รู้สึกว่าติดขัดอะไร”“พื้นที่ที่มีแสงแห่งความรักและมีความสุขให้กับเรา” เราสามารถนิยามได้ว่า พื้นที่ปลอดภัยคือ พื้นที่ที่เรารู้สึกปลอดภัยจากการกล่าวโทษต่อว่าตัวเอง และเป็นพื้นที่ ๆ สามารถรับฟังตัวเองและเป็นตัวเองได้โดยปราศจากการตัดสินจากคนอื่น พื้นที่ปลอดภัยที่เพียงพอ จะทำให้บรรยากาศการเรียนรู้งอกงาม ผู้เรียนและผู้สอนเป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ สามารถแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น...

เผด็จการศึกษา กับห้องเรียนของครูก่อการ
อัพเลเวลการเรียนรู้ ‘ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ’ ไม่รอแล้วนะ

ในขณะที่นักเรียนตกอยู่ภายใต้ความคาดหวัง บรรยากาศการแข่งขัน และแรงกดดันจากการระบบสังคมและการศึกษา เอาเข้าจริงแล้ว ครูเองก็มีสภาพอิดโรยไม่ต่างกันนัก พวกเขาต่างก้มหน้าก้มตาทำงานหนักราวกับหนูติดจั่น น่าเศร้ากว่านั้นคือ งานกว่าค่อนห่างไกลจากห้องเรียนที่พวกเขาวาดหวัง สภาพเช่นนี้ดำเนินเรื่อยมา และยังคงดำเนินต่อไป ครูถูกพรากจากห้องเรียน เด็กๆ ถูกพรากจากความรักในการเรียนรู้ โรงเรียนดูไร้ชีวิตชีวา การศึกษา แต่ถึงอย่างนั้น ก็ใช่ว่าจะไร้ซึ่งแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ครูจำนวนไม่น้อยตั้งหลักขยับขยายความเป็นไปได้ในการสร้างห้องเรียนที่มีความหมายแก่ผู้เรียน แม้จะพบอุปสรรคที่ชื่อ ‘ระบบ’ อยู่เบื้องหน้า...

‘เรียนในโลกแห่งความจริง’ ชุมชนคือโรงเรียน ส่วนนักเรียนคือทุกคน

การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากการหาความรู้และความหมายด้วยตนเอง โดยมี ‘ครู’ ทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความใคร่รู้ และเป็นผู้ชี้แนะในระหว่างเรียน ซึ่งต่างจากครูในคราบของการศึกษาแบบเดิม ที่ครอบงำและถ่ายทอดความรู้ทางเดียว ด้วยอำนาจและวาทกรรมของการเป็น ‘ผู้ให้’ วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับห้องเรียนที่ต่างออกไปจากความคุ้นชิน นั่นคือ ‘การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน’ หรือการเรียนจาก ‘โลกแห่งความจริง’ เป็นกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงเนื้อหาสาระในบทเรียนให้สัมพันธ์กับชุมชน ผ่านการบูรณาการความรู้ในหลายศาสตร์ เน้นทักษะการคิด การแก้ปัญหา เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ และเชื่อมโยงเข้ากับบริบทชีวิต...