ก่อการครู – Korkankru

ห้องเรียนข้ามขอบ

อ่านออก-เขียนได้ ไม่ใช่แค่ ‘ทักษะ’ แต่เป็น ‘โอกาส’ ของการเติบโต อ่านระบบการศึกษาไทย ในวันที่เด็กหลุดจากเส้นทางการเรียนรู้และโอกาสในชีวิต เพราะวิกฤตอ่าน-เขียน กับ ครูก้อย–ในดวงตา ปทุมสูติ

“...เด็กจะไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างผาสุกได้เลย หากเขายังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้…” “วิกฤติการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่แค่ยังไม่หมดไป แต่กลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครอบคลุมโรงเรียนทั่วพื้นที่ประเทศไทย” ข้อสังเกตที่สะท้อนความจริงอันน่าวิตกในระบบการศึกษาของบ้านเราวันนี้ จากครูก้อย–ในดวงตา ปทุมสูติ ครูก้อยเคยทำงานในบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ ในกรุงเทพฯ เมื่อลาออกแล้วก็มาทุ่มเทแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กไทยมาแล้วกว่า 20 ปี เพื่อถ่ายทอด ‘หลักสูตรทางเลือก’ สำหรับแก้ปัญหาให้หลายๆ โรงเรียนมาแล้วทั่วประเทศ ร่วมกับคุณพ่อ (ผศ.ศิวกานต์...

ครูไม่ใช่แค่คนที่ยืนอยู่หน้าห้อง แต่เป็น ‘ใครบางคน’ ที่ยืนอยู่ในชีวิตเด็ก   

คุยกับ ‘ครูหนิง-ครูกิ๊ก-ครูอ้อ’ แห่งโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาฯ กับภารกิจข้ามขอบรั้วโรงเรียน ไปมองเห็นชีวิตของเด็กอย่างรอบด้าน  โลกวันนี้หมุนเร็วและซับซ้อนขึ้นทุกขณะ ทั้งสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ทำให้การศึกษาและการเรียนรู้ของเด็กต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่ กลายเป็นโจทย์สำคัญในการออกแบบและเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาในหลายประเทศทั่วโลก เมื่อมองกลับเข้ามายังประเทศไทย จากข้อมูลการสำรวจในช่วงปีที่ผ่านมา เราพบว่ามีเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่หลุดและเข้าไม่ถึงระบบการศึกษา เป็นสัญญาณบ่งชี้ ‘วิกฤต’ ของระบบการศึกษาที่ไม่สอดรับกับวิธีการเรียนรู้อันแตกต่าง รวมถึงเงื่อนไขและปัญหาในชีวิตของเด็กแต่ละคนได้ กล่าวคือ การศึกษาของบ้านเรายังคงแยกขาด ‘ห้องเรียน’...

เมื่อการสอนไม่เพียงพอ ถึงเวลาครูข้ามขอบ ข้ามขอบฟ้าไปเป็นกระบวนกร

จุดมุ่งหวังของโครงการห้องเรียนข้ามขอบการพัฒนา ‘นวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบใหม่’ ที่มุ่งสร้างระบบนิเวศการเรียนและการศึกษาที่ยืดหยุ่น ‘ครู’ จึงเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ ยิ่งครูเต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพในการจัดการเรียนรู้มากเท่าไหร่ เด็กก็จะสามารถข้ามขอบไปได้ไกล มากไปกว่าครูในระบบ ห้องเรียนข้ามขอบยังขยับชักชวนเหล่าผู้สร้างการเรียนรู้และสถานีการเรียนรู้ เข้ามาร่วมขบวนข้ามขอบสร้างการเรียนรู้แบบใหม่ไปพร้อมๆ กัน ด้วยความพยายามก้าวเล็กๆ แต่ต่อเนื่องจาก ‘เชียงดาวเมืองแห่งการเรียนรู้’ สิ่งที่เป็นผลสืบเนื่องต่อยอดกันมาคือการที่เหล่าสถานีการเรียนรู้พร้อมที่จะขยับต่อไปด้วยกันอย่างแข็งแรง บทบาทของครูในพื้นที่การเรียนรู้ แค่การ ‘สอน’ ไม่เพียงพออีกต่อไป ‘บอกวิชาความรู้ให้ (กริยา)’...

ให้เด็กได้ ‘เลือก’ อีกสักครั้ง ข้ามขอบไปคุยเรื่องเด็กหลุดจากระบบ สู่ห้องเรียนระบบ 2 กับ ‘พิเศษ ถาแหล่ง’ ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยซ้อฯ

 “ผมจะทำที่ห้วยซ้อ บ้านผมอยู่ที่นี่ ถึงห้วยซ้อเหลือเด็กแค่ 200 คน ผมก็จะเขียนย้ายมา”   ถ้อยคำยืนยันหนักแน่นของ ‘พิเศษ ถาแหล่ง’ ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เมื่อย้อนพูดถึงครั้งที่สอบผู้บริหารได้เป็นครั้งแรก หลังจากชีวิตราชการก่อนหน้าอยู่ในบทบาทครูฝ่ายปกครองโรงเรียนห้วยซ้อที่คลุกคลีใกล้ชิดอยู่กับเด็กหลากหลายรูปแบบด้วยความเชื่อส่วนตัวที่ว่า การเป็นครูไม่ใช่แค่การจัดการเรียนการสอน แต่เป็นการทำงานที่สัมพันธ์กับชีวิตของเด็กอย่างรอบด้าน  นอกจากเหตุผลที่ว่าห้วยซ้อเป็นโรงเรียนในพื้นที่ ‘บ้าน’ ของตัวเองแล้ว การที่ห้วยซ้อกลายเป็นหมุดหมายของเขาในฐานะผู้อำนวยการ...

ทำไมเราจึงต้องการ “ห้องเรียนข้ามขอบ”

หากจะพูดถึงปัญหาที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากระบบการศึกษา- ไทยเรายังคงได้ยินเรื่องเดิมซ้ำๆ ต่อเนื่องแทบทุกจะช่องทางทั้งบทความงานเสวนา หรืองานวิจัยและก็ดูเหมือนจะเป็นไปในทิศทางที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่มีเด็กกว่า 1.02 ล้านคนที่หลุดจากระบบการการศึกษา เด็กมากมายขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ และได้รับสิทธิที่ควรจะได้รับ แต่การศึกษาในระบบก็ไม่ตอบโจทย์ทักษะที่จำเป็นในอนาคต และไม่ยืดหยุ่นพอที่จะตอบสนองต่อความสนใจหรือเป้าหมายในชีวิตของเด็กแต่ละคน ทำให้คนที่ได้วุฒิจากระบบการศึกษาไม่มีทักษะที่พร้อมนำไปใช้ทำงานได้จริง รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาสำคัญต้องเฝ้าระวังในขณะนี้  ดังนั้นถ้าจะตอบคำถามว่า ทำไมเราจึงต้องการ “ห้องเรียนข้ามขอบ” ก็คงต้องกลับไปทำความเข้าใจกันก่อนว่า แล้ว “ขอบ” ที่กำลังชวนทุกคนข้ามนั้น มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับปัญหาข้างต้นอย่างไร...