Korkankru

หนังสือ

หนังสือ ย้อนแย้ง แยบยล บทวิเคราะห์ประเด็นการศึกษาไทย

ก่อการครูชวนผู้อ่านกลับมาตั้งคำถามเกี่ยวกับมายาคติที่อยู่ในวิธีคิด การปฏิบัติ ปะทะกันในเชิงความคิด จากมายาคติที่ยึดถือหลากหลาย ฝั่งแฝงความเชื่อได้อย่างแยบยลจนไม่ทันรู้ตัว หนังสือย้อนแย้ง แยบยล บทวิเคราะห์ประเด็นการศึกษาไทยในโครงการวิจัยการสำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย ปีที่ 2 คำสำคัญสองคำ นั่นคือ ‘ย้อนแย้ง’ – ‘แยบยล’ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของมายาคติที่แฝงฝังอยู่ในวิธีคิดและวิถีปฏิบัติของผู้คน ซึ่งมีทั้ง ความย้อนแย้ง ไม่ลงรอยระหว่างชุดวิธีคิดที่หลากหลายภายใต้ประเด็นทางการศึกษาในเรื่องเดียวกัน และมี ความแยบยล...

'ปฐมบท' ใต้พรมแห่งความดีงาม : สำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย

เมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’  ‘ปฏิรูปการศึกษา’ วาทกรรมคุ้นหูที่วนเวียนหลอกหลอนเราและผู้คนที่เกี่ยวข้องในสังคมไทยมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ ปรากฏการณ์ความล้มเหลวทางการศึกษาปรากฏชัดให้เราเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนบนหน้าข่าวของสื่อทุกสำนักแทบจะทุกวัน โลกกำลังเปลี่ยนแปลงบนหนทางการวิวัฒน์ไปข้างหน้า ขานไปกับเส้นเวลาที่ไม่อาจถอยหลังกลับ แต่เพราะเหตุใดการศึกษาไทยกลับก้าวถอยหลังสวนทางกับนานาประเทศในสังคมโลก ปรากฏการณ์การศึกษาคือภาพสะท้อนสภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจนจนไม่อาจปฏิเสธ การศึกษาเป็นเช่นใดก็สร้างสังคมเช่นนั้น หรือเพราะสภาพสังคมเป็นเช่นใดก็จะสร้างการศึกษาเช่นนั้น ปฏิสัมพันธ์ของทั้งสองสิ่งสอดคล้องบรรสานกันอย่างแนบแน่นดุจคำถามโลกแตก ‘ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน’ นโยบายการศึกษารายวันถูกผลิตขึ้นจากผู้กำหนดนโยบายที่หวังว่าการสร้างนโยบายเหล่านั้นจะเป็น ‘วัคซีน’ ที่ช่วยแก้ปัญหาโรคระบาด โดยที่ไม่เคยคำนึงว่า เรายังไม่เคยวินิจฉัยโรคอย่างถึงแก่น เพียงแค่นำเข้าเทคโนโลยีที่อาจใช้ได้ผลในประเทศอื่น ๆ โดยไม่ศึกษาบริบทของปัญหาและสภาพแวดล้อมอันเป็นลักษณะเฉพาะที่อาจมีวิธีการแก้ไขที่ตรงจุดได้มากกว่า แต่เราจะแก้ปัญหาใด ๆ ได้ก็ต่อเมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’ ...

ทวิวัจน์การวิจัย : เรื่องเล่าจากนักวิทยาการเรียนรู้สู่กระบวนทัศน์การทำงานชุมชน

การทำงานร่วมกันของกลุ่มนักวิจัยกับภาคประชาสังคม ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาของโครงการผู้นำแห่งอนาคต สร้างให้เกิดพื้นที่ของบทสนทนาและเรื่องเล่าอย่างหลากหลายมุมเกี่ยวกับการทำงานวิจัยชุมชน ผันกลายมาเป็นบทเรียนและมุมมองใหม่ต่อตัวตน ความคิด ประสบการณ์ในการทำงานของนักวิจัยแต่ละคน ก่อร่างเป็นหนังสือ ทวิวัจน์การวิจัย : เรื่องเล่าจากนักวิทยาการเรียนรู้สู่กระบวนทัศน์การทำงานชุมชน ที่บรรจงพิจารณาบทสนทนาอันผุดเกิดขึ้นระหว่างการทำงานของนักวิจัยทั้ง 6 คนในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน ว่าด้วยความสัมพันธ์ของผู้คนที่ร่วมงาน มิติด้านความรู้สึกนึกคิด มุมมอง บทเรียนจากการทำงานในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง    อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นหนังสือถอดบทเรียนการทำงานของนักวิจัย เพื่อสกัดเอาข้อมูลทางวิชาการอย่างแข็งขัน...

รวมคน สร้างเมือง : สถาบันการเรียนรู้พังงาแห่งความสุขกับการขับเคลื่อนสังคม

สถาบันการเรียนรู้พังงาแห่งความสุข เป็นผลผลิตที่งอกงามจากการนำร่วมและสานพลังเครือข่ายของคนในชุมชนกับองค์กรหลายภาคส่วน โดยจุดร่วมที่นำมาสู่การถางเส้นทางจนมาเป็นสถาบันพังงาแห่งความสุขนี้ นอกจากความรักและหวงแหนในถิ่นที่ของตนแล้ว สิ่งสำคัญหนึ่งที่ผสานหัวใจของคนพังงาเอาไว้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี คือ “ความทุกข์ร่วม” อันเกิดจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิที่สร้างบาดแผลในทรงจำส่วนลึก ผันกลายมาเป็นพลังขับเน้นความใฝ่ฝันที่จะเห็นพังงาเป็นเมืองแห่งความสุข หนังสือ รวมคน สร้างเมือง : สถาบันการเรียนรู้พังงาแห่งความสุขกับการขับเคลื่อนสังคม เล่มนี้ได้ตกตะกอนบทเรียนทั้งหมดตั้งแต่จุดเริ่มต้น การก้าวข้ามอุปสรรคความขัดแย้ง  ไปจนถึงการขับเคลื่อนชุมชนของพังงาได้อย่างเป็นระบบภายใต้แนวคิดการนำร่วมที่รวมคนจนสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเมืองได้ ผ่านการเข้าไปทำงานเชิงพื้นที่ร่วมกับชุมชนเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี การเดินทางของพังงาแห่งความสุขจะเป็นมาอย่างไร...

รถไฟสายความสุข : การขับเคลื่อนสังคมเพื่อความสุขร่วมบนวิถีวัฒนธรรม ไทยเบิ้ง โคกสลุง

การเดินทางของชุมชนไทยเบิ้ง โคกสลุงเป็นเหมือนรถไฟขบวนหนึ่งที่กำลังเคลื่อนไปข้างหน้าและเกิดเรื่องราวระหว่างทางขึ้นมากมาย โดยมีปลายทางคือความสุขร่วมของคนในชุมชน คำถามที่น่าสนใจคือ อะไรทำให้รถไฟสายนี้ เคลื่อนไปข้างหน้าได้ ? ชวนหาคำตอบจาก หนังสือ รถไฟสายความสุข : การขับเคลื่อนสังคมเพื่อความสุขร่วมบนวิถีวัฒนธรรม ไทยเบิ้ง โคกสลุง หนังสือที่มีสถานีต้นทางจากการทำงานปฏิบัติการเชิงพื้นที่ของโครงการผู้นำแห่งอนาคตที่ได้เชื่อมร้อยองค์ความรู้และเครื่องมือเชิงวิชาการเข้าไปผสานร่วมกับแนวทางการดำเนินงานของผู้คนในชุมชนแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ภายในเล่มนี้ บรรจุเนื้อหาว่าด้วยการถ่ายทอดถอดบทเรียนจากนักวิจัยที่เข้าไปทำงานร่วมกับชุมชนไทยเบิ้ง โคกสลุง ชุมชนริมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์...

หลากสี ต่างเลนส์ : ว่าด้วยแนวคิดทฤษฎีนำร่วมเคลื่อนสังคม

การพัฒนาศักยภาพผู้นำเชิงพื้นที่เพื่อสร้างภาวะผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่ที่ยึดแกนการนำร่วมในการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาวะทางปัญญา เป็นเป้าหมายสำคัญของโครงการผู้นำแห่งอนาคต  คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ก่อเกิดการทำงานเชิงพื้นที่ที่ได้หนุนเสริมเครื่องมือทั้งกรอบแนวคิดทฤษฎีทางวิชาการ รวมถึงการทำงานเชิงปฏิบัติการจากโครงการเข้าไปผสานร่วมกับแนวทางการทำงานขับเคลื่อนสังคมของผู้คนในชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา หนังสือ หลากสีต่างเลนส์ : ว่าด้วยแนวคิดทฤษฎีนำร่วมเคลื่อนสังคม เล่มนี้  รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ กรอบแนวคิดทฤษฎีที่สกัดจากการทำงานจริงของโครงการผู้นำแห่งอนาคตมาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ โดยชวนมองย้อนกลับไปพูดคุยกับการนำกระบวนทัศน์เก่าและเชื่อมโยงมาพิจารณาการนำกระบวนทัศน์ใหม่ที่ว่าด้วยแนวทางการนำร่วมเป็นแก่นแกนสำคัญ ทว่า แม้การถอดสกัดแนวคิดทฤษฎีในเล่มนี้จะอยู่ภายใต้ร่มของแนวคิดการนำร่วมในการขับเคลื่อนชุมชน แต่ความแตกต่างหลากหลายอย่างที่เรียกได้ว่าหลากสีต่างเลนส์นั้น...

ชวนอ่าน "ประเมินเติมใจ จุดไฟการเรียนรู้"

การประเมินแบบปกติ กำลังทำให้ครูกับนักเรียนห่างไกลกันมากขึ้น จะดีกว่าไหม? หากเราสามารถเติมใจและจุดไฟให้ชั้นเรียนได้ ด้วยเครื่องมือการประเมินที่มีชีวิต เพราะโลกของการเรียนรู้ อาจไม่ได้มีขั้นตอนหรือสูตรสำเร็จที่ระบุว่า ครูที่ดีต้องสอนอย่างไร ห้องเรียนที่ดีเป็นแบบไหน ทว่า การกลับมามองเสียงสะท้อนอย่างจริงใจจากนักเรียน และด้วยใจจริงจากครู กลับคืนชีวิตชีวาให้กับห้องเรียน เป็นห้องเรียนที่มีความหมาย ครูได้เป็นตัวครู เด็กกล้าเข้าใกล้ครู การออกแบบการเรียนรู้และสื่อการสอนเต็มไปด้วยความสนุก ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงในอุดมคติ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ “เป็นไปได้” เพียงครูกล้าเปิดใจใช้...

ก่อก่อนกาล ก่อการครู

หนังสือเล่มนี้กำลังบอกเล่า เรื่องราว ถ้อยคำ ความรู้ ที่ถอดถ่ายจากประสบการณ์และแง่มุมของผู้ก่อการ 11 คน ก่อนจะเดินทางมาพบเจอกัน เพื่อร่วมก่อร่างขบวนการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงการศึกษา ในชื่อของ ก่อการครู เกิดกลายเป็นเรื่องราว บรรจุและร้อยเรียงตั้งแต่จุดเริ่มต้นการเดินทางสู่วงการการศึกษา รวมไปถึงระหว่างทางและปลายทางที่วาดหวัง ลงในหนังสือ ก่อก่อนกาล ก่อการครู เล่มนี้ จากแรงขับเน้นและเส้นทางชีวิตของแต่ละคน อะไรทำให้คนกลุ่มนี้เลือกที่จะลุกขึ้นมา "ก่อก่อนกาล"...

คน เคลื่อน คน : การศึกษาการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม

คน เคลื่อน คน หนังสือที่ก่อร่างขึ้นจากรวมบทความภายใต้โครงการวิจัย การศึกษาเรียนรู้ในชุมนุมเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม  ที่เขียนขึ้นโดยคณะนักวิจัยผู้ทำงานภาคสนามของโครงการผู้นำแห่งอนาคต โดยเป็นหนังสือที่มุ่งมองการขับเคลื่อนภาคประชาสังคมผ่านแว่นของการนำร่วม ว่าด้วย "คน" ที่เป็นผู้ทำงานภาคประชาสังคมเป็นพลังร่วมในการ "เคลื่อน" ขยับและเขยื้อน "คน" ซึ่งหมายความถึงชุมชนทั้งหมดให้ไปต่อได้ในเส้นทางแห่งความหวังร่วมกัน โดยการขับเคลื่อนที่เกิดขึ้นเป็นการขับเคลื่อนที่มิได้สร้างผู้นำ หรือ ฮีโร่ เพียงหนึ่งเดียว หากแต่เป็นการรวมพลังทางความคิด แรงกาย แรงใจของคนในชุมชนและเครือข่ายผู้อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในชุมชนและถิ่นที่ของตัวเองให้ก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน...

ความสัมพันธ์ ความกล้า ปัญญาร่วม : ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู

PLC (Professional Learning Community : ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ) คืออะไร?   คุณครูหลายท่านอาจรู้จัก PLC ในฐานะของ “การประชุมครู” เพื่อทบทวนภาระงานต่าง ๆ หรือหยิบยกบางประเด็นที่อาจมองว่าเป็นปัญหา มาร่วมพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนกัน หลายครั้งวง PLC นี้อาจจบลงด้วยการมอบหมายงานให้คุณครูบางท่านไปดำเนินการต่อ หรือมีแนวทางแก้ปัญหาจากประเด็นพูดคุย  เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็ทำการนับเวลาประชุม...