Korkankru

งานวิจัยด้านการศึกษา

หนังสือ Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ

ภาพจำเกี่ยวกับ Active Learning ของหลายคนมักเกี่ยวข้องกับการสอนที่มีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ การให้ผู้เรียนได้จับกลุ่มคุยหรือทำกิจกรรมร่วมกัน หรือการให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกายทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ตำราต่าง ๆ ก็มักพูดถึง Active Learning ในแง่ของวิธีการนำไปใช้ ซึ่งหนีไม่พ้นการบอกเล่าเกี่ยวกับเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอน ทำให้ Active Learning มักถูกมองว่าเป็นเรื่องวิธีการสอน (Concept of Teaching) มากกว่าเป็นเรื่องวิธีการเรียนรู้...

เส้นทางลัดเพื่อพัฒนาระบบการศึกษามีจริง หรือเป็นเพียงฝันลมๆ แล้งๆ ที่ผู้คนจินตนาการถึง ?

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ควรมีหน้าตาอย่างไร? เราอาจหาคำตอบได้จากแนวคิดของฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม สิงคโปร์ และอีกหลายสิบประเทศทั่วโลกที่จัดอันดับให้อยู่ก่อนหน้าประเทศเรา ทว่าหลักคิดใดเล่าที่เข้ากับบริบทของระบบการศึกษาไทยได้ดีในภาคปฏิบัติ วิธีใดเล่าจะแก้ไขทุกปัญหาในจักรวาลการศึกษาไทยได้ สูตรลัดพัฒนาระบบการศึกษาไทยมีจริงหรือไม่ ปัญหาของครู โรงเรียน และระบบการศึกษาไทยอยู่ตรงไหนกันแน่ อาจารย์อนุชาติ พวงสำลี หนึ่งในทีมบริหารโครงการโรงเรียนปล่อยแสง ฉายภาพเส้นทางการทำงานของโครงการฯ ว่าแบ่งเป็น 2 ส่วนสำคัญ...

ก่อร่างสร้างนิเวศการเรียนรู้ บันทึกการทำงานพัฒนาโรงเรียนจากสายตานักวิจัย

2 ปีของ “โครงการโรงเรียนปล่อยแสง” คุณครูหลายคนได้เดินทางไปบนสายธารแห่งการเปลี่ยนแปลง หลายคนได้เติมพลังไฟให้ลุกโชนจากใกล้มอดดับ หลายคนได้ฟื้นคืนความเป็นมนุษย์ พร้อมกับเรียนรู้ทักษะและเครื่องมือใหม่ๆ หลายคนได้ลงมือก่อการบางอย่างในห้องเรียนและเริ่มเห็นการผลิดอกออกผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น  คุณครูแต่ละคนจากหลายโรงเรียน ล้วนเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราว ปล่อยแสงสว่างสดใสด้วยกันทั้งนั้น วันนี้เราอยากชวนทุกท่านมารับฟังเรื่องราวเดิมในมุมมองใหม่ ที่เล่าผ่านสายตาของนักวิจัย ได้แก่  รศ. ดร. ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล (อาจารย์แต้ว), ผศ. ดร....

ภายใต้ระบอบแห่งภาพลักษณ์: มายาคติทางเพศ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม และทัศนคติของนักเรียนในพื้นที่การศึกษาไทย

“เพศ” เป็นประเด็นที่มักถูกตีตราจากสังคมไทยว่าไม่เหมาะสมที่พูดถึงในพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานศึกษา เนื่องจากสถานศึกษาได้รับความคาดหวังจากสังคมไทยให้เป็นพื้นที่บ่มเพาะประชากรให้มีศีลธรรมอันดีตามขนบแบบไทยๆ ซึ่งมักรวมถึงการละเว้นจากการแสดงออกทางเพศและพูดคุยเรื่องเพศที่เกินพอดีอย่างไรก็ตามการปฏิเสธการรับรู้เรื่องเพศในโรงเรียนอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น การไม่ได้เรียนรู้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศ ไม่ว่าจะในมิติการทำงานของร่างกาย สิทธิเหนือพื้นที่บนร่างกาย ตัวตนทางเพศที่หลากหลายของมนุษย์รสนิยมทางเพศ การเคารพต่อผู้อื่น รวมไปถึงทักษะ และทัศนคติที่สำคัญในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเมื่อเยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลเรื่องเพศในโรงเรียน เป็นการผลิตซ้ำวัฏจักรความไม่รู้และความกลัวเรื่องเพศ ซึ่งทำให้ประชากรในสังคมไทยขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศทั้งในระดับกว้างและลึก ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้และพร้อมที่จะส่งต่อความกลัวจากรุ่นสู่รุ่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกและการใช้แบบสอบถามกับครูและนักเรียนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เรื่องเล่าเพื่อศึกษามุมมองและประสบการณ์ร่วมของครูและนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องเพศในสถานศึกษาไทย...

โครงการวิจัย “สำรวจวาทกรรมเกี่ยวกับการจัดการในชั้นเรียนและการลงโทษของครูระดับชั้นมัธยมศึกษา”

งานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจชุดความคิด/วาทกรรมต่างๆ ที่หล่อเลี้ยงให้ครูยังเลือกใช้การจัดการชั้นเรียนและการลงโทษนักเรียนด้วยความรุนแรง เห็นได้จากปรากฏการณ์ที่ยังมีการตีนักเรียนอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่คำอธิบายต่อการจัดการชั้นเรียนและการลงโทษด้วยความรุนแรงมักเป็นการอธิบายในเชิงพฤติกรรมของครูในฐานะปัจเจกบุคคลซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจความแพร่หลายของปรากฏการณ์การใช้การตีเพื่อการลงโทษได้ โดยมีข้อค้นพบ และประเด็นสำคัญจากการศึกษา ดังต่อไปนี้ หนึ่ง ปรากฎการณ์การลงโทษด้วยความรุนแรงไม่ได้เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเองหากแต่เป็นส่วนหนึ่งและมีความเกี่ยวพันกับปรากฎการณ์ โครงสร้างทางสังคม และชุดวาทกรรมต่างๆ ได้แก่ ความเป็นครูและบทบาทของครูที่ถูกคาดหวังให้เป็นแม่พิมพ์ ที่ต้องขัดเกลาเด็กให้เป็นนักเรียนที่มีความสมบูรณ์แบบและเป็นไปตามมาตรฐานที่สังคมคาดหวัง  อีกทั้งระบบการฝึกฝนครูที่อาจจะไม่ได้แสดงให้เห็นทางเลือกในการจัดการชั้นเรียนและการลงโทษนอกจากการใช้อำนาจ และวัฒนธรรมระบบรุ่นพี่รุ่นน้องและความเคารพอาวุโส (โซตัส) ที่มีความเข้มแข็งในคณะศึกษาศาสตร์หลายๆแห่ง สอง แม้ครูหลายคนจะไม่ใช้การลงโทษด้วยการตี แต่หากตีความผ่านมโนทัศน์เรื่องความรุนแรงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมแล้ว...

มายาคติความเสมอภาคทางการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทย: การขยายโอกาสและสุขภาวะทางสังคม

งานวิจัยเรื่องมายาคติความเสมอภาคทางการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทย : การขยายโอกาสและสุขภาวะสังคม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ใช้วิธีการศึกษาแบบชาติพันธุ์วรรณา(ethnographic approach) มาทำการวิเคราะห์กระบวนการประกอบสร้างความหมายเกี่ยวกับความเสมอ ภาคทางการศึกษาภาคบังคับที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในสังคมไทยด้วยคำถามสำคัญที่ว่า อะไรคือความคิดเบื้องหลังคอยหล่อหลอมให้เกิดความเข้าใจเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาภาคบังคับในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการรับรู้ดังกล่าวอุบัติขึ้นเพราะมีปัจจัยทางวัฒนธรรมหรือวาทะทางประวัติศาสตร์ชุดใดเข้ามาทำให้เกิดการยอมรับโดยไม่ถูกตั้งคำถามใด ๆ ด้วยคาดหวังว่าผลจากการวิจัยจะสามารถสะท้อนให้เห็นภูมิหลังอุดมการณ์ปฏิรูปการศึกษาไทยควบคู่กับชี้ให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาวะสังคมในอีกแง่มุมหนึ่ง ผลการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 การศึกษาถูกยกให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศและการทำให้ชนชั้นเท่าเทียมกัน โดยคำว่า “ความเสมอภาคทางการศึกษา” ถูกกล่าวถึงอย่างชัดเจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่...

มายาคติว่าด้วยความสำเร็จของผู้เรียน : กรณีศึกษาเรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศไทย

งานวิจัยนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งถูกมองว่าเป็นหมุดหมายแสดงถึงความสำเร็จทางการศึกษาของผู้เรียน ก่อให้เกิดกระแสการแข่งขันการกวดวิชา และความพยายามอย่างหนักที่จะประสบความสำเร็จในการเข้ามหาวิทยาลัย การประสบความสำเร็จในการเข้ามหาวิทยาลัย ถูกผูกโยงเข้ากับความสำเร็จในชีวิตภายภาคหน้า ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะทั่งทางใจ ทางกาย ทางสังคม ของผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เช่น ผู้ปกครองและครู ปัจจุบัน การศึกษาที่ทำความเข้าใจถึงที่มาของชุดความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ ว่ามีการก่อร่าง ส่งต่อ และส่งผลอย่างไรต่อสุขภาวะผู้เรียนและสังคม มีจำนวนน้อยมาก ดังนั นงานวิจัยนี...

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: มายาคติในการศึกษาไทย

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นกรอบแนวคิดที่ปรากฏขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ซึ่งกล่าวถึง ความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาคนให้มีความเท่าทันและมีทักษะในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความไม่แน่นอนของโลกอนาคต หลายประเทศทั่วโลกรับแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายทางการศึกษาเพื่อพัฒนาให้เยาวชนมีทักษะที่จ าเป็นต่อการ “อยู่รอด” และนำพาประเทศสู่แนวหน้า สำหรับประเทศไทย แนวคิดนี้ได้กลายเป็นของแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580) และนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการในการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21...

รายงานการสังเคราะห์โครงการวิจัยมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย

รายงานการสังเคราะห์ภาพรวมมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย มีเป้าหมายที่จะสังเคราะห์ข้อค้นพบจากชุดโครงการวิจัยการสำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการทางศึกษาในสังคมไทย 5 โครงการ ที่ประกอบด้วย “ทักษะแห่งศตวรรษที่21” “เพศ” “ความเสมอภาคทางการศึกษา” “ความสำเร็จของผู้เรียน” และ “การจัดการในชั้นเรียนและการลงโทษ” โดยมุ่งเน้นไปที่การสำรวจชุดความคิด ความเชื่อ และคุณค่าที่ประกอบสร้างขึ้นเป็นมายาคติทางการศึกษาในด้านต่างๆ ที่ส่งอิทธิพลต่อการกำกับและควบคุมความคิด ความรู้สึก ตลอดจนพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องในระบบนิเวศการศึกษา รวมทั้งศึกษาประสบการณ์และความคิดเห็นของนักเรียนและครูอาจารย์ที่มีต่อประเด็นทางการศึกษาในด้านต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นถึงความซับซ้อนของการยึดถือหรือการต่อต้านวาทกรรมต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของปัจเจกบุคคลทั้งทางตรงและทางอ้อม        ...