ก่อการครู – Korkankru

Featured

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Duis sed ornare turpis. Mauris libero elit, pretium nec felis vel, placerat molestie ex. Fusce vel est quis lacus porttitor dictum a eget eros.

‘การนิเทศ’ ที่มีความหมาย จะทำให้ ‘ครู’ อยากพาตัวเองไปข้างหน้า

คุยเรื่อง ‘ก่อการนิเทศ’ กับ ครูกั๊ก—ร่มเกล้า ช้างน้อย “ตอนฝึกสอน ความรู้สึกเราต่ออาจารย์ที่มานิเทศ เขาคือคนที่มาช่วยดูว่า เราต้องปรับปรุงตรงไหน เพื่อให้สอนได้ดีขึ้น อีกแบบหนึ่งก็จะตรวจตั้งแต่แผน แล้วแนะนำว่าจะปรับการสอนอย่างไร ซึ่งตอนนั้นก็ทำให้เราได้เรียนรู้ก่อนที่จะไปทำงานได้จริงๆ”  เมื่อถามถึง ‘การนิเทศ’ ในระบบการศึกษาไทยผ่านมุมมองที่ได้สัมผัสมา คำบอกเล่าแรกจาก ครูกั๊ก—ร่มเกล้า ช้างน้อย พาเราย้อนไปตอนที่ยังเป็นนักศึกษาฝึกสอน โดยการนิเทศในครั้งนั้นมาจากอาจารย์...

ครูไม่ใช่แค่คนที่ยืนอยู่หน้าห้อง แต่เป็น ‘ใครบางคน’ ที่ยืนอยู่ในชีวิตเด็ก   

คุยกับ ‘ครูหนิง-ครูกิ๊ก-ครูอ้อ’ แห่งโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาฯ กับภารกิจข้ามขอบรั้วโรงเรียน ไปมองเห็นชีวิตของเด็กอย่างรอบด้าน  โลกวันนี้หมุนเร็วและซับซ้อนขึ้นทุกขณะ ทั้งสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ทำให้การศึกษาและการเรียนรู้ของเด็กต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่ กลายเป็นโจทย์สำคัญในการออกแบบและเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาในหลายประเทศทั่วโลก เมื่อมองกลับเข้ามายังประเทศไทย จากข้อมูลการสำรวจในช่วงปีที่ผ่านมา เราพบว่ามีเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่หลุดและเข้าไม่ถึงระบบการศึกษา เป็นสัญญาณบ่งชี้ ‘วิกฤต’ ของระบบการศึกษาที่ไม่สอดรับกับวิธีการเรียนรู้อันแตกต่าง รวมถึงเงื่อนไขและปัญหาในชีวิตของเด็กแต่ละคนได้ กล่าวคือ การศึกษาของบ้านเรายังคงแยกขาด ‘ห้องเรียน’...

เมื่อการสอนไม่เพียงพอ ถึงเวลาครูข้ามขอบ ข้ามขอบฟ้าไปเป็นกระบวนกร

จุดมุ่งหวังของโครงการห้องเรียนข้ามขอบการพัฒนา ‘นวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบใหม่’ ที่มุ่งสร้างระบบนิเวศการเรียนและการศึกษาที่ยืดหยุ่น ‘ครู’ จึงเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ ยิ่งครูเต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพในการจัดการเรียนรู้มากเท่าไหร่ เด็กก็จะสามารถข้ามขอบไปได้ไกล มากไปกว่าครูในระบบ ห้องเรียนข้ามขอบยังขยับชักชวนเหล่าผู้สร้างการเรียนรู้และสถานีการเรียนรู้ เข้ามาร่วมขบวนข้ามขอบสร้างการเรียนรู้แบบใหม่ไปพร้อมๆ กัน ด้วยความพยายามก้าวเล็กๆ แต่ต่อเนื่องจาก ‘เชียงดาวเมืองแห่งการเรียนรู้’ สิ่งที่เป็นผลสืบเนื่องต่อยอดกันมาคือการที่เหล่าสถานีการเรียนรู้พร้อมที่จะขยับต่อไปด้วยกันอย่างแข็งแรง บทบาทของครูในพื้นที่การเรียนรู้ แค่การ ‘สอน’ ไม่เพียงพออีกต่อไป ‘บอกวิชาความรู้ให้ (กริยา)’...

พระคุณที่สาม ยังแจ่มใสอยู่ไหม ?

highlight เพลงไหว้ครูที่คุ้นหูตั้งแต่จำความได้ สร้างวาทกรรม ความเชื่อ สู่การสร้างอัตลักษณ์และมายาคติความเป็น “ครูไทย” “ความเสียสละ”  กลายเป็นเครื่องมือใช้งานนอกเหนือขอบเขตการสอนและหน้าที่ครู จึงกลายเป็นภาระใหญ่ไม่รู้ตัว พร้อมกับถูกละเลยสวัสดิภาพที่ควรได้รับ ทำความเข้าใจปรากฎการณ์การลาออกราชการของครู ด้วย “การให้ความสำคัญต่ออัตลักษณ์” เพื่อชี้ให้เห็นว่า ปัญหาครูหมดไฟหรือครูลาออก ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตัวของครูเอง “...ครูบาอาจารย์ ที่ท่านประทานความรู้มาให้อบรมจิตใจ ให้รู้ผิดชอบชั่วดีก่อนจะนอนสวดมนต์อ้อนวอนทุกทีขอกุศลบุญบารมีส่งเสริมครูนี้ให้ร่มเย็น ครูมีบุญคุณจะต้องเทิดทูลเอาไว้เหนือเกล้าท่านสั่งสอนเรา อบรมให้เราไม่เว้นท่านอุทิศ...

พลังของพื้นที่เรียนรู้คู่ขนานกับการศึกษาในระบบ: เพราะทุกคนต่างมีบทบาทต่อการศึกษา

‘มนุษย์เด็ก’ ในสถานการณ์โลกที่ผันผวน โรคระบาด โลกรวนรุนแรง เรียกร้องให้เขาต้องปรับตัว ค่าครองชีพสูง สวนทางกับเศรษฐกิจทางบ้านที่ไม่สู้ดี ตัวเร่งที่ทำให้ตัดสินใจว่าอยาก ‘อยู่ต่อ’ หรือ ‘พอแค่นี้’ กับระบบการศึกษา ทุนนิยมเร่งเร้า โซเชียลมีเดียประชิดตัว เครื่องมือปลูกฝังค่านิยมชั้นดีที่เด็กในครอบครัวห่างเหินไม่มีคนสร้างการเรียนรู้พร้อมเชื่อและทำตาม ท่ามกลางความซับซ้อนและปั่นป่วนเหล่านี้ การที่มนุษย์เด็กเดินเข้าสู่รั้วโรงเรียน ใช้เวลาจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นเพื่อหวังเติบโต แข็งแกร่ง มีเกราะกำบังต่อโลกจากการเรียนตามหลักสูตรแกนกลาง จึงเป็นเรื่องที่มองอย่างไรก็เป็นไปได้ยาก...

ให้เด็กได้ ‘เลือก’ อีกสักครั้ง ข้ามขอบไปคุยเรื่องเด็กหลุดจากระบบ สู่ห้องเรียนระบบ 2 กับ ‘พิเศษ ถาแหล่ง’ ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยซ้อฯ

 “ผมจะทำที่ห้วยซ้อ บ้านผมอยู่ที่นี่ ถึงห้วยซ้อเหลือเด็กแค่ 200 คน ผมก็จะเขียนย้ายมา”   ถ้อยคำยืนยันหนักแน่นของ ‘พิเศษ ถาแหล่ง’ ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เมื่อย้อนพูดถึงครั้งที่สอบผู้บริหารได้เป็นครั้งแรก หลังจากชีวิตราชการก่อนหน้าอยู่ในบทบาทครูฝ่ายปกครองโรงเรียนห้วยซ้อที่คลุกคลีใกล้ชิดอยู่กับเด็กหลากหลายรูปแบบด้วยความเชื่อส่วนตัวที่ว่า การเป็นครูไม่ใช่แค่การจัดการเรียนการสอน แต่เป็นการทำงานที่สัมพันธ์กับชีวิตของเด็กอย่างรอบด้าน  นอกจากเหตุผลที่ว่าห้วยซ้อเป็นโรงเรียนในพื้นที่ ‘บ้าน’ ของตัวเองแล้ว การที่ห้วยซ้อกลายเป็นหมุดหมายของเขาในฐานะผู้อำนวยการ...

การคัดเลือก ‘รอบพอร์ต’ กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- Highlight : พอร์ตฟอลิโอ (Portfolio) เป็นเครื่องมือสะท้อนเส้นทางการเรียนรู้ ความสนใจผ่านกิจกรรมที่เข้าร่วม ความโดดเด่นและความเป็นเลิศของนักเรียน เพื่อพิจารณาด้านอื่น ๆ นอกเหนือการสอบวัดผลเกิดเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ในระบบการคัดเลือก เพราะความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ ต้องอาศัยการสนับสนุนทั้งเวลา ทุนทรัพย์ จากครอบครัวอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ “ธุรกิจการปั้นพอร์ต” เพื่อเป็นผลงานประกอบการเข้าเรียนประตูสู่การศึกษาบานใหญ่กลายเป็นด่านคัดกรอง ตรวจสอบความพร้อม ที่พิจารณาเพียงความสามารถ...

“การศึกษากับเด็กชายขอบ” ปัญหาที่ถูกซ่อนไว้ใต้คำว่า ความมั่นคงกับพหุวัฒนธรรม

ขณะที่เด็กเกิดใหม่ในประเทศไทยลดลงต่อเนื่องมานับทศวรรษ และมีโรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งเสี่ยงถูกปิดตัวเนื่องจากมีจำนวนนักเรียนไม่เพียงพอ  แต่ขณะเดียวกันก็มีเยาวชนไร้สัญชาติจำนวนมากไม่อาจเข้าสู่ระบบการศึกษา  เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง รับเด็กเหล่านี้มาเรียนกว่า 100 คน และโดนตำรวจแจ้งข้อหาทำผิดกฎหมายด้านความมั่นคง  ในความเป็นจริง ประเทศไทยมีนักเรียนรหัส G หรือเด็กนักเรียนที่ไม่มีสัญชาติไทยอยู่ในระบบการศึกษากว่า 80,000 คน  การสัมมนาวิชาการ Education Journey Forum ครั้งที่ 10...

หนังสือ Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ

ภาพจำเกี่ยวกับ Active Learning ของหลายคนมักเกี่ยวข้องกับการสอนที่มีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ การให้ผู้เรียนได้จับกลุ่มคุยหรือทำกิจกรรมร่วมกัน หรือการให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกายทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ตำราต่าง ๆ ก็มักพูดถึง Active Learning ในแง่ของวิธีการนำไปใช้ ซึ่งหนีไม่พ้นการบอกเล่าเกี่ยวกับเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอน ทำให้ Active Learning มักถูกมองว่าเป็นเรื่องวิธีการสอน (Concept of Teaching) มากกว่าเป็นเรื่องวิธีการเรียนรู้...

พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ: การจัดการเรียนรู้แบบเชื่อมโลกและชีวิต ด้วยวิธีคิดแนวราบ

สังคมไทยในอดีตชุมชนเติบโตคู่กับวัดอย่างแยกไม่ออก นอกจากจะเป็นที่พึ่งทางใจ วัดยังเป็นสถานศึกษาบ่มเพาะเยาวชนอีกด้วย ดังนั้น “พระสงฆ์” จึงมีบทบาทสำคัญในฐานะตัวละครหนึ่งของระบบการศึกษาไทยมาอย่างยาวนาน  อย่างไรก็ตามเพราะความเป็น “พระ” ที่สืบทอดคำสอนและความศักดิ์สิทธิ์ ก็ทำให้การเข้าไปจัดเรียนการสอนศาสนาในโรงเรียนปัจจุบันไม่ได้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่กลายเป็นทางแพร่งระหว่างการอบรมชี้ถูกผิด ให้นักเรียนกลายเป็นคนดี กับอำนาจเหนือท่ามกลางมายาคติของสังคมในการควบคุมชั้นเรียน  “พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ” หรือ “พระอิฐ” ผู้เข้าสู่เพศบรรพชิต มีชื่อในทางธรรมว่า “โชติปญฺโญ” จากจังหวัดตรังกลับค้นพบเส้นทางที่แตกต่างสำหรับการสร้างการเรียนรู้...