Korkankru

บทความ

พิเศษ ถาแหล่ง: โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคมฯ และ ‘ห้องเรียนระบบสอง’ แนวทางของครู-ชุมชน ป้องกันเด็กหล่นจากระบบการศึกษา

ออกจากโรงเรียนกลางคันปีละสิบกว่าราย ปัญหาใหญ่ของตำบลห้วยซ้อ โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิษก เป็นโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนประมาณ 620 คน เป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 280 คน ตอนปลาย 340 คน และมีบุคลากรโรงเรียน 42 คน ซึ่งความยากจนในพื้นที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับนักเรียนอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลตั้งแต่ปี 2558...

กุญแจสู่ประตูแห่งความหวังของการศึกษาไทย การปลดล็อกจากโรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)

ครบรอบ 2 ปีของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) กับ 5 โรงเรียนนำร่อง ได้จัดเวทีเครือข่าย แสดงพลังสื่อสารสังคม สร้างการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของคนในชุมชน เพื่อทบทวนเส้นทางห้องเรียนที่เปลี่ยนไป เครื่องมือที่เชื่อมให้เกิดห้องเรียนแห่งความรัก รวมทั้งความท้าทายที่แต่ละโรงเรียนได้ก้าวข้าม ล้วนเป็นแรงบันดาลใจที่จะขยายสู่สังคมการศึกษาไทย ซึ่งเวทีแรก ประเดิมด้วย โรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)...

‘Fish Bank’ สนุกกับการเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง สำรวจทรัพยากรผ่านบอร์ดเกม

ถ้าพูดถึงเกมที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มนุษย์จะสามารถประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาได้ คงหนีไม่พ้น ‘เกมกระดาน’ หรือ บอร์ดเกม (Board Game) ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานควบคู่มากับอารยธรรมมนุษย์ บอร์ดเกมที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุราว 4,600 ปี ถือกำเนิดที่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย นอกเหนือจากความสนุกและเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เกมเก่าแก่นี้ไม่สาบสูญไป อาจเป็นเพราะแก่นของบอร์ดเกม คือ การจำลองสถานการณ์ต่างๆ ให้เราได้วางแผนและใช้ความคิด อาจกล่าวได้ว่าบอร์ดเกมสามารถถอดเป็นบทเรียนและนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิดา...

7 หลักการออกแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning

มีคำกล่าวอยู่ว่า ‘การศึกษา’ กับ ‘การเรียนรู้’ นั้นแตกต่างกัน คุณสามารถศึกษาวิธีการปลูกข้าวโพดได้จากการค้นหาในอินเทอร์เน็ตหรือซื้อหนังสือมาอ่าน แต่ถ้าคุณอยากเรียนรู้วิธีการปลูกข้าวโพดก็ต้องลงมือทำด้วยตนเองเท่านั้น  การศึกษาข้อมูลผ่านการอ่านจะช่วยเสริมสร้างความทรงจำให้กับคุณ แต่การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์แล้ว ยังช่วยให้เกิดกระบวนการคิดการแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งการเรียนรู้จากประสบการณ์เช่นนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) อันเป็นความรู้ที่คงทนยิ่งกว่า ในระยะที่ผ่านมา ระบบการเรียนการสอนในประเทศไทยอาจให้น้ำหนักไปที่ ‘การศึกษา’ เสียมากกว่า...

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง : สร้าง “นิเวศการเรียนรู้” สู่ห้องเรียนที่มีความสุขและมีความหมาย

หากต้องการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ต้องเริ่มต้นที่ใคร? คำตอบแรกที่ขึ้นมาในหัวของแต่ละท่านอาจแตกต่างกัน บ้างอาจตอบว่าต้องเริ่มต้นที่ครู บ้างอาจตอบว่าคงต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงจากระบบก่อน ทุกท่านอาจลองเก็บคำตอบนั้นไว้ในใจ เพราะในบทความนี้จะพาไปชมนิทรรศการจากโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง ณ งาน บัวหลวงก่อการครู: เวทีเบิ่งแงงการศึกษาอุดรบ้านเฮา จ.อุดรธานี ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นิทรรศการสะท้อนเสียงของ...

รับฟังด้วยหัวใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยการฟัง

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเติบโตสู่วัยรุ่น หลานสาววัย 10 ปี เริ่มปลีกตัวห่างจากครอบครัว ขีดเส้นแบ่งเขตส่วนตัวไม่ให้ใครกล้ำกราย ความเป็นห่วงที่เกิดขึ้นในใจของป้า จึงทำให้ พี่เช่ (ศุภจิต สิงหพงษ์) เริ่มสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากการฟังของตัวเอง เพื่อเป็นเพื่อน เป็นป้า เป็นที่ปรึกษา ในยามที่ต้องการ พี่เช่ ช่างภาพมือดีประจำโครงการ ถ่ายทอดเรื่องราวการฟังที่เปลี่ยนไป จากการสังเกตการณ์ในระหว่างวิชาทักษะการโค้ชเพื่อครู (หนึ่งในการอบรมโครงการก่อการครู...

การดูแลเด็ก Dyslexia จากห้องเรียนสู่พื้นที่ในสังคม 

ภาษา ถือเป็น เครื่องมือการเรียนรู้  ที่ทำให้เด็กกลุ่มหนึ่งกลายเป็น เด็กเรียนรู้ช้า ไม่สามารถเข้าใจวิธีการอ่านและการเขียน เรียกว่า เด็กที่มีความบกพร่องด้านการอ่าน “dyslexia”  Dyslexia  (ดิสเล็กเซีย) ชื่อเรียกแทนความบกพร่องด้านการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน อันเกิดจากความผิดปกติของสมองที่ใช้ในการเรียนรู้ ทำให้ไม่สามารถสะกดคำหรือเข้าใจวิธีการอ่านเขียน เพราะไม่สามารถเชื่อมโยงระหว่างตัวอักษร เสียง และภาษาได้ เมื่อก้าวเข้าสู่ระบบการศึกษา จึงทำให้ห้องแห่งการเรียนรู้ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ที่หลากหลาย...

ยงยุทธ ศรีจันทร์ : สร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียน รับฟังโดยไม่ตัดสิน เข้าใจเด็กในทุกมิติ

“เรารับฟังเด็กมากขึ้น ทำความเข้าใจเด็กมากขึ้น ฟังโดยที่ไม่จับผิดตัวเด็ก และเชื่อว่าเด็กสามารถตัดสินใจเลือกได้ด้วยตัวเอง” ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านนาคำหลวง ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เล่าให้ฟังว่า หลังจากจบการอบรม ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ ทำให้ตนเองมองเด็กเปลี่ยนไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จากครูที่ต้องการให้เด็กได้รับความรู้ตามมาตรฐานตัวชี้วัด คะยั้นคะยอให้เด็กท่องจำเนื้อหาโดยไม่ใส่ใจพื้นฐานของเด็กแต่ละคนเท่าที่ควร ‘ทักษะการโค้ช’ จากโครงการฯ ทำให้ครูกิ๊ฟมีมุมมองใหม่ต่อเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม และหันไปทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชนมากขึ้น...

หันหลังให้กับไม้เรียว ด้วยจิตวิทยาเชิงบวกในห้องเรียน

“ถ้าไม่ทำการบ้าน จะโดนตี” “ถ้าไม่อ่านหนังสือ เธอจะสอบตก” “ถ้าทำคะแนนไม่ดี เธอจะไปแข่งกับใครได้” “ถ้าทำงานไม่เสร็จ ห้ามออกไปเล่นเด็ดขาด นั่งทำไปจนกว่าจะเสร็จ” การเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศเหล่านี้ นอกจากไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกกับการเรียนหรือเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ซ้ำร้าย แนวทางเช่นนี้อาจให้ผลในทางตรงข้าม และลงเอยด้วยความกลัว ความกังวลของผู้เรียน จากการที่ชีวิตถูกฝึกว่าห้ามผิดพลาดตลอดเวลา เช่นนี้แล้ว ห้องเรียนจึงไม่ใช่สถานที่อันพึงปรารถนาอีกต่อไป ‘ห้องเรียนจิตวิทยาเชิงบวก’ โครงการบัวหลวงก่อการครู โดยการดูแลของ...

‘กล้าที่จะไม่สอน’ สร้างห้องเรียนที่ปราศจากความกลัว

“เสรีภาพไม่ใช่การตามใจ และวินัยที่เกิดจากการใช้อำนาจบังคับก็ไม่ยั่งยืน”  คำพูดของ พฤหัส พหลกุลบุตร หรือ ‘อาจารย์ก๋วย’ จากมูลนิธิสื่อชาวบ้าน (กลุ่มละครมะขามป้อม) ได้กล่าวไว้บนเวทีการเรียนรู้ ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 ณ จังหวัดอุดรธานี ได้สะท้อนให้เห็นถึงหัวใจสำคัญของปัญหาในระบบการศึกษาไทยมาตลอด หัวใจที่ทำให้เห็นว่าการศึกษาที่ดีไม่ควรเกิดจากการบีบบังคับ และห้องเรียนที่ดีควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก  พฤหัส...