Korkankru

บัวหลวงก่อการครู

ถอดรหัส ADDIE Model: ออกแบบสื่ออย่างไรให้โดนใจผู้เรียน

“โครงการบัวหลวงก่อการครู” ได้มีโอกาสลงพื้นที่จัดการอบรม ‘การผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้’ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ให้กับครูในหลายระดับชั้นและจากหลากหลายภาควิชา  การอบรมในครั้งเริ่มต้นจากการแบ่งปันประสบการณ์ ปัญหาที่พบในการเรียนการสอน และรูปแบบการเรียนการสอนที่ตนเองสนใจ โดยหลังจากการแบ่งปันประสบการณ์กันแล้ว คุณครูจำนวนมากพบปัญหาสำคัญร่วมกันคือ การออกแบบสื่อการเรียนการสอน ถึงแม้ว่านักเรียนสมัยนี้จะมีความชื่นชอบการใช้สื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็ตาม ทว่าสื่อสำหรับการเรียนการสอนที่จะช่วยให้นักเรียนมีสมาธิจดจ่อต่อการเรียนในวิชาต่าง ๆ กลับยังไม่สามารถดึงดูดความสนใจได้มากพอ คุณครูหลายคนจึงมีความคิดที่จะปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้ ‘โดนใจ’ มากขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิ...

รู้จัก 6 สื่อดิจิทัล ในโลกแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสื่ออย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนมากขึ้น หนึ่งในสิ่งที่ผู้สอนสามารถนำมาปรับใช้กับห้องเรียนของตัวเองได้ คือ ‘สื่อดิจิทัล’ ที่จะช่วยบันทึกผลข้อมูลการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นตัวช่วยในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ‘อาจารย์ขวัญ’ ผศ. ดร.ธิดา ทับพันธุ์ และ ‘อาจารย์อ๋อม’ ผศ. ดร.อัครา เมธาสุข ชวนทำความรู้จัก 6 สื่อดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและตรงตามความต้องการของผู้เรียน ดังนี้...

Montessori: กระตุ้นพัฒนาการเด็กผ่านสื่อการเรียนรู้ที่จับต้องได้

โครงการบัวหลวงก่อการครู ได้มีโอกาสลงพื้นที่จัดการอบรม ‘การผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้’ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ให้กับครูในหลายระดับชั้นและจากหลากหลายวิชา โดยเริ่มต้นจากการแบ่งปันประสบการณ์และปัญหาที่พบในการเรียนการสอน และรูปแบบของสื่อการเรียนการสอนที่ตนเองสนใจ ครูจำนวนมากพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของเด็กนักเรียนต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียน และนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด 19 เป็นต้นมา เรียนออนไลน์และอุปกรณ์สื่อสารกลายมาเป็นส่วนสำคัญในการเรียนการสอนในปัจจุบัน แต่จะต้องควบคุมไปกับพัฒนาการการเรียนรู้ตามช่วงวัย คุณครูหลายคนจึงมีความคิดจะปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมผ่านการใช้งานสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิ จับต้องได้ เข้าใจง่าย และสนุกสนานต่อการเรียนรู้  ภายหลังจากการที่ครูจำนวนมากได้แบ่งปันประสบการณ์และปัญหาในการจัดการชั้นเรียน วิทยากรที่ประกอบไปด้วย ผศ....

Learning Assessment: ประเมินผู้เรียนให้สอดคล้องกับนิเวศการเรียนรู้

การประเมินผู้เรียนเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ องค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินจะเป็นตัวช่วยสำคัญให้ผู้สอนสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างถูกจุด พร้อมไปกับจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน ในกระบวนการประเมินการเรียนรู้ (Learning Assessment) สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นประการแรกคือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ครูตั้งไว้หรือไม่ โดยมองไปถึงเป้าหมายปลายทางเป็นสำคัญ ขณะเดียวกัน การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ (Learning Experience) หรือการออกแบบกิจกรรมทางการเรียนรู้ ก็นับเป็นองค์ประกอบที่จะนำพาไปสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีด้วยเช่นกัน แม้ว่าการประเมินการเรียนรู้จะไม่ได้เป็นปัจจัยต้นทางที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ของเด็ก แต่ก็นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยยืนยันให้แน่ใจได้ว่า ผู้สอนได้นำพาผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้ที่ถูกทิศทาง ...

10 ทักษะแห่งปี 2025 และ Soft Skills 7 ด้าน
โรงเรียนต้องมอบทักษะที่หลากหลายในโลกที่พลิกผัน

เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน การพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจึงส่งผลอย่างมากต่อชีวิตของพวกเรา เราอยู่ในโลกที่หมุนเร็วกว่าแต่ก่อนถึง 20 เท่า และจะหมุนเร็วขึ้นทุกนาทีในอนาคต ปัญหาที่ตามมาจึงมีหลายประการ หนึ่งในนั้นคือปัญหาการสูญเสียทุนมนุษย์ (Human Capital Loss) ที่เป็นผลสืบเนื่องจากระบบการศึกษาที่ปรับตัวไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับการเตรียมกำลังคนในอนาคตให้มีทักษะและองค์ความรู้ที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับความต้องการอย่างแท้จริง ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอมุมมองการจัดการศึกษาภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันว่า โรงเรียนต้องมอบทักษะจำเป็นให้แก่เด็กๆ โดยก่อนหน้านี้ในแวดวงการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมต่างพูดกันถึงทักษะแห่งศตวรรษที่...

กิจกรรม ‘จิ๊กซอว์’ สานพลัง สร้างปฏิสัมพันธ์ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

แวดวงการศึกษาในปัจจุบันต่างให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะให้กับผู้เรียน รวมถึงการวางเป้าหมายสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสุขและมีความหมายต่อผู้เรียนอย่างยั่งยืน ภายใต้ความท้าทายที่สถานศึกษาแต่ละแห่งมีปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกัน การทำงานเพื่อขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับสถานศึกษา  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมองเห็นความเชื่อมโยงในมิติต่าง ๆ ทั้งระบบ  รวมถึงคำนึงถึงบริบทแวดล้อม ทรัพยากร และแหล่งเรียนรู้บนฐานทุนชุมชนตนเอง การสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ด้วยการเรียนการสอนแบบ Active Learning จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์กันได้มากขึ้น ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมอง ไปจนถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ...

‘Fish Bank’ สนุกกับการเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง สำรวจทรัพยากรผ่านบอร์ดเกม

ถ้าพูดถึงเกมที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มนุษย์จะสามารถประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาได้ คงหนีไม่พ้น ‘เกมกระดาน’ หรือ บอร์ดเกม (Board Game) ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานควบคู่มากับอารยธรรมมนุษย์ บอร์ดเกมที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุราว 4,600 ปี ถือกำเนิดที่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย นอกเหนือจากความสนุกและเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เกมเก่าแก่นี้ไม่สาบสูญไป อาจเป็นเพราะแก่นของบอร์ดเกม คือ การจำลองสถานการณ์ต่างๆ ให้เราได้วางแผนและใช้ความคิด อาจกล่าวได้ว่าบอร์ดเกมสามารถถอดเป็นบทเรียนและนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิดา...

เช็กอิน-เช็กใจ ชวนสำรวจความรู้สึกและเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ไปด้วยกัน

“วันนี้นักเรียนรู้สึกอย่างไร” คำถามง่าย ๆ ที่เปลี่ยนบรรยากาศห้องเรียนจากความเจื้อยแจ้ว ไม่ว่าจะเป็นช่วงแรกของการเปิดเทอมหรือระหว่างการเปลี่ยนคาบเรียน สู่การเตรียมความพร้อมที่จะเปิดรับเนื้อหาการเรียนใหม่ ๆ ผ่านการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนมายังผู้สอน กิจกรรม ‘เช็กอิน’ (Check-in) คืออีกหนึ่งแนวทางที่จะพาครูและนักเรียนร่วมกันสำรวจสภาวะทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พร้อมเปิดพื้นที่แห่งการรับฟัง และผสานสายสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง สิ่งสำคัญสำหรับครูจึงไม่ใช่เพียงการรับฟังสิ่งที่นักเรียนพูด แต่รวมถึงการสังเกตน้ำเสียง สีหน้า และท่าทางควบคู่กัน เพื่อสำรวจความพร้อมของผู้เรียน ก่อนที่จะปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาวะของเด็ก...

7 หลักการออกแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning

มีคำกล่าวอยู่ว่า ‘การศึกษา’ กับ ‘การเรียนรู้’ นั้นแตกต่างกัน คุณสามารถศึกษาวิธีการปลูกข้าวโพดได้จากการค้นหาในอินเทอร์เน็ตหรือซื้อหนังสือมาอ่าน แต่ถ้าคุณอยากเรียนรู้วิธีการปลูกข้าวโพดก็ต้องลงมือทำด้วยตนเองเท่านั้น  การศึกษาข้อมูลผ่านการอ่านจะช่วยเสริมสร้างความทรงจำให้กับคุณ แต่การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์แล้ว ยังช่วยให้เกิดกระบวนการคิดการแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งการเรียนรู้จากประสบการณ์เช่นนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) อันเป็นความรู้ที่คงทนยิ่งกว่า ในระยะที่ผ่านมา ระบบการเรียนการสอนในประเทศไทยอาจให้น้ำหนักไปที่ ‘การศึกษา’ เสียมากกว่า...

การโค้ชเพื่อครู เติมความฟิตให้ชีวิตการสอน

หากพูดถึงผู้ฝึกสอนหรือ ‘โค้ช’ เรามักนึกถึงบุคคลที่ยืนอยู่ข้างสนาม ขมวดคิ้ว กอดอก ติวเข้มนักกีฬาในช่วงพักเบรก และเชื่อมั่นว่า โค้ชย่อมต้องเป็นคนที่มองเกมขาด เข้าใจสถานการณ์ และรู้จักลูกทีมของตัวเองดีที่สุด แต่คุณสมบัติเหล่านั้น ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ภายในวงการกีฬา เพราะหากวิชาชีพอื่นมีทักษะของการเป็นโค้ช การขับเคลื่อนองค์กรหรือกระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็จะดำเนินไปในทิศทางบวก ดังนั้น หากครูในรั้วโรงเรียนเปรียบเสมือนโค้ชคนหนึ่งที่เข้าใจนักเรียนและมีกลวิธีดึงศักยภาพของเด็กออกมาอย่างตรงจุด ผู้เรียนย่อมได้รับแรงบันดาลใจหรือแนวทางที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตให้กับตนเองได้ ห้องเรียนวิชาทักษะการโค้ชเพื่อครู (Coaching Skills for...