Korkankru

learning tools

การอ่านเปลี่ยนโลก

แม้จะผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 ที่เด็กต้องกักตัวเรียนหนังสืออยู่บ้านมาได้หลายปีแล้ว แต่ผลกระทบจากช่วง 2 ปีนั้นยังไม่หายไปไหน คุณครูจากโครงการโรงเรียนปล่อยแสงหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หลังกลับมาเรียนที่โรงเรียนอีกครั้ง เด็กหลายคนมีปัญหาเรื่องการอ่านเขียน หลายคนมีพัฒนาการล่าช้า และหลายคนไม่สนใจการเรียนรู้เหมือนเดิมเราจึงมาคุยกับพี่เจ-สุดใจ พรหมเกิด ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน เพื่อหาคำตอบว่าผลกระทบที่สถานการณ์โควิด-19 เหลือทิ้งไว้ให้แก่เด็กนั้นร้ายแรงมากน้อยแค่ไหน และการอ่านจะช่วยฟื้นคืนการเรียนรู้ที่หล่นหายไปได้อย่างไร 2 ปีที่หล่นหาย จากเด็กที่เคยเรียนอยู่ชั้นอนุบาล 1 ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน 2...

ชวนเด็กให้อ่านได้ และเขียนดี ไม่ใช่เรื่องยาก

เมื่อการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคุณครูในยุคหลังโควิด-19 โครงการโรงเรียนปล่อยแสงจึงร่วมกับมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ชวนคุณครูมาเรียนรู้ร่วมกับวิทยากรด้านการอ่านเขียนที่มีชื่อเสียงสองท่าน ว่ากิจกรรมแบบไหนที่จะทำให้การฝึกอ่านฝึกเขียนกลายเป็นเรื่องสนุก และฟื้นทักษะทางภาษาที่หล่นหายไป เพื่อให้เด็กกลับมาตามทันพัฒนาการที่ควรจะเป็นได้ในเร็ววัน  ครูอ่านให้ฟัง เด็กก็อ่านได้  “ปกติการสอนของคุณครูจะตั้งเป้าไว้เลยว่าจะสอนอะไรให้แก่เด็ก แล้วครูก็เลือกหนังสือที่ถูกใจครู มาเล่าให้เขาฟัง แต่ช่วงเวลาแห่งการอ่านก็ควรจะสนุกสำหรับเด็กสิ  วันนี้เราเลยเริ่มจากชวนให้คุณครูคิดว่า เด็กชอบอะไร แล้วจะเลือกหนังสือที่ตรงกับความชอบของเขาได้ไหม” ครู “แต้ว” ระพีพรรณ พัฒนาเวช นักเขียนนิทานเด็ก วิทยากรของโครงการเล่าว่า...

ถอดรหัส ADDIE Model: ออกแบบสื่ออย่างไรให้โดนใจผู้เรียน

“โครงการบัวหลวงก่อการครู” ได้มีโอกาสลงพื้นที่จัดการอบรม ‘การผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้’ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ให้กับครูในหลายระดับชั้นและจากหลากหลายภาควิชา  การอบรมในครั้งเริ่มต้นจากการแบ่งปันประสบการณ์ ปัญหาที่พบในการเรียนการสอน และรูปแบบการเรียนการสอนที่ตนเองสนใจ โดยหลังจากการแบ่งปันประสบการณ์กันแล้ว คุณครูจำนวนมากพบปัญหาสำคัญร่วมกันคือ การออกแบบสื่อการเรียนการสอน ถึงแม้ว่านักเรียนสมัยนี้จะมีความชื่นชอบการใช้สื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็ตาม ทว่าสื่อสำหรับการเรียนการสอนที่จะช่วยให้นักเรียนมีสมาธิจดจ่อต่อการเรียนในวิชาต่าง ๆ กลับยังไม่สามารถดึงดูดความสนใจได้มากพอ คุณครูหลายคนจึงมีความคิดที่จะปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้ ‘โดนใจ’ มากขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิ...

รู้จัก 6 สื่อดิจิทัล ในโลกแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสื่ออย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนมากขึ้น หนึ่งในสิ่งที่ผู้สอนสามารถนำมาปรับใช้กับห้องเรียนของตัวเองได้ คือ ‘สื่อดิจิทัล’ ที่จะช่วยบันทึกผลข้อมูลการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นตัวช่วยในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ‘อาจารย์ขวัญ’ ผศ. ดร.ธิดา ทับพันธุ์ และ ‘อาจารย์อ๋อม’ ผศ. ดร.อัครา เมธาสุข ชวนทำความรู้จัก 6 สื่อดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและตรงตามความต้องการของผู้เรียน ดังนี้...

Montessori: กระตุ้นพัฒนาการเด็กผ่านสื่อการเรียนรู้ที่จับต้องได้

โครงการบัวหลวงก่อการครู ได้มีโอกาสลงพื้นที่จัดการอบรม ‘การผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้’ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ให้กับครูในหลายระดับชั้นและจากหลากหลายวิชา โดยเริ่มต้นจากการแบ่งปันประสบการณ์และปัญหาที่พบในการเรียนการสอน และรูปแบบของสื่อการเรียนการสอนที่ตนเองสนใจ ครูจำนวนมากพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของเด็กนักเรียนต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียน และนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด 19 เป็นต้นมา เรียนออนไลน์และอุปกรณ์สื่อสารกลายมาเป็นส่วนสำคัญในการเรียนการสอนในปัจจุบัน แต่จะต้องควบคุมไปกับพัฒนาการการเรียนรู้ตามช่วงวัย คุณครูหลายคนจึงมีความคิดจะปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมผ่านการใช้งานสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิ จับต้องได้ เข้าใจง่าย และสนุกสนานต่อการเรียนรู้  ภายหลังจากการที่ครูจำนวนมากได้แบ่งปันประสบการณ์และปัญหาในการจัดการชั้นเรียน วิทยากรที่ประกอบไปด้วย ผศ....

Learning Assessment: ประเมินผู้เรียนให้สอดคล้องกับนิเวศการเรียนรู้

การประเมินผู้เรียนเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ องค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินจะเป็นตัวช่วยสำคัญให้ผู้สอนสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างถูกจุด พร้อมไปกับจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน ในกระบวนการประเมินการเรียนรู้ (Learning Assessment) สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นประการแรกคือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ครูตั้งไว้หรือไม่ โดยมองไปถึงเป้าหมายปลายทางเป็นสำคัญ ขณะเดียวกัน การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ (Learning Experience) หรือการออกแบบกิจกรรมทางการเรียนรู้ ก็นับเป็นองค์ประกอบที่จะนำพาไปสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีด้วยเช่นกัน แม้ว่าการประเมินการเรียนรู้จะไม่ได้เป็นปัจจัยต้นทางที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ของเด็ก แต่ก็นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยยืนยันให้แน่ใจได้ว่า ผู้สอนได้นำพาผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้ที่ถูกทิศทาง ...

กิจกรรม ‘จิ๊กซอว์’ สานพลัง สร้างปฏิสัมพันธ์ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

แวดวงการศึกษาในปัจจุบันต่างให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะให้กับผู้เรียน รวมถึงการวางเป้าหมายสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสุขและมีความหมายต่อผู้เรียนอย่างยั่งยืน ภายใต้ความท้าทายที่สถานศึกษาแต่ละแห่งมีปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกัน การทำงานเพื่อขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับสถานศึกษา  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมองเห็นความเชื่อมโยงในมิติต่าง ๆ ทั้งระบบ  รวมถึงคำนึงถึงบริบทแวดล้อม ทรัพยากร และแหล่งเรียนรู้บนฐานทุนชุมชนตนเอง การสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ด้วยการเรียนการสอนแบบ Active Learning จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์กันได้มากขึ้น ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมอง ไปจนถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ...

เช็กอิน-เช็กใจ ชวนสำรวจความรู้สึกและเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ไปด้วยกัน

“วันนี้นักเรียนรู้สึกอย่างไร” คำถามง่าย ๆ ที่เปลี่ยนบรรยากาศห้องเรียนจากความเจื้อยแจ้ว ไม่ว่าจะเป็นช่วงแรกของการเปิดเทอมหรือระหว่างการเปลี่ยนคาบเรียน สู่การเตรียมความพร้อมที่จะเปิดรับเนื้อหาการเรียนใหม่ ๆ ผ่านการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนมายังผู้สอน กิจกรรม ‘เช็กอิน’ (Check-in) คืออีกหนึ่งแนวทางที่จะพาครูและนักเรียนร่วมกันสำรวจสภาวะทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พร้อมเปิดพื้นที่แห่งการรับฟัง และผสานสายสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง สิ่งสำคัญสำหรับครูจึงไม่ใช่เพียงการรับฟังสิ่งที่นักเรียนพูด แต่รวมถึงการสังเกตน้ำเสียง สีหน้า และท่าทางควบคู่กัน เพื่อสำรวจความพร้อมของผู้เรียน ก่อนที่จะปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาวะของเด็ก...

เนรมิตห้องเรียนสร้างสรรค์ ด้วยนิทานและกิจกรรมสร้างปฏิสัมพันธ์

‘นิทาน’ คือเรื่องราวเสริมสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ สามารถเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาสมองและสติปัญญา เนื่องจากขณะที่เด็กๆ ตั้งอกตั้งใจฟังนิทาน จะต้องใช้ทั้งความคิด จินตนาการ รวมไปถึงการใช้สมาธิจดจ่อ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้งสิ้น หนังสือนิทานสำหรับเด็กจำเป็นต้องมีการเล่าเรื่องที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และมีภาพประกอบโดดเด่น สิ่งที่หยิบจับมาเล่าอาจเป็นเรื่องใกล้ตัว การเล่าเรื่องต้องใช้คำน้อยแต่สื่อความหมายชัดเจน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยของเด็กอีกด้วย เลือกนิทานให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงอายุ ช่วงวัยที่มีพัฒนาการสูงสุดในชีวิตทุกด้านอยู่ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 ปี หากได้รับการกระตุ้น...

หนึ่งคำตอบ ล้านคำถาม ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ที่เด็กมีส่วนร่วมออกแบบได้

“ในวิชาวิทยาศาสตร์ เด็กจะต้องลงมือทำเอง ครูจะไม่บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จะเป็นคนคอยชี้แนะ ให้เด็กออกแบบการทดลองว่าเขาจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร” วไลพรรณ ไชยเวช ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองแวง จังหวัดอุดรธานี เล่าถึงการสร้าง ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ที่กระตุ้นให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบ อันสอดคล้องกับหลักการ Active Learning ครูวไลพรรณบรรจุเป็นครูเมื่อปี 2544 นับถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา 22...