Korkankru

กิจกรรมที่ผ่านมา

เนรมิตลานโล่งให้กลายเป็นพื้นที่โชว์ของ ณ ลานเพลิน Play & Learn จากโรงเรียนบ้านน้อย”ปรึกอุทิศ”

ผ่านพ้นปีที่ 2 ของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) ไปเป็นที่เรียบร้อย โดยในปีนี้ทางโครงการฯ ส่งเสริมให้ผู้คนภายในนิเวศการเรียนรู้ทั้ง ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร และชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่ของตน ผ่านการทำโปรเจกต์ที่ทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของการเรียนรู้อันมีคุณค่าและความหมาย ผ่านการคิด การลงมือทำด้วยตนเอง นับว่าเป็นการทลายกำแพงการเรียนรู้ให้ขยับขยายออกนอกรั้วโรงเรียน โดยทางโรงเรียนบ้านน้อย"ปรึกอุทิศ"...

สายธารแห่งชีวิตสู่การเรียนรู้ที่มีความสุข แรงบันดาลจากโรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศ

ยินดีต้อนรับทุกท่านที่กำลังเดินทางเข้าร่วมงาน… เสียงเรียกเชิญชวนเครือข่ายเข้าสู่บรรยากาศของงาน “ALIVE SPACE : พื้นที่มีชีวิต” 2 ปี โรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศ ภายใต้โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) เปิดภาพสายธารแห่งการเปลี่ยนแปลง เรียงร้อยด้วยเรื่องราวที่ผลิบาน และความร่วมมือจากองคาพยพในระบบนิเวศการเรียนรู้ ทำให้โรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศแห่งนี้อุดมสมบูรณ์และเกื้อกูลกันอย่างลงตัว …..ใบหน้าของครูที่อิ่มเอม เต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวแห่งความหวังเสียงของนักเรียนที่ต้อนรับขับสู้ด้วยความภูมิใจ...

กุญแจสู่ประตูแห่งความหวังของการศึกษาไทย การปลดล็อกจากโรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)

ครบรอบ 2 ปีของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) กับ 5 โรงเรียนนำร่อง ได้จัดเวทีเครือข่าย แสดงพลังสื่อสารสังคม สร้างการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของคนในชุมชน เพื่อทบทวนเส้นทางห้องเรียนที่เปลี่ยนไป เครื่องมือที่เชื่อมให้เกิดห้องเรียนแห่งความรัก รวมทั้งความท้าทายที่แต่ละโรงเรียนได้ก้าวข้าม ล้วนเป็นแรงบันดาลใจที่จะขยายสู่สังคมการศึกษาไทย ซึ่งเวทีแรก ประเดิมด้วย โรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)...

การโค้ชเพื่อครู เติมความฟิตให้ชีวิตการสอน

หากพูดถึงผู้ฝึกสอนหรือ ‘โค้ช’ เรามักนึกถึงบุคคลที่ยืนอยู่ข้างสนาม ขมวดคิ้ว กอดอก ติวเข้มนักกีฬาในช่วงพักเบรก และเชื่อมั่นว่า โค้ชย่อมต้องเป็นคนที่มองเกมขาด เข้าใจสถานการณ์ และรู้จักลูกทีมของตัวเองดีที่สุด แต่คุณสมบัติเหล่านั้น ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ภายในวงการกีฬา เพราะหากวิชาชีพอื่นมีทักษะของการเป็นโค้ช การขับเคลื่อนองค์กรหรือกระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็จะดำเนินไปในทิศทางบวก ดังนั้น หากครูในรั้วโรงเรียนเปรียบเสมือนโค้ชคนหนึ่งที่เข้าใจนักเรียนและมีกลวิธีดึงศักยภาพของเด็กออกมาอย่างตรงจุด ผู้เรียนย่อมได้รับแรงบันดาลใจหรือแนวทางที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตให้กับตนเองได้ ห้องเรียนวิชาทักษะการโค้ชเพื่อครู (Coaching Skills for...

‘ห้องเรียนแห่งรัก’ รู้จักตัวตน รู้จักนักเรียน ควบคู่กับพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้

‘ความรัก’ อาจเป็นของแสลงสำหรับผู้ที่พยายามจะนิยาม บางครั้งยังเป็นไม้เบื่อไม้เมากับความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ เพราะในนามของความปรารถนาดี ครูอาจเป็นคนใจร้ายในสายตาของนักเรียนโดยไม่รู้ตัว ครั้นจะแยกขาดความรักออกจากห้องเรียน ก็อาจทำให้บรรยากาศในรั้วโรงเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ แต่ความรักจะเบ่งบานขึ้นได้จำเป็นต้องเริ่มจากการทบทวนใคร่ครวญตนเองของผู้สอน เพื่อนำไปสู่การสร้างบทสนทนาเชิงบวกในห้องเรียน พร้อมกับดูแลและโอบอุ้มผู้เรียนทุกคนอย่างทั่วถึง ‘น้อง’ ธนัญธร เปรมใจชื่น ผู้อำนวยการสถาบัน Seven Presents และหนึ่งในทีมกระบวนกร ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ ชวนครูแต่ละคนมาเปิดใจเรียนรู้วิชา ‘ห้องเรียนแห่งรัก’ เครื่องมือสะท้อนตัวตนและสร้างสรรค์พื้นที่ของความสุข...

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง : สร้าง “นิเวศการเรียนรู้” สู่ห้องเรียนที่มีความสุขและมีความหมาย

หากต้องการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ต้องเริ่มต้นที่ใคร? คำตอบแรกที่ขึ้นมาในหัวของแต่ละท่านอาจแตกต่างกัน บ้างอาจตอบว่าต้องเริ่มต้นที่ครู บ้างอาจตอบว่าคงต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงจากระบบก่อน ทุกท่านอาจลองเก็บคำตอบนั้นไว้ในใจ เพราะในบทความนี้จะพาไปชมนิทรรศการจากโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง ณ งาน บัวหลวงก่อการครู: เวทีเบิ่งแงงการศึกษาอุดรบ้านเฮา จ.อุดรธานี ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นิทรรศการสะท้อนเสียงของ...

ฟังอารมณ์ ถามความรู้สึก ทักษะการโค้ชเพื่อดูแลใจผู้เรียน โรงเรียนสุจิปุลิ

ปัญหาที่เด็กประสบพบเจอนั้นมีมากมาย ทะเลาะกับเพื่อนกับแฟน พ่อแม่หย่าร้าง ไม่มีเงินมาโรงเรียน หรือเรียนได้ไม่ดี บางครั้งก็ไม่ใช่แค่เรื่องวิชาการหรือสมอง แต่มีมิติด้านจิตวิทยาแฝงอยู่ ผู้เรียนอาจรู้สึกด้อย เปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นตลอดตัวเอง มองไม่เห็นศักยภาพที่ตนมี หลากหลายและกว้างใหญ่กว่าเนื้อหาที่ครูสอน คือชีวิตจริงในทุกวันของผู้เรียน  ทำอย่างไรครูจะเท่าทันและมองเห็นมิติต่างๆ ในชีวิตของผู้เรียนได้มากขึ้น  เพื่อตอบคำถามนี้ โครงการโรงเรียนปล่อยแสงชวนอาจารย์ “เปิ้ล” - อธิษฐาน์ คงทรัพย์ และอาจารย์...

นพลักษณ์ รู้ลักษณ์ รู้ตน โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม

“บนโต๊ะข้างๆ มีภาพที่วางเรียงไว้ ในรอบแรกขอเชิญอาจารย์ทุกคนเลือกภาพที่แทนความเป็นตัวเรามากที่สุดมา 1 ใบ เลือกภาพที่สะท้อนถึงบุคลิกภาพหรือนิสัย ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากเป็น แล้วเราจะให้เล่าทีละคนว่าทำไมถึงเลือกรูปภาพนั้นมาแทนความเป็นตัวเอง” ครูผู้เข้าร่วมค่อยๆ เพ่งพินิจรูปภาพหลากหลายบนโต๊ะ ก่อนจะเลือกหยิบภาพที่ตรงใจที่สุด  บางคนเลือกภาพที่เหมือนมองจากมุมสูง สะท้อนความเป็นคนกล้าคิดกล้าทำ บางคนเลือกภาพวิวทิวทัศน์เพราะให้ความสำคัญกับความสบายใจ บางคนเลือกภาพเด็กหน้าตาสดใส เพราะอยากให้ทุกคนมีรอยยิ้มและความสุขร่วมกัน กิจกรรมรอบที่ 2 เปลี่ยนจากรูปภาพ เป็นการ์ดคำที่สื่อถึงตนเอง บางคนเลือกคำว่า...

ครูและนักเรียน เราคือมนุษย์ที่ผิดพลาด และเปลี่ยนแปลงได้เสมอ บทเรียนจาก “ครูศักดิ์” ครูฟิสิกส์ผู้ต้องรับบทครูฝ่ายกิจการนักเรียน

ชีวิตวัยเรียนสำหรับเด็กบางคนไม่ง่ายนัก การบ้านอาจไม่ใช่ภาระหนักหนาที่พวกเขาต้องแบกรับเสมอไป ปัญหาครอบครัว สิ่งเร้ารอบข้าง ความสับสนระหว่างวัย ฯลฯ หลายอย่างถาโถมเข้ามาพร้อมกันในช่วงวัยนี้  คงดีไม่น้อยหากโรงเรียนจะเป็นพื้นที่หนึ่งที่ช่วยให้การเติบโต เรียนรู้ และเข้าใจกับโลกใบนี้ง่ายขึ้นบ้าง “ครูศักดิ์” วีระศักดิ์ เวียงสมุทร ครูประจำวิชาฟิสิกส์ และหัวหน้าฝ่ายกิจการนักเรียน โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ กำลังสร้างพื้นที่เหล่านั้นให้กับนักเรียนของเขา พื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเรียนรู้ จุดเริ่มต้นการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนปล่อยแสงของครูศักดิ์ ไม่ใช่เพราะความสนใจส่วนตัว ทว่าเพราะได้ติดสอยห้อยตาม...

“ลอง เรียน รู้” เส้นทางสู่การค้นพบตัวเองของเด็กวัยเรียน (รู้)

ภายในงานเสวนา “ส่งเสียงถึง (ว่าที่) นายก: เรื่องมันเศร้าขอเล่านิดนึง” จัดโดย InsKru พื้นที่แบ่งปันไอเดียการเรียนรู้ของคุณครูทั่วประเทศ เมื่อเดือนเมษายน 2566 “โจ๊ก” - ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต ศึกษานิเทศก์ (ศน.) ชำนาญการ สะท้อนความคาดหวังของนักเรียนกับภาคส่วนอื่นๆ ว่าไม่สอดคล้องกัน “ถ้าถามว่าหลักสูตรควรจะเน้นอะไร ให้เลือกเน้นระหว่าง...