Korkankru

คลังความรู้

พลเมืองโลกอะไรก๊อน!? แค่สอนยังไม่ทันเลย

หน้าที่พลเมือง เป็นอะไรได้มากกว่าค่านิยม 12 ประการ? ชวนทุกท่านย้อนคิดเกี่ยวกับวิชาหน้าที่พลเมือง แนวคิดเบื้องหลังวิชา ตัวอย่างการออกแบบวิชา ผ่านมุมมองแขกรับเชิญ 4 ท่าน คุณไอติม (พริษฐ์ วัชรสินธุ) ครูทิว (ธนวรรธน์ สุวรรณปาล) ครูแนน (ปาริชาต ชัยวงษ์) ครูธัช (ธรัช...

เนรมิตลานโล่งให้กลายเป็นพื้นที่โชว์ของ ณ ลานเพลิน Play & Learn จากโรงเรียนบ้านน้อย”ปรึกอุทิศ”

ผ่านพ้นปีที่ 2 ของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) ไปเป็นที่เรียบร้อย โดยในปีนี้ทางโครงการฯ ส่งเสริมให้ผู้คนภายในนิเวศการเรียนรู้ทั้ง ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร และชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่ของตน ผ่านการทำโปรเจกต์ที่ทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของการเรียนรู้อันมีคุณค่าและความหมาย ผ่านการคิด การลงมือทำด้วยตนเอง นับว่าเป็นการทลายกำแพงการเรียนรู้ให้ขยับขยายออกนอกรั้วโรงเรียน โดยทางโรงเรียนบ้านน้อย"ปรึกอุทิศ"...

สายธารแห่งชีวิตสู่การเรียนรู้ที่มีความสุข แรงบันดาลจากโรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศ

ยินดีต้อนรับทุกท่านที่กำลังเดินทางเข้าร่วมงาน… เสียงเรียกเชิญชวนเครือข่ายเข้าสู่บรรยากาศของงาน “ALIVE SPACE : พื้นที่มีชีวิต” 2 ปี โรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศ ภายใต้โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) เปิดภาพสายธารแห่งการเปลี่ยนแปลง เรียงร้อยด้วยเรื่องราวที่ผลิบาน และความร่วมมือจากองคาพยพในระบบนิเวศการเรียนรู้ ทำให้โรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศแห่งนี้อุดมสมบูรณ์และเกื้อกูลกันอย่างลงตัว …..ใบหน้าของครูที่อิ่มเอม เต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวแห่งความหวังเสียงของนักเรียนที่ต้อนรับขับสู้ด้วยความภูมิใจ...

อัปเลเวลครูให้ทะลุข้อจำกัด ด้วยเครื่องมือพัฒนาการสอนใหม่ๆ ในตลาดวิชาที่ครูเลือกได้

ตลาดวิชาเป็นโมดูล 2 ที่โครงการโรงเรียนปล่อยแสงออกแบบไว้ในหลักสูตร เพราะหลังจากครูได้ผ่านการเยียวยา ฟื้นฟูพลังใจและความเชื่อมั่นในตัวเองจากโมดูล 1 “ครูคือมนุษย์” และยังขยายความเป็นไปได้ของการเรียนการสอนผ่านโมดูล “ครูคือกระบวนกร” แล้ว ครูก็อาจต้องการเครื่องมือใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพกว่าที่เคยรู้เคยใช้มาเดิมๆ เพื่อพลิกโฉมห้องเรียนตนเองให้เข้าสู่บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ แต่ความท้าทายคือครูแต่ละคน โรงเรียนแต่ละแห่ง ก็อาจมีโจทย์ที่ต้องการเครื่องมือแตกต่างกันไป โครงการโรงเรียนปล่อยแสงจึงใช้แนวคิดออกแบบหลักสูตรการเสริมสร้างศักยภาพในลักษณะ “ตลาดวิชา” เปิดให้ครูมองเห็นเครื่องมือหลากหลายที่อาจจุดประกายความคิด และตัดสินใจเลือกเข้าเรียนวิชาต่างๆ ที่ตนเองสนใจได้อิสระ...

10 ทักษะแห่งปี 2025 และ Soft Skills 7 ด้าน
โรงเรียนต้องมอบทักษะที่หลากหลายในโลกที่พลิกผัน

เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน การพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจึงส่งผลอย่างมากต่อชีวิตของพวกเรา เราอยู่ในโลกที่หมุนเร็วกว่าแต่ก่อนถึง 20 เท่า และจะหมุนเร็วขึ้นทุกนาทีในอนาคต ปัญหาที่ตามมาจึงมีหลายประการ หนึ่งในนั้นคือปัญหาการสูญเสียทุนมนุษย์ (Human Capital Loss) ที่เป็นผลสืบเนื่องจากระบบการศึกษาที่ปรับตัวไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับการเตรียมกำลังคนในอนาคตให้มีทักษะและองค์ความรู้ที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับความต้องการอย่างแท้จริง ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอมุมมองการจัดการศึกษาภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันว่า โรงเรียนต้องมอบทักษะจำเป็นให้แก่เด็กๆ โดยก่อนหน้านี้ในแวดวงการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมต่างพูดกันถึงทักษะแห่งศตวรรษที่...

การโค้ชเพื่อครู เติมความฟิตให้ชีวิตการสอน

หากพูดถึงผู้ฝึกสอนหรือ ‘โค้ช’ เรามักนึกถึงบุคคลที่ยืนอยู่ข้างสนาม ขมวดคิ้ว กอดอก ติวเข้มนักกีฬาในช่วงพักเบรก และเชื่อมั่นว่า โค้ชย่อมต้องเป็นคนที่มองเกมขาด เข้าใจสถานการณ์ และรู้จักลูกทีมของตัวเองดีที่สุด แต่คุณสมบัติเหล่านั้น ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ภายในวงการกีฬา เพราะหากวิชาชีพอื่นมีทักษะของการเป็นโค้ช การขับเคลื่อนองค์กรหรือกระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็จะดำเนินไปในทิศทางบวก ดังนั้น หากครูในรั้วโรงเรียนเปรียบเสมือนโค้ชคนหนึ่งที่เข้าใจนักเรียนและมีกลวิธีดึงศักยภาพของเด็กออกมาอย่างตรงจุด ผู้เรียนย่อมได้รับแรงบันดาลใจหรือแนวทางที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตให้กับตนเองได้ ห้องเรียนวิชาทักษะการโค้ชเพื่อครู (Coaching Skills for...

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง : สร้าง “นิเวศการเรียนรู้” สู่ห้องเรียนที่มีความสุขและมีความหมาย

หากต้องการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ต้องเริ่มต้นที่ใคร? คำตอบแรกที่ขึ้นมาในหัวของแต่ละท่านอาจแตกต่างกัน บ้างอาจตอบว่าต้องเริ่มต้นที่ครู บ้างอาจตอบว่าคงต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงจากระบบก่อน ทุกท่านอาจลองเก็บคำตอบนั้นไว้ในใจ เพราะในบทความนี้จะพาไปชมนิทรรศการจากโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง ณ งาน บัวหลวงก่อการครู: เวทีเบิ่งแงงการศึกษาอุดรบ้านเฮา จ.อุดรธานี ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นิทรรศการสะท้อนเสียงของ...

ฟังอารมณ์ ถามความรู้สึก ทักษะการโค้ชเพื่อดูแลใจผู้เรียน โรงเรียนสุจิปุลิ

ปัญหาที่เด็กประสบพบเจอนั้นมีมากมาย ทะเลาะกับเพื่อนกับแฟน พ่อแม่หย่าร้าง ไม่มีเงินมาโรงเรียน หรือเรียนได้ไม่ดี บางครั้งก็ไม่ใช่แค่เรื่องวิชาการหรือสมอง แต่มีมิติด้านจิตวิทยาแฝงอยู่ ผู้เรียนอาจรู้สึกด้อย เปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นตลอดตัวเอง มองไม่เห็นศักยภาพที่ตนมี หลากหลายและกว้างใหญ่กว่าเนื้อหาที่ครูสอน คือชีวิตจริงในทุกวันของผู้เรียน  ทำอย่างไรครูจะเท่าทันและมองเห็นมิติต่างๆ ในชีวิตของผู้เรียนได้มากขึ้น  เพื่อตอบคำถามนี้ โครงการโรงเรียนปล่อยแสงชวนอาจารย์ “เปิ้ล” - อธิษฐาน์ คงทรัพย์ และอาจารย์...

ฝึกวิชา-ค้นหาตัวเอง ไปกับ ‘นิเวศการเรียนรู้’ ในอ้อมกอดชุมชน

“ต้องให้เด็กหาตัวเองให้เจอ ให้เขารู้ว่าตัวเองชอบด้านไหน” หากการศึกษาคือเส้นทางของการสร้างอนาคต การค้นหาและส่งเสริมศักยภาพตนเองก็เป็นขั้นตอนสำคัญที่ขาดไปไม่ได้สำหรับ ชูศักรวิชญ์ แสนปัญญา หรือ ‘ผอ.ชู’ ผู้อำนวยการใจดีแห่งโรงเรียนบ้านกุดขนวน จังหวัดอุดรธานี โรงเรียนบ้านกุดขนวนเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมต้น นับเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะพื้นฐานที่จำเป็นหลาย ๆ อย่าง ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญของครูผู้สอนที่จะต้องออกแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแรงให้กับเด็กวัยกำลังโต และเป็นความท้าทายของผู้อำนวยการอย่าง ‘ผอ.ชู’ กว่า 11 ปีของการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ผอ.ชู...

หนึ่งคำตอบ ล้านคำถาม ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ที่เด็กมีส่วนร่วมออกแบบได้

“ในวิชาวิทยาศาสตร์ เด็กจะต้องลงมือทำเอง ครูจะไม่บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จะเป็นคนคอยชี้แนะ ให้เด็กออกแบบการทดลองว่าเขาจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร” วไลพรรณ ไชยเวช ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองแวง จังหวัดอุดรธานี เล่าถึงการสร้าง ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ที่กระตุ้นให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบ อันสอดคล้องกับหลักการ Active Learning ครูวไลพรรณบรรจุเป็นครูเมื่อปี 2544 นับถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา 22...