Korkankru

คลังความรู้

ฟังอารมณ์ ถามความรู้สึก ทักษะการโค้ชเพื่อดูแลใจผู้เรียน โรงเรียนสุจิปุลิ

ปัญหาที่เด็กประสบพบเจอนั้นมีมากมาย ทะเลาะกับเพื่อนกับแฟน พ่อแม่หย่าร้าง ไม่มีเงินมาโรงเรียน หรือเรียนได้ไม่ดี บางครั้งก็ไม่ใช่แค่เรื่องวิชาการหรือสมอง แต่มีมิติด้านจิตวิทยาแฝงอยู่ ผู้เรียนอาจรู้สึกด้อย เปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นตลอดตัวเอง มองไม่เห็นศักยภาพที่ตนมี หลากหลายและกว้างใหญ่กว่าเนื้อหาที่ครูสอน คือชีวิตจริงในทุกวันของผู้เรียน  ทำอย่างไรครูจะเท่าทันและมองเห็นมิติต่างๆ ในชีวิตของผู้เรียนได้มากขึ้น  เพื่อตอบคำถามนี้ โครงการโรงเรียนปล่อยแสงชวนอาจารย์ “เปิ้ล” - อธิษฐาน์ คงทรัพย์ และอาจารย์...

ฝึกวิชา-ค้นหาตัวเอง ไปกับ ‘นิเวศการเรียนรู้’ ในอ้อมกอดชุมชน

“ต้องให้เด็กหาตัวเองให้เจอ ให้เขารู้ว่าตัวเองชอบด้านไหน” หากการศึกษาคือเส้นทางของการสร้างอนาคต การค้นหาและส่งเสริมศักยภาพตนเองก็เป็นขั้นตอนสำคัญที่ขาดไปไม่ได้สำหรับ ชูศักรวิชญ์ แสนปัญญา หรือ ‘ผอ.ชู’ ผู้อำนวยการใจดีแห่งโรงเรียนบ้านกุดขนวน จังหวัดอุดรธานี โรงเรียนบ้านกุดขนวนเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมต้น นับเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะพื้นฐานที่จำเป็นหลาย ๆ อย่าง ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญของครูผู้สอนที่จะต้องออกแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแรงให้กับเด็กวัยกำลังโต และเป็นความท้าทายของผู้อำนวยการอย่าง ‘ผอ.ชู’ กว่า 11 ปีของการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ผอ.ชู...

หนึ่งคำตอบ ล้านคำถาม ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ที่เด็กมีส่วนร่วมออกแบบได้

“ในวิชาวิทยาศาสตร์ เด็กจะต้องลงมือทำเอง ครูจะไม่บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จะเป็นคนคอยชี้แนะ ให้เด็กออกแบบการทดลองว่าเขาจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร” วไลพรรณ ไชยเวช ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองแวง จังหวัดอุดรธานี เล่าถึงการสร้าง ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ที่กระตุ้นให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบ อันสอดคล้องกับหลักการ Active Learning ครูวไลพรรณบรรจุเป็นครูเมื่อปี 2544 นับถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา 22...

4 รูปแบบ ก้าวสู่ Team Teaching สอนอย่างไรให้เหมาะกับเด็กและห้องเรียน

จำได้ว่าครั้งหนึ่งสมัยเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้น เราสอบวิชาคณิตศาสตร์ผ่าน เพราะคุณครูฝึกสอนคนหนึ่งคอยเดินเข้ามาอธิบายซ้ำในจุดที่ไม่เข้าใจ เรารู้สึกมีความสุขในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และไม่ใช่แค่เราที่รู้สึก แต่เพื่อนหลายคนก็รู้สึกไม่ต่างกัน ราวกับว่าองค์ความรู้ที่โดยปกติจะหมุนวนอยู่แค่บริเวณหน้าชั้นเรียนได้แผ่ขยายทั่วถึงทั้งห้อง ยอมรับว่าช่วงนั้นบรรยากาศในชั้นเรียนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีความกังวลว่าจะตามเนื้อหาที่คุณครูสอนไม่ทัน หากไม่เข้าใจในจุดไหน ก็มีคุณครูฝึกสอนที่พร้อมจะเข้ามาอธิบายเพิ่มเติมในจุดนั้นอยู่เสมอ  จากการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม ๆ ที่หลายคนคุ้นชิน คือ มีคุณครูเป็นผู้บรรยายหน้าชั้น 1 คน ต่อนักเรียน 25-30 คน...

ครูตุ๊ก โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ กับทักษะ “โค้ชชิ่ง” ที่เปลี่ยนห้องเรียนให้ดีขึ้นด้วยการ “ฟัง”

“นักเรียนทุกคนทำความเคารพ” “สวัสดีค่ะ สวัสดีครับคุณครู” “นั่งลงได้” “ขอบคุณค่ะ ขอบคุณครับคุณครู” ผ่านไปประมาณ 50 นาที เราและเพื่อนร่วมชั้นเรียนก็พากันลุกขึ้นแล้วพูดบทสนทนาข้างต้นอีกครั้ง ในสมัยที่ “ห้องเรียน” หาใช่สถานที่ที่ส่งเสียงได้ตามใจชอบ กระทั่งการถามหรือต่อบทสนทนากับ “คุณครู” ก็ดูเป็นเรื่องยาก ระหว่างเวลา 50 นาทีนั้น พวกเราถูกบังคับให้รับบทเป็น “ผู้รับฟัง”...

การศึกษาไทยในอุ้งมือของรัฐ เมื่ออำนาจนิยมไม่ยอมให้คนตั้งคำถาม

“ตั้งแต่โดนคดีมา ขึ้นศาลไปไม่รู้แล้วกี่รอบแล้ว มีช่วงหนึ่งผมทำงานพาร์ทไทม์ก็ต้องลางานก็เสียงานเสียการ เสียสุขภาพจิตด้วย” คือปากคำของ “เท็น” - ยศสุนทร รัตตประดิษฐ์ นักศึกษาสาขา Media Arts and Design คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้มีคดีความติดตัว เพราะทำกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งถือเป็นสถานการณ์รุนแรงที่เกิดกับคนที่ยังไม่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ในประเทศที่มีค่านิยมว่านักเรียน/นักศึกษาควรมีหน้าที่เรียนอย่างเดียว อย่ายุ่งกับการเมือง...

ความเหลื่อมล้ำกับฝันที่ไม่เป็นจริงระบบการศึกษาที่คน “ไม่เท่ากัน”

“ก่อนหน้านี้หนูอยากทำงานมากกว่าเรียน กลัวพ่อแม่จะส่งเราไม่ไหว ตอน ม.1 ก็ถามพ่อแม่ว่าจะส่งหนูไหวเหรอ มันต้องเสียค่าเทอม พ่อแม่บอกว่าไหว ยังไงก็ไหว เราก็เลยเรียน แล้วก็ช่วยพ่อแม่ทำงานไปด้วย” “หนูฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง ฟีลแบบพิมรี่พายขายทุกอย่าง เพราะหนูชอบขาย ชอบพูดแต่หนูไม่สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ ต้องทำอาชีพที่เป็นลูกจ้างอย่างเดียว อย่างขายเสื้อผ้าถ้าเป็นกิจการใหญ่ มีหน้าร้าน ต้องเสียภาษี แบบนี้ไม่ได้” คำพูดแรกเป็นของเด็กชายอดทน อุดทา...

รวมเสียงสะท้อนปัญหา จากสายตาคุณครูปล่อยแสง พวกเขากำลังเผชิญโจทย์แบบไหนในระบบการศึกษาไทย

“งานเอกสารของครูเยอะเกินไป ครูมีหน้าที่สอนในห้อง แต่ต้องไปทำงานเรื่องการเงิน ครุภัณฑ์ด้วย” “การศึกษามุ่งเน้นไปทางคะแนน ให้เด็กสอบ ให้เด็กแข่งขันกัน แล้วเด็กเรียนไปมีความสุขไหม” “โรงเรียนขนาดเล็กๆ กำลังเผชิญกับเรื่องงบ เขาต้องกังวลตลอดเวลาว่าโรงเรียนจะถูกยุบเมื่อไหร่” เสียงสะท้อนเหล่านี้มาจากครูผู้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนปล่อยแสง เมื่อถูกถามถึงปัญหาในระบบการศึกษาไทยที่มองเห็นหรือกำลังเผชิญอยู่ บางเรื่องเป็นปัญหาของครู บางเรื่องของผู้เรียน ในขณะที่บางปัญหานั้นเป็นปัญหาเชิงระบบที่อาจส่งผลให้โรงเรียนต้องปิดตัวลง โครงการโรงเรียนปล่อยแสงมุ่งมั่นที่จะพัฒนานิเวศการเรียนรู้ ฟื้นคืนความสัมพันธ์ที่ดีในระบบโรงเรียน ทำให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนสามารถดูแลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการและเติบโตขึ้นอย่างมีความสุข มีความหมาย และมีคุณค่า...

“โรงเรียนของเราไม่น่าอยู่” ระบบการศึกษาที่สร้างทุกข์ให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน

“โรงเรียนของเราน่าอยู่ คุณครูใจดีทุกคน เด็กๆ ก็ไม่ซุกซน พวกเราทุกคนชอบมาโรงเรียน~”                 ข้อความที่อ่านแล้วหลายคนคงฮัมเป็นทำนองเพลงได้ ในฐานะเพลงเด็กที่โรงเรียนมักเปิดให้นักเรียนฟังอยู่บ่อยครั้ง                 เพลง “โรงเรียนของเราน่าอยู่” กลับมาเป็นที่พูดถึงในวงกว้างอีกครั้งช่วงประมาณ 2 ปีก่อน เมื่อนิสิตจุฬาฯ ทำวิทยานิพนธ์โดยหยิบยกปัญหาในโรงเรียนมาบอกเล่าผ่านเพลงดัดแปลงใหม่ในชื่อ “โรงเรียนเขาว่าน่าอยู่” มีเนื้อเพลงบางส่วนว่า “โรงเรียนเขาว่าน่าอยู่ แต่พวกหนูไม่ค่อยชอบไป มีคนทำร้ายจิตใจ...

“ค่านิยม” กับทิศทางการศึกษา เมื่อระบบก้าวไม่ทันความคิดของคนรุ่นใหม่

“ตั้งใจเรียนนะลูก โตขึ้นไปจะได้เป็นเจ้าคนนายคน” “เรียนจบสูงๆ จะได้ประสบความสำเร็จในชีวิต” คำสอนที่สะท้อนค่านิยมของสังคมไทยที่มีต่อระบบการศึกษา เชื่อว่าความสำเร็จทางการเรียนเป็นเครื่องมือช่วยเลื่อนระดับทางชนชั้น  “ลูกฉันจะมีโอกาสได้เป็นเจ้าคนนายคน” หรือมีความสำเร็จ หากพากเพียรเรียนหนังสือไปให้ได้สูงสุด                 แต่คำถามคือคำว่า “ค่านิยมทางการศึกษา” นั้นหมายความว่าอย่างไร แต่ละคนเข้าใจตรงกันไหม  ที่แน่ๆ คือมันมีอำนาจชี้นำให้เราตัดสินใจลงมือทำตามอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเชื่อว่าน่าจะถูกต้อง แต่ “ถูกต้อง” จริงๆ หรือไม่...