Korkankru

ก่อการครู

พลเมืองโลกอะไรก๊อน!? แค่สอนยังไม่ทันเลย

หน้าที่พลเมือง เป็นอะไรได้มากกว่าค่านิยม 12 ประการ? ชวนทุกท่านย้อนคิดเกี่ยวกับวิชาหน้าที่พลเมือง แนวคิดเบื้องหลังวิชา ตัวอย่างการออกแบบวิชา ผ่านมุมมองแขกรับเชิญ 4 ท่าน คุณไอติม (พริษฐ์ วัชรสินธุ) ครูทิว (ธนวรรธน์ สุวรรณปาล) ครูแนน (ปาริชาต ชัยวงษ์) ครูธัช (ธรัช...

พิเศษ ถาแหล่ง: โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคมฯ และ ‘ห้องเรียนระบบสอง’ แนวทางของครู-ชุมชน ป้องกันเด็กหล่นจากระบบการศึกษา

ออกจากโรงเรียนกลางคันปีละสิบกว่าราย ปัญหาใหญ่ของตำบลห้วยซ้อ โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิษก เป็นโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนประมาณ 620 คน เป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 280 คน ตอนปลาย 340 คน และมีบุคลากรโรงเรียน 42 คน ซึ่งความยากจนในพื้นที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับนักเรียนอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลตั้งแต่ปี 2558...

10 ทักษะแห่งปี 2025 และ Soft Skills 7 ด้าน
โรงเรียนต้องมอบทักษะที่หลากหลายในโลกที่พลิกผัน

เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน การพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจึงส่งผลอย่างมากต่อชีวิตของพวกเรา เราอยู่ในโลกที่หมุนเร็วกว่าแต่ก่อนถึง 20 เท่า และจะหมุนเร็วขึ้นทุกนาทีในอนาคต ปัญหาที่ตามมาจึงมีหลายประการ หนึ่งในนั้นคือปัญหาการสูญเสียทุนมนุษย์ (Human Capital Loss) ที่เป็นผลสืบเนื่องจากระบบการศึกษาที่ปรับตัวไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับการเตรียมกำลังคนในอนาคตให้มีทักษะและองค์ความรู้ที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับความต้องการอย่างแท้จริง ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอมุมมองการจัดการศึกษาภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันว่า โรงเรียนต้องมอบทักษะจำเป็นให้แก่เด็กๆ โดยก่อนหน้านี้ในแวดวงการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมต่างพูดกันถึงทักษะแห่งศตวรรษที่...

‘Fish Bank’ สนุกกับการเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง สำรวจทรัพยากรผ่านบอร์ดเกม

ถ้าพูดถึงเกมที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มนุษย์จะสามารถประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาได้ คงหนีไม่พ้น ‘เกมกระดาน’ หรือ บอร์ดเกม (Board Game) ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานควบคู่มากับอารยธรรมมนุษย์ บอร์ดเกมที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุราว 4,600 ปี ถือกำเนิดที่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย นอกเหนือจากความสนุกและเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เกมเก่าแก่นี้ไม่สาบสูญไป อาจเป็นเพราะแก่นของบอร์ดเกม คือ การจำลองสถานการณ์ต่างๆ ให้เราได้วางแผนและใช้ความคิด อาจกล่าวได้ว่าบอร์ดเกมสามารถถอดเป็นบทเรียนและนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิดา...

7 หลักการออกแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning

มีคำกล่าวอยู่ว่า ‘การศึกษา’ กับ ‘การเรียนรู้’ นั้นแตกต่างกัน คุณสามารถศึกษาวิธีการปลูกข้าวโพดได้จากการค้นหาในอินเทอร์เน็ตหรือซื้อหนังสือมาอ่าน แต่ถ้าคุณอยากเรียนรู้วิธีการปลูกข้าวโพดก็ต้องลงมือทำด้วยตนเองเท่านั้น  การศึกษาข้อมูลผ่านการอ่านจะช่วยเสริมสร้างความทรงจำให้กับคุณ แต่การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์แล้ว ยังช่วยให้เกิดกระบวนการคิดการแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งการเรียนรู้จากประสบการณ์เช่นนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) อันเป็นความรู้ที่คงทนยิ่งกว่า ในระยะที่ผ่านมา ระบบการเรียนการสอนในประเทศไทยอาจให้น้ำหนักไปที่ ‘การศึกษา’ เสียมากกว่า...

รับฟังด้วยหัวใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยการฟัง

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเติบโตสู่วัยรุ่น หลานสาววัย 10 ปี เริ่มปลีกตัวห่างจากครอบครัว ขีดเส้นแบ่งเขตส่วนตัวไม่ให้ใครกล้ำกราย ความเป็นห่วงที่เกิดขึ้นในใจของป้า จึงทำให้ พี่เช่ (ศุภจิต สิงหพงษ์) เริ่มสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากการฟังของตัวเอง เพื่อเป็นเพื่อน เป็นป้า เป็นที่ปรึกษา ในยามที่ต้องการ พี่เช่ ช่างภาพมือดีประจำโครงการ ถ่ายทอดเรื่องราวการฟังที่เปลี่ยนไป จากการสังเกตการณ์ในระหว่างวิชาทักษะการโค้ชเพื่อครู (หนึ่งในการอบรมโครงการก่อการครู...

นพลักษณ์ รู้ลักษณ์ รู้ตน โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม

“บนโต๊ะข้างๆ มีภาพที่วางเรียงไว้ ในรอบแรกขอเชิญอาจารย์ทุกคนเลือกภาพที่แทนความเป็นตัวเรามากที่สุดมา 1 ใบ เลือกภาพที่สะท้อนถึงบุคลิกภาพหรือนิสัย ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากเป็น แล้วเราจะให้เล่าทีละคนว่าทำไมถึงเลือกรูปภาพนั้นมาแทนความเป็นตัวเอง” ครูผู้เข้าร่วมค่อยๆ เพ่งพินิจรูปภาพหลากหลายบนโต๊ะ ก่อนจะเลือกหยิบภาพที่ตรงใจที่สุด  บางคนเลือกภาพที่เหมือนมองจากมุมสูง สะท้อนความเป็นคนกล้าคิดกล้าทำ บางคนเลือกภาพวิวทิวทัศน์เพราะให้ความสำคัญกับความสบายใจ บางคนเลือกภาพเด็กหน้าตาสดใส เพราะอยากให้ทุกคนมีรอยยิ้มและความสุขร่วมกัน กิจกรรมรอบที่ 2 เปลี่ยนจากรูปภาพ เป็นการ์ดคำที่สื่อถึงตนเอง บางคนเลือกคำว่า...

รวมเสียงสะท้อนปัญหา จากสายตาคุณครูปล่อยแสง พวกเขากำลังเผชิญโจทย์แบบไหนในระบบการศึกษาไทย

“งานเอกสารของครูเยอะเกินไป ครูมีหน้าที่สอนในห้อง แต่ต้องไปทำงานเรื่องการเงิน ครุภัณฑ์ด้วย” “การศึกษามุ่งเน้นไปทางคะแนน ให้เด็กสอบ ให้เด็กแข่งขันกัน แล้วเด็กเรียนไปมีความสุขไหม” “โรงเรียนขนาดเล็กๆ กำลังเผชิญกับเรื่องงบ เขาต้องกังวลตลอดเวลาว่าโรงเรียนจะถูกยุบเมื่อไหร่” เสียงสะท้อนเหล่านี้มาจากครูผู้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนปล่อยแสง เมื่อถูกถามถึงปัญหาในระบบการศึกษาไทยที่มองเห็นหรือกำลังเผชิญอยู่ บางเรื่องเป็นปัญหาของครู บางเรื่องของผู้เรียน ในขณะที่บางปัญหานั้นเป็นปัญหาเชิงระบบที่อาจส่งผลให้โรงเรียนต้องปิดตัวลง โครงการโรงเรียนปล่อยแสงมุ่งมั่นที่จะพัฒนานิเวศการเรียนรู้ ฟื้นคืนความสัมพันธ์ที่ดีในระบบโรงเรียน ทำให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนสามารถดูแลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการและเติบโตขึ้นอย่างมีความสุข มีความหมาย และมีคุณค่า...

ห้องเรียนเวทมนตร์ ออกแบบห้องเรียนให้สนุกด้วยเกมการเรียนรู้

“ตอนแรกที่เริ่มสอนวิชาภาษอังกฤษ เด็ก ๆ ไม่ค่อยกล้าพูด ไม่กล้าแสดงออกเลย”  นี่คือโจทย์แรกของการเป็นครู สำหรับ ธนพัฒน์ พิมพ์พรพิรมย์ หรือ ‘ครูน็อต’ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านนาดีสร้างบง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเล่าย้อนกลับไปในช่วงที่เขาได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยใหม่ ๆ เมื่อ 2 ปีก่อน “สิ่งที่เราเรียนจากมหาวิทยาลัยกับการทำงานจริงค่อนข้างแตกต่างกัน...

ประกาศผลการคัดเลือกครูแกนนำก่อการครู รุ่น 5

โครงการก่อการครูขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา เปลี่ยนแปลงการศึกษาไปกับพวกเรา  ‘โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้’โครงการฯ ขอประกาศรายชื่อครูผู้ผ่านการคัดเลือกในการเข้าร่วมขบวนการ ก่อการครู รุ่น 5 จำนวน 105 ท่าน 📌ตรวจสอบรายชื่อช่องทางอื่น google sheet : ประกาศผลการคัดเลือกครูแกนนำก่อการครูรุ่น 5 หากยังไม่ได้รับอีเมลประกาศผลและยืนยันการเข้าร่วม ติดต่อผู้ประสานงาน...