Korkankru

คลังความรู้

‘ป้าแฟ้บ’ สายซับของเหล่าเด็กๆ รักษ์เขาชะเมา

ทุกๆ กระบวนการเรียนรู้ของรักษ์เขาชะเมา ไม่ทางก็ทางหนึ่ง ความรู้เหล่านั้นต้องเชื่อมโยงกับชีวิต สังคม และระบบเชิงโครงสร้างอย่างเลี่ยงไม่ได้ “เราพาเขาไปเรียนรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์ การปลูกผัก และเขาจะต้องรู้ว่า ประเด็นของ #CPTPP จะไปส่งผลต่อเรื่องเมล็ดพันธุ์อย่างไร “เพราะฉะนั้น จากการปลูกผักในแปลง มันต้องไปกระทบเรื่องเชิงนโยบาย ซึ่งทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องควรได้เรียนรู้และเชื่อมโยงเป็น” ทุกซอกมุมของชุมชนทุ่งควายกิน เด็กๆ กลุ่มรักษ์เขาชะเมามีหรือจะไม่รู้จัก หรือถ้าถามว่า อาจารย์ปรีดี พนมยงค์,...

ค้นหาหน้าตาของความสุข

ความสุขมีหลากหลายนิยาม สุดแต่ความรู้สึกนึกคิดในโมงยามนั้น แต่สำหรับคนพังงา เนื้อในแห่งความสุขที่พวกเขาว่า คือการกำหนดชีวิตตนเองได้ในฐานะพลเมืองของจังหวัด คำตอบนี้มิได้เอ่ยขึ้นลอยๆ แต่อย่างใด แต่เป็นคำตอบที่ผ่านกระบวนค้นหา ผ่านปากคำของชุมชน ชาวบ้าน ลูกเด็กเล็กแดงในจังหวัดพังงา ความสุขในที่ดินทำกินที่มั่นคง ทรัยพากรท้องถิ่นที่ไม่ถูกล้างผลาญ รายได้ยังชีพที่เพียงพอ การศึกษาที่ออกแบบเองได้ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตสวัสดิรัฐและชุมชนที่มั่นคงความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินมีความรู้และเท่าทันภัยพิบัติ  ตามที่ได้ไล่เรียงมา คือความสุขที่คนพังงาปรารถนาในการสิทธิและส่วนร่วม เพื่อออกแบบชีวิต ชุมชน และจังหวัด ในฐานะที่เขาเหล่านี้ล้วนเป็นพลเมืองคนหนึ่ง’ ติดตามเรื่องราวและหลักสูตรการเรียนรู้...

ผู้นำที่แท้ มรรควิธีของเล่าจื๊อ ฉบับกะทัดรัด

ผู้นำที่แท้ มรรควิธีของเล่าจื๊อ เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร หนังสือฉบับกะทัดรัดที่นิยามความเป็นผู้นำ ปรัชญาและการเข้าถึงเต๋า รวมถึงวิถีอมตะเพื่อการเข้าถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

พังงาแห่งความสุข สุขที่คุณสัมผัสได้

ส่วนหนึ่งของบทเรียนการทำงานของ พังงาแห่งความสุข ที่ทำงานร่วมกันมากว่า 20 ปีเท่านั้น ภายในหนังสือยังมีประสบการณ์การล้มลุกคลุกคลาน จุดแข็ง จุดอ่อน หรือแนวทางในการทำงานของชุมชน ที่จะทำให้ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ไม่ทำพลาดซ้ำ บทเรียนการทำงานของพังงาไม่ใช่สูตรสำเร็จหรือตัวอย่างที่สมบูรณ์แต่อย่างใด แต่เป็นกรณีศึกษาให้ผู้ที่ทำงานทางด้านนี้ ได้เรียนรู้และทบทวนการทำงานเพื่อสังคมไปด้วยกัน

เรียนไปทำไม ตายไปก็ลืม

เรื่อง/ภาพ: สัญญา มัครินทร์ "เรียนไปทำไม ตายไปก็ลืม" คือข้อความ ที่ถูกเขียนบนไวท์บอร์ด หลังจากที่ผมชวนนักเรียน ช่วยกันทำความสะอาด และลบกระดานก่อนเริ่มเรียนไปก่อนหน้านี้แล้ว “ครูครับ ไอ้…มันเขียนครับ อุตส่าห์ลบเกลี้ยงแล้วแหม่” เสียงบ่นจากนักเรียนคนหนึ่ง “เฮ้ย! ดีแล้วๆ เอาไว้นั้นแหละ เดี๋ยวบ่ายนี้ เราเปิดประเด็นคุยจากประโยคนี้กัน” ครูตอบนักเรียน ในใจคิดว่าต่อไปจะเจออะไรก็ไม่รู้...

Book of Shadow เขียนลงไปบนสมุดเงา เพื่อให้เรายอมรับเรื่องแย่ๆ ของตนเองบ้าง

การที่จะรักตัวเองไม่ได้หมายความว่า เรารักแค่ด้านดีของเราเท่านั้น แต่การรักตัวเองเราควรเปิดพื้นที่ที่จะรักทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ไม่ต่างกับการที่เรารักใครสักคน เราพร้อมที่จะรักเขาทั้งด้านดีและไม่ดี กิจกรรมหนึ่งในห้องเรียนแห่งรัก ที่จะทำให้เราได้ทำงานกับตัวเองคือ การทำ Book of Shadow หรือ สมุดเงา คุณอาจเคยได้ยินมาว่า สมุดเงานี้ใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลเวทย์มนตร์ของพวกแม่มดตามนิทานและเรื่องเล่าในสมัยก่อน หรือเป็นการเขียนไดอารีแบบที่เรามักถูกบังคับให้ทำตอนเด็กๆ  แต่ในห้องเรียนนี้ การเขียน Book of Shadow...

‘ครูคือมนุษย์’ สำรวจภูมิทัศน์ภายในของความเป็นครู เพื่อเข้าใจผู้คนที่อยู่รอบห้องเรียน

เมื่อการศึกษากลายเป็นความทุกข์ร่วมของชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงเกิดความร่วมมือกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาครูและบุคลากรทางศึกษาของ โรงเรียนประชารัฐ และการพัฒนาขับเคลื่อนโรงเรียนร่วมพัฒนาในโครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ และโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) หลังจากกิจกรรมทำความรู้จัก และจับคู่รับฟังที่มาของอาชีพครู และอาชีพครูมีคุณค่าต่อตัวเราและคนอื่นอย่างไร และจับกลุ่ม 4...

เศรษฐศิลป์ : ผู้นำกับโลกแห่งวัตถุในปรัชญาตะวันออก

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือฉบับย่อพร้อมภาพประกอบของหนังสือ เศรษฐศิลป์: ผู้นำกับโลกแห่งวัตถุในปรัชญาตะวันออก ซึ่งเป็นการศึกษาภาวะผู้นำจากประเด็นการจัดการทรัพย์สินผ่านมุมมองปรัชญาจีนและพุทธปรัชญา

ครูปล่อยแสง: ครูบรรดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้

เรื่องเล่าจากครูผู้ก่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นแกนนำรุ่นที่ 1 โครงการก่อการครู คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยถูกรวบรวมขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า การสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการศึกษาไทยเกิดขึ้นได้จริง โดยเริ่มต้นจากห้องเรียนเล็ก ๆ ขยายออกไปสู่ผู้คนและชุมชน สิ่งเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดลงในหนังสือเล่มนี้อย่างหลากวิธีคิด หลายหัวใจ และมากด้วยการลงมือทำ

Leadership for Transcendence: ภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น

หนังสือเรื่องสภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้นเล่มนี้มาจากการสรุปสาระสำคัญจากการอบรมเชิงปฏิบัติการภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น (Leadership for Transcendence) ทั้งสามหลักสูตรซึ่งจัดโดยโครงการผู้นำแห่งอนาคต คณะศึกษาศาสตร์และวิทยาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สรุปและเรียบเรียงหนังสือได้มีโอกาสสนทนากับคุณวิกรัม ภัฏฏ์ ผู้เป็นวิทยากรหลักในการอบรมดังกล่าว