ในการดูแลของบริษัท ที.ซี. ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด ในนามกลุ่มธุรกิจทีซีพี (TCP)
โครงการโรงเรียนปล่อยแสง เป็นโครงการในการดำเนินงานของคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับบริษัท ที.ซี. ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด ในนามกลุ่มธุรกิจทีซีพี (TCP) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำโครงการโรงเรียนปล่อยแสง : พัฒนานิเวศการเรียนรู้ (School Learning Eco-system Development)
โครงการโรงเรียนปล่อยแสงมีจุดมุ่งหมายจะเห็นการพัฒนาการศึกษาไทย โดยเป็นฝ่ายสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ในการปรับเปลี่ยนการออกแบบการเรียนการสอน สนับสนุนให้ครูเป็นผู้พัฒนานิเวศการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน และให้ครูเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ ออกแบบจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และ Authentic Learning มีสื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษา มีการทำงานเป็นทีมและเครือข่ายเครือข่ายการเรียนรู้ชุมชนวิชาชีพ (PLC) เพื่อเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ และเป็นกลไกสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบการศึกษาไทย
โครงการโรงเรียนปล่อยแสงได้เริ่มเมื่อปี 2564 และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในภายใต้ชื่อโครงการ โรงเรียนปล่อยแสง : พัฒนานิเวศการเรียนรู้ โดยมุ่งหวังจะพัฒนาการศึกษาไทยที่มีความสอดคล้องกับบริบทชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “นิเวศการเรียนรู้” ในหลากหลายพื้นที่ จำนวน 10 โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งโรงเรียนในเครือข่ายนี้เข้าสู่กระบวนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้เห็นจุดหมายตามที่โรงเรียนต้องการผ่าน 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การวิจัยและพัฒนานิเวศการเรียนรู้, ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาศักยภาพบุคลากร, ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาสื่อการสอนและทรัพยากรการเรียนรู้ และยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสื่อสารกับสังคม
ผลงานที่เกี่ยวข้อง
ไม่มี one size fits all สำหรับการพัฒนาการศึกษาไทย จากเลนส์นักกระบวนกร
กับการพัฒนาโมเดลต้นแบบโรงเรียนปล่อยแสง
ลองจินตนาการถึงระบบการศึกษาไทยที่เปิดกว้างและมีหลักสูตรการสอนหลากหลาย ผลผลิตที่ได้คงจะงดงามเหมือนดอกไม้หลากสี และประเทศไทยคงมีบุคลากรงอกงามในหลากหลายเส้นทางและความสามารถ แต่ในความจริงโรงเรียนและบุคลากรทั้งครูและนักเรียน มักต้องเดินบนเส้นทางที่ถูกตีกรอบไว้ทางเดียว จนไม่อาจจินตนาการถึงทุ่งดอกไม้ที่เต็มไปด้วยสีสัน เมื่อโครงการโรงเรียนปล่อยแสงที่มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของครูและนิเวศการเรียนรู้ในทั้งหกโรงเรียนมาต่อเนื่องถึงปีที่ 3 จึงอยากเห็นโมเดลที่พัฒนาต่อไปให้แต่ละโรงเรียนงอกงามในแบบเฉพาะของตนเอง “เป็นไปได้ไหมที่โครงการโรงเรียนปล่อยแสงจะสร้างโมเดลต้นแบบที่ช่วยพัฒนานิเวศการเรียนรู้ เรามีหกโรงเรียน ก็จะมีหกโมเดลต้นแบบที่ตอบโจทย์ต่างกัน อันนี้คือเป้าหมายระยะยาวโครงการ” “เกด”-ธุวรักษ์ ปัญญางาม ผู้ก่อตั้ง Insights for Change หนึ่งในกระบวนกรที่เข้ามาช่วยโครงการโรงเรียนปล่อยแสง บอกเล่าถึงการออกแบบกระบวนการในปีที่ 3 น่าสนใจว่าการออกแบบที่ตอบโจทย์เฉพาะของแต่ละโรงเรียนนั้น...
Eco school โรงเรียนตื่นรู้เชิงนิเวศน์ที่ศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์
“ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน และ “ครูนุช” นุชวรา ปูรณัน ผู้บริหารรุ่นสองของโรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เติบโตมากับพ่อแม่ธนินทร์ ปูรณัน ผู้จัดการโรงเรียนและ ศันสนีย์ ปูรณัน ครูใหญ่ ผู้ทุ่มเทชีวิตให้กับการพัฒนาโรงเรียนมายาวนาน “ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน “ครูนุช” นุชวรา ปูรณัน...
นิเวศการเรียนรู้ฉบับป่าธรรมชาติ ณ “โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์”
หากเปรียบ “มนุษย์” เป็นดัง “ต้นไม้” เราจะรู้ความสามารถในการเติบโตของกล้าไม้ต้นหนึ่งได้อย่างไร หากจำกัดพื้นที่ปลูกไว้เพียงกระถางปูนเล็กจ้อย และเราจะค้นพบศักยภาพแท้จริงของมนุษย์คนหนึ่งได้อย่างไร หากจำกัดรูปแบบการเรียนรู้ไว้เพียงเส้นทางเดียว “ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน และ “ครูนุช” นุชวรา ปูรณัน สองสาวพี่น้องผู้บริหารรุ่นสองของโรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา นิยามการสร้างระบบนิเวศของโรงเรียนตรงกันว่าคล้ายการเกิดของป่าธรรมชาติ เพราะการเติบโตของเด็กไม่เหมือนการปลูกพืชในพื้นที่จำกัดแล้วหยอดปุ๋ยเร่งโต ทว่าคือการส่งเสริมให้กล้าไม้หรือ “เมล็ดพันธุ์” ได้เรียนรู้ประสบการณ์หลากหลาย...
โรงเรียนปลอดขยะ จุดเริ่มต้นการสร้างจิตสำนึกสู่สังคม เพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ต่อนักเรียน
ก่อนเทอมสุดท้ายของภาคเรียนที่ 2 ปี 2566 จะปิดลง ในเวลาใกล้เลิกเรียนมีดอกอินทนิลสีม่วงจางคว้างกลีบไปมาเป็นฉากหลัง พร้อมกับบรรยากาศจอแจของเด็กนักเรียนด้านหน้าประตูทางออก ท่ามกลางแก้วน้ำพลาสติก ขวดน้ำ และเศษขยะยิบย่อยก็ปลิวเกลื่อนกระจัดกระจายทั่วถนน ผลมาจากขยะของทุกคนในโรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ที่ทิ้งมาแต่เช้าจรดค่ำจนล้นถัง “ตอนนั้นยังไม่ได้ย้ายมาบรรจุที่นี่แต่มีโอกาสเข้ามาคุมสอบ กศน. ที่โรงเรียนคำแสนฯ เราเห็นสภาพโรงเรียนมีแต่ขยะ เอ๊ะทำไมอะไรกันนักหนาเรียกว่าสกปรกเลยว่าได้” ครูปิ๋ว-อุไรวรรณ บุญเต็ม ครูชำนาญการพิเศษ ที่เล่าถึงสภาพแวดล้อมเมื่อหลายสิบปีก่อน ร่องรอยในอดีตนั้นยังหลงเหลือตกค้างมาถึงปัจจุบันอยู่บ้าง แม้จะมีหลายโครงการนในโรงเรียนเข้ามาบรรเทาปัญหา แต่พอทำไปได้สักพักก็ขาดความต่อเนื่อง...