Korkankru

COVID-19

ครูบุกหมู่บ้าน ย้ายห้องเรียนสู่ชุมชน: บ้านหนองโน อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์

รถพุ่มพวง คือสัญลักษณ์ของการเข้าถึง หลากหลาย เลือกได้ และจ่ายไหว ไม่ต่างกัน รถพุ่มพวงการศึกษาในความหมายของ 'ครูตู้ ครูตุ๋ม และครูฝน’ คือการเรียนรู้ที่ง่าย เข้าถึง จับต้องได้ และผู้เรียนรู้สึกอิสระ “เมื่อเด็กมาโรงเรียนไม่ได้ ก็ยกห้องเรียนไปไว้ในชุมชนเลยแล้วกัน” ไม่มีกำแพง ไม่มีหลังคา มีเพียงเสื่อปูพื้น กระดาษฟลิปชาร์ท มีคุณครู...

เรียนวิชาทักษะชีวิตกับครูที่ชื่อว่า ‘พ่อแม่’

ในแวดวงกิจการเพื่อสังคม นก-ธนัน รัตนโชติ คือผู้ก่อตั้ง PLANT-D สวนผักอินทรีย์ของคนเมืองที่ตั้งต้นและต่อยอดจากปัญหาผู้สูงอายุ แต่อีกหนึ่งบทบาทสำคัญคือคุณพ่อลูกสองที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเรียนรู้ให้ลูกด้วยตัวเอง “มันเริ่มมาจากผมสนใจโรงเรียนทางเลือก” ธนันเรียนจบสายวิศวะ แต่ปัจจุบันผันตัวมาทำงานด้านกิจการสังคม เขาแสวงหาความรู้ในสายการตลาดด้วยตัวเอง  “ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างที่ผมทำงานประจำและเริ่มทำธุรกิจส่วนตัว ผมเรียนรู้วิชาหลายๆ อย่างด้วยตัวเอง เช่น การเงิน การวางกลยุทธ์ การวางแผนองค์กร ผมเห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้น ผมพบว่าคนเราไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานตรงสายที่เรียนมาก็สามารถเรียนรู้จากทุกที่ ไม่ใช่แค่สถาบันการศึกษาในกระแสหลักเท่านั้น”...

ชัดเจน-มีเป้าหมาย-เห็นใจผู้อื่น: 3 ทักษะสำคัญของผู้นำในภาวะวิกฤติ

งานวิจัยเรื่องการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในภาวะผู้นำของ แจ็คเกอลีน (Jacqueline) และ มิลตัน เมย์ฟิล (Milton Mayfiel) ศาสตราจารย์ด้านการบริหารจัดการ (management) แห่ง Texas A&M International University สหรัฐอเมริกา ระบุไว้ว่า ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีคุณสมบัติ 3 ข้อ ดังนี้...

ผู้นำในภาวะวิกฤติ ไม่ต้องสมบูรณ์แบบ แค่ชัดเจน มีเป้าหมาย และเห็นอกเห็นใจคนอื่น

หากให้คุณลองจินตนาการว่าชีวิตของคนนับหมื่นคนตกอยู่ในมือของคุณ หากให้คุณลองจินตนาการว่าการตัดสินใจของคุณมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คนหลายล้าน เศรษฐกิจจะหยุดชะงัก บริษัททั่วประเทศจะปลดพนักงานและทยอยปิดกิจการ หากคุณเป็นผู้กำหนดได้ คุณจะทำอย่างไร COVID-19 ที่กำลังระบาดทั่วโลก กลายเป็นสนามสอบให้ผู้นำประเทศทั่วโลก งัดทุกทักษะเท่าที่มีมาแก้โจทย์สุดหินเพื่อทำให้ประเทศของตนอยู่รอด ที่สำคัญ มันเป็นโจทย์ซึ่งเดิมพันด้วยชีวิตคน บทความของ ซูซ วิลสัน (Suze Wilson) อาจารย์ด้านการพัฒนาผู้นำแห่งมหาวิทยาลัยแมสซีย์ (Massey University) มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศนิวซีแลนด์...

ละหมาดที่บ้าน เข้าโบสถ์ผ่าน FB Live ไม่ไปไหนคือทำบุญ

การมาเยือนของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เขย่าหัวใจคนทั่วโลกให้สั่นไหว ใช้ชีวิตท่ามกลางความหวาดกลัว หนึ่งในที่พึ่งทางใจที่เหลืออยู่คือศาสนา แต่เพราะศาสนกิจจำนวนไม่น้อย ใช้วิธีรวมกลุ่ม ยึดโยงกันใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการตักบาตรตอนเช้า การละหมาดของอิสลามิกชน และการเข้าโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ของชาวคริสต์ อีกนัยหนึ่งก็เป็นการเชื่อมร้อยทั้งความเชื่อร่วมกันและความสัมพันธ์ในชุมชน หากจังหวะเช่นนี้ ทุกฝ่าย ทุกคนต่างเข้าใจดี แยกย้ายกันประกอบศาสนกิจที่บ้าน เพื่อกอบกู้จิตใจให้แข็งแรงที่สุดในภาวะป่วยไข้ ศาสนาอิสลาม: จงละหมาดที่บ้านของท่าน การละหมาด หนึ่งในศาสนกิจของศาสนาอิสลาม โดยชาวมุสลิมจะละหมาดวันละ...

คนรวย มลพิษ การผูกขาด ค้าสัตว์ป่า โรงงานสัตว์เลี้ยง 5 สิ่งที่ไวรัสโคโรน่ากำลังทำให้หายไป

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับมนุษยชาติโดยตัวการที่ชื่อว่าไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ส่งผลให้ประชาชนล้มตายมากกว่า 3,000 ชีวิต และติดเชื้อมากกว่า 90,000 ราย ทั้งยังส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก เมื่อการติดเชื้อนี้ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของมวลมนุษย์ การเจริญทางด้านอุตสาหกรรมเองก็ตกไปอยู่ในจุดเสี่ยงจากโรคร้ายตัวใหม่นี้ อุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วอย่างไม่สามารถควบคุมได้นั้น ทำให้ระบบนิเวศน์ล่มสลายไปทั่วโลก โดยศาสตราจารย์เจม เบนเดล ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน และนักปรัชญาการเมือง รูเพิร์ท รีท ได้ถกเถียงกันไว้ว่า มนุษยชาติได้เข้าถึงจุดล่มสลายอย่างแน่นอนโดยอาจมีผู้เสียชีวิตถึง...