Korkankru

Collective Leadership

ทวิวัจน์การวิจัย : เรื่องเล่าจากนักวิทยาการเรียนรู้สู่กระบวนทัศน์การทำงานชุมชน

การทำงานร่วมกันของกลุ่มนักวิจัยกับภาคประชาสังคม ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาของโครงการผู้นำแห่งอนาคต สร้างให้เกิดพื้นที่ของบทสนทนาและเรื่องเล่าอย่างหลากหลายมุมเกี่ยวกับการทำงานวิจัยชุมชน ผันกลายมาเป็นบทเรียนและมุมมองใหม่ต่อตัวตน ความคิด ประสบการณ์ในการทำงานของนักวิจัยแต่ละคน ก่อร่างเป็นหนังสือ ทวิวัจน์การวิจัย : เรื่องเล่าจากนักวิทยาการเรียนรู้สู่กระบวนทัศน์การทำงานชุมชน ที่บรรจงพิจารณาบทสนทนาอันผุดเกิดขึ้นระหว่างการทำงานของนักวิจัยทั้ง 6 คนในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน ว่าด้วยความสัมพันธ์ของผู้คนที่ร่วมงาน มิติด้านความรู้สึกนึกคิด มุมมอง บทเรียนจากการทำงานในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง    อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นหนังสือถอดบทเรียนการทำงานของนักวิจัย เพื่อสกัดเอาข้อมูลทางวิชาการอย่างแข็งขัน...

รวมคน สร้างเมือง : สถาบันการเรียนรู้พังงาแห่งความสุขกับการขับเคลื่อนสังคม

สถาบันการเรียนรู้พังงาแห่งความสุข เป็นผลผลิตที่งอกงามจากการนำร่วมและสานพลังเครือข่ายของคนในชุมชนกับองค์กรหลายภาคส่วน โดยจุดร่วมที่นำมาสู่การถางเส้นทางจนมาเป็นสถาบันพังงาแห่งความสุขนี้ นอกจากความรักและหวงแหนในถิ่นที่ของตนแล้ว สิ่งสำคัญหนึ่งที่ผสานหัวใจของคนพังงาเอาไว้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี คือ “ความทุกข์ร่วม” อันเกิดจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิที่สร้างบาดแผลในทรงจำส่วนลึก ผันกลายมาเป็นพลังขับเน้นความใฝ่ฝันที่จะเห็นพังงาเป็นเมืองแห่งความสุข หนังสือ รวมคน สร้างเมือง : สถาบันการเรียนรู้พังงาแห่งความสุขกับการขับเคลื่อนสังคม เล่มนี้ได้ตกตะกอนบทเรียนทั้งหมดตั้งแต่จุดเริ่มต้น การก้าวข้ามอุปสรรคความขัดแย้ง  ไปจนถึงการขับเคลื่อนชุมชนของพังงาได้อย่างเป็นระบบภายใต้แนวคิดการนำร่วมที่รวมคนจนสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเมืองได้ ผ่านการเข้าไปทำงานเชิงพื้นที่ร่วมกับชุมชนเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี การเดินทางของพังงาแห่งความสุขจะเป็นมาอย่างไร...

รถไฟสายความสุข : การขับเคลื่อนสังคมเพื่อความสุขร่วมบนวิถีวัฒนธรรม ไทยเบิ้ง โคกสลุง

การเดินทางของชุมชนไทยเบิ้ง โคกสลุงเป็นเหมือนรถไฟขบวนหนึ่งที่กำลังเคลื่อนไปข้างหน้าและเกิดเรื่องราวระหว่างทางขึ้นมากมาย โดยมีปลายทางคือความสุขร่วมของคนในชุมชน คำถามที่น่าสนใจคือ อะไรทำให้รถไฟสายนี้ เคลื่อนไปข้างหน้าได้ ? ชวนหาคำตอบจาก หนังสือ รถไฟสายความสุข : การขับเคลื่อนสังคมเพื่อความสุขร่วมบนวิถีวัฒนธรรม ไทยเบิ้ง โคกสลุง หนังสือที่มีสถานีต้นทางจากการทำงานปฏิบัติการเชิงพื้นที่ของโครงการผู้นำแห่งอนาคตที่ได้เชื่อมร้อยองค์ความรู้และเครื่องมือเชิงวิชาการเข้าไปผสานร่วมกับแนวทางการดำเนินงานของผู้คนในชุมชนแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ภายในเล่มนี้ บรรจุเนื้อหาว่าด้วยการถ่ายทอดถอดบทเรียนจากนักวิจัยที่เข้าไปทำงานร่วมกับชุมชนไทยเบิ้ง โคกสลุง ชุมชนริมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์...

ปัญญาร่วม ขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ

เวทีพัฒนาศักยภาพผู้นำร่วมแห่งอนาคต : ผู้นำร่วมสร้างสุข ( Leadership for Collective Happiness – LCH )  โมดูล 3  ปัญญาร่วม ขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ เป็นเวทีพัฒนาศักยภาพที่ต่อเนื่องมาจาก 2 โมดูลแรก คือ ปัญญาโลก ปัญญาชีวิต...

เราอยู่ในสังคมเหลื่อมล้ำที่เรียกร้องพลังของ ‘การนำร่วม’ มากกว่าฮีโร่

ทุกปัญญาในสังคมล้วนโยงใยซึ่งกันและกันดั่งตาข่าย สังคมไม่อาจเดินหน้าไปได้หากปัญหาของการศึกษายังไม่ถูกแก้ไข การศึกษาไม่อาจดีขึ้นได้ หากความเหลื่อมล้ำยังถ่างกว้าง ปากท้องของผู้คนไม่อาจอิ่มได้ หากโอกาสในการเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดี มีที่ว่างให้ผู้คนเพียงหยิบมือ ชุมชนไม่อาจแข็งแรงได้ หากการกระจายอำนาจเป็นเพียงภาพฝัน  ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต่างยืนอยู่ท่ามกลางสังคมที่รายล้อมด้วยปัญหาทุกมิติ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำของสังคม ฯลฯ  ขณะนี้ สังคมปัจจุบันเริ่มตั้งคำถามต่อปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังและตรงไปตรงมา  ผู้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า ปัญหาเหล่านี้แก้ได้ สังคมดีกว่านี้ได้ และเราต่างเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงนั้น...

ปัญญาภายใน บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 1

การบ่มเพาะศักยภาพผู้นำในมิติปัญญาภายใน เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่อง โมดูลที่ 2 จากโมดูลที่ 1 ปัญญาโลก ปัญญาชีวิต ซึ่งใช้กระบวนการ การสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent Communication) เป็นแก่นหลักในการสร้างการเปลี่ยนแปลงมิติภายในและบ่มเพาะภาวะผู้นำบนฐานสุขภาวะทางปัญญา โดย ปัญญาภายใน : บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 1 นี้เป็นการกล่าวถึงการฝึกการสื่อสารอย่างสันติ 3...

เวทีเครือข่ายเรียนรู้ผู้นำแห่งอนาคต (CL2) ฉบับเต็ม

ภาวะผู้นำแห่งอนาคตเป็นกระบวนค้นหาตัวเองเพื่อเชื่อมโยงกับคนอื่นให้เป็น Collective Leadership เป็นการเรียนรู้ที่จะเชื่อมพลังจากภายในสู่พลังภายนอก เน้นให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวเรากับคนอื่น ทั้งชีวิตและการงานอันเป็นพลังหยินหยางที่งอกงามซึ่งเป็นหนทางไปสู่ความเป็นองค์รวม ทั้งนี้ ภาวะผู้น าจะต้อง Defining moment โดยการตั้งคำถามต่อชีวิตของตนเองว่า “เกิดมาเพื่ออะไร” “ทำไปทำไม” เมื่อเส้นทางชีวิตแต่ละจุด มีช่วงเวลาที่สำคัญ อาจป็นจุดปลี่ยน จุดหักมุม สภาวะภายในของเราจะบอกเองและช่วงเวลานั้นเอง ที่เรียกว่า คือ...

เวทีเครือข่ายเรียนรู้ผู้นำแห่งอนาคต (CL1) ฉบับเต็ม

ในต่างประเทศเริ่มมีการถอดบทเรียนออกมามากมายว่า ความเป็นผู้นําที่เป็น Distributed Leadership, Collective Leadership, Authentic Leadership นั้นเริ่มเข้ามาสู่สมการของเรามากยิ่งขึ้นพูดง่ายๆ ก็คือว่า โดยความรู้สึกส่วนตัวพ่อค้าขายก๋วยเตี๋ยวหรือแม่ค้าที่อยู่ในตลาดก็น่าจะมีภาวะผู้นําได้ไม่จําเป็นต้องเป็นคุณสมชายเท่านั้นที่จะเป็นผู้นําพาบ้านเมืองไปสู่ความเข้มแข็งยั่งยืน [pdfjs-viewer url="https%3A%2F%2Fwww.leadershipforfuture.com%2Fwp-content%2Fuploads%2F2017%2F10%2F70b4cf5d376b92fe1109517870e2de51.pdf" viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true print=true] [media-downloader media_id="3954" texts="Download...

สรุปเวทีร่วมเรียนรู้ผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่ (CLX) ฉบับเต็ม

รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี กล่าวถึงที่มาของเวทีร่วมเรียนรู้ผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่ และโครงการผู้นำแห่งอนาคตโดยเริ่มกล่าวถึงข้อค้นพบเรื่องการฟื้นฟูประเทศว่า ไม่ใช่มาจากการขาดแคลนทรัพยากรหรือชุดความคิดในการทำงานแต่ปมใหญ่มาจากการติดกับวาทกรรม “ผู้นำ” แบบอัศวินขี่ม้าขาวในขณะที่คำว่า“ภาวะการนำ” ซึ่งเป็นมากกว่าผู้นำและอาจสอดคล้องต่อการนำพาประเทศไปข้างหน้าในสมัยปัจจุบันได้ดีกว่าเก่า จึงเป็นที่มาของโครงการผู้นำแห่งอนาคตที่มีภารกิจสามเรื่องหลัก คือ การทำองค์ความรู้เรื่องภาวะการนำให้เป็นที่ประจักษ์ โดยรวบรวมทบทวนวรรณกรรมต่างๆ และลงไปสู่พื้นที่ปฏิบัติการจริง สื่อสารกับสังคมเพื่อช่วยกันสร้างจินตนาการใหม่ต่อกระบวนการพัฒนา สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อใคร่ครวญโจทย์ต่างๆ ในอดีต และมองไปในอนาคตข้างหน้า สรุปเวทรวมเรยนรผนากระบวนทศนใหมครงท1วันที่ 15-17 สิงหาคม...