Korkankru

ผู้นำแห่งอนาคต

มหา’ลัยไทบ้าน ปี 2 #Mission To The Moon

.............ก่อการครู ชวนทำภารกิจพิชิตดวงจันทร์กับมหา’ลัยไทบ้าน ปี 2 #Mission To The Moon การศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและปลดแอกการเรียนรู้จากรั้วโรงเรียนสู่การเรียนรู้จากชุมชน ผ่านอัลบั้มภาพชุด “Mission To The Moon : ภารกิจเที่ยว ทำ เล่น เรียน รู้...

“เพราะความฮู้มีอยู่สุเเก” | รู้จัก มหา’ลัยไทบ้าน #เรียนรู้ดูทำ

การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ไหนได้บ้าง? ในยุคที่การศึกษาเปลี่ยนผันตามความเปลี่ยนแปลง โรงเรียนและมหาวิทยาลัยในระบบปัจจุบัน อัดฉีดความรู้ได้เพียงพอไหม “ความฮู้มีอยู่สุเเก” เสียงนักเรียนรู้ ‘มหาลัยไทบ้าน’ ดังก้อง สื่อความภาษาอีสานเป็นคำตอบบนความเชื่อว่า “ความรู้มีอยู่ทุกที่” และตอนนี้พวกเขาได้สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้เพื่อแชร์ภาพฝันให้ชัดเจนขึ้นใน อ.สีชมพู อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น และ อ.ภูกระดึง จ.เลย The Active x ก่อการครู ชวนทำความรู้จัก ‘มหาลัยไทบ้าน’ เพื่อขยายความคำตอบจากหลักสูตรการศึกษาที่หาไม่ได้จากมหาวิทยาลัยในระบบ ผ่านอัลบั้มภาพชุด “เพราะความฮู้มีอยู่สุเเก : รู้จักมหา’ลัยไทบ้าน เรียนรู้ดูทำ” รวมเรื่องราวให้ร่วมเรียนรู้เหมือนเข้าไปอยู่ด้วยกัน รับน้องใหม่ มหา’ลัยไทบ้าน ในวันหยุดยาวต้นธันวาคม 2564 ลมหนาวภาคอีสานกระหน่ำพัดให้ชวนขนลุกเป็นระยะ ความอบอุ่นค่อย ๆ ยังขึ้นในช่วงสายจากแสงแดดและผู้คนที่เดินทางมาพบกัน เราอยู่ที่ ‘ยายตา at home’ โฮมสเตย์ใน ต.ดงลาน อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น ของคนรุ่นใหม่ที่หวนกลับบ้านมาทำให้ทุ่งนาธรรมดาไกลเมืองของคนรุ่นพ่อแม่ กลายเป็นจุดเช็กอินของคนรุ่นตัวเอง ด้วยการขยับขยายจากบ้านรับแขกเป็นบ้านพักนักท่องเที่ยวซึ่งโปรโมทกันภายใต้ชื่อ “เที่ยววิถีสีชมพู” การท่องเที่ยวโดยชุมชนจากพลังหนุ่มสาวคืนถิ่นที่ช่วยกันทำ 2 ปีมานี้ วันนี้ ‘ยายตา at home’ เป็นหมุดหมายของนักเรียนรู้ที่สมัครเข้าเรียน ‘มหาลัยไทบ้าน’ ปี 1 ลานโล่งด้านหน้าโฮมสเตย์ มีนิทรรศการและผลงานศิลปะฝีมือพวกเขาบางส่วนวางจัดแสดง ฉายให้เห็นที่เที่ยวและบ่งบอกเชิงสัญลักษณ์เรื่องการศึกษา หลังจากเมื่อเมษายนที่ผ่านมา ‘ยายตา at home’ ได้รวมผู้คนซึ่งใช้ชื่อว่า “ก่อการครู 3 ภูพลัส” ทำภารกิจสร้างครูเป็นตัวคูณเคลื่อนสังคมผ่านแนวคิดขยายพื้นที่การเรียนรู้จากห้องเรียนไปสู่ชุมชน ทำความรู้จัก “ก่อการครู 3 ภูพลัส” บทที่ 1 ไทมุง ความสัมพันธ์ “ต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การเปิดมหาลัยของพวกเราอย่างเป็นทางการ การมาของพวกท่านวันนี้มีความหมายมาก เพราะถือว่ามาเป็นประจักษ์พยานในการริเริ่มอะไรใหม่ ๆ ด้วยกัน เราเชื่อเรื่องการศึกษาว่าทุกคนสามารถมีอำนาจลุกขึ้นมาทำอะไรสร้างสรรค์ในบ้านตัวเองได้ โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาเพื่อความเป็นไท”...

ครูก่อการปั่น สังเกตกายใจ เห็นอะไรที่ซ่อนอยู่

“หมุนวงล้อการเรียนรู้ กับ ครูสายปั่น” บทที่ 1 ถ้าพูดถึง กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผมคิดว่าหลาย ๆ คน คงจะนึกถึงกิจกรรมที่มีอยู่ในหลักสูตรของโรงเรียน กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ แล้ว ปั่นจักรยาน มันเป็นกิจกรรมส่วนไหนของการศึกษาในระบบ มีอะไรซ่อนอยู่ ผมขอชวนผู้อ่านจินตนาการว่ากำลังนั่งบนเบาะ แล้วปั่นจักรยานไปพร้อมกับเรา “จักรยาน” กิจกรรมทางเลือกโรงเรียนในระบบ   สวัสดีครับ ผม ครูตู้...

“กาฬสินธุ์ศึกษา” ปลายฝันชุมชนแห่งการเรียนรู้

“ครู” ที่อยากเชื่อมโยงทรัพยากรเข้ากับชีวิตผู้เรียน มีคนกล่าวว่า “กาฬสินธุ์นี้ดินดำน้ำซุ่ม” ออกเสียงสำเนียงอีสาน สื่อถึงชื่อเสียงเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งยึดเกี่ยวไว้กับอาชีพเกษตรกรรมและการประมงพื้นบ้านของผู้คนที่มีมานาน ถึงแม้ในบริบทความเป็นชุมชน “ดินดำ น้ำซุ่ม” จะมีเรื่องราวของความร่มเย็น แต่หากมองไปยังความภาคภูมิใจของคนแถบนี้ อาจจัดได้ว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยมองเห็นศักยภาพ และความง่ายงามของทรัพยากรที่พวกเขามี สำหรับ ครูสราวุฒิ พลตื้อ หรือ ครูตู้ ผู้มีบุคลิกไม่ยอมหยุดนิ่งกับการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ย่อมอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านเครื่องมือที่เขาถนัด นั่นคือ “การศึกษา” ก้าวครูกล้าเปลี่ยน หากเจอนอกรั้วโรงเรียนก็อาจจะแยกได้ยากว่าชายคนนี้มีอาชีพอะไร ในบรรยากาศทั่วไปเขามักสวมเสื้อยืดธรรมดา ไม่ก็เสื้อเชิ้ตแขนยาวเรียบง่ายในกิจกรรมที่ต้องพบปะผู้คน เป็นคนพูดคุยด้วยคำที่มีแง่คิดราวกับเคยเป็นนักบวช เราอาจทายว่าเขาคือศิลปิน แต่จริง...

การศึกษาความเป็น “ไท” โดยเหล่าครูก่อการและหนุ่มสาวไทบ้าน

“การศึกษา” ที่เราเชื่อ คือ “การศึกษา” ที่ทำให้เรามีทักษะและความรู้ สามารถทำให้เราอยู่รอดได้ แล้วต้องทำให้เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสันติสุข มากกว่านั้นคือ อยู่อย่างมีความหมาย อยู่อย่างสร้างสรรค์ มีส่วนร่วม กล้าที่จะตั้งคำถามกับปัญหาที่พบเจอ กล้าที่จะลงมือทำ กล้าที่จะแตกต่าง กล้าที่นำ เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นต่อส่วนรวม ปัจจัยที่จะทำให้ภาพของ “การศึกษา” ที่เราเชื่อเกิดขึ้นได้ เริ่มต้นจากทัศนคติที่มองเห็นระบบนิเวศของการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม ไม่ได้แยกส่วนจากกันเหมือนกับระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ที่ยังขาดการบูรณการ ตั้งแต่โครงสร้างที่แยกเป็นวิชา แยกเป็นชั้นเรียน แยกระดับการเรียนเป็นเกรด ประเมินการเรียนรู้หรือศักยภาพผู้เรียนที่ถูกตัดสินจากมุมมองหรือหลักเกณฑ์ที่ไม่หลากหลาย...

More Than Art อำนาจของศิลปะ และธรรมชาติ

หลังจากเราขึ้นเขา ลุยป่ากันมาหลายสัปดาห์ “ห้องเรียนและธรรมชาติ” ครั้งนี้ เลยปรับให้เบา และโหดน้อยลงกว่าทุกครั้ง แม้จะเป็นช่วงหน้าฝน แต่สภาพอากาศช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ฝนทิ้งช่วงห่างไปหลายวัน ความร้อนอบอ้าว ทำให้เราต้องหาพื้นที่เย็น ๆ ธรรมชาติสีเขียว ผ่อนคลาย หายร้อน คลายเครียดจากการเรียนออนไลน์ และช่วยเกาะเกี่ยวนักเรียนที่ไม่ชอบออนไลน์ให้ได้ ที่สำคัญไม่แพ้กันคือช่วยเยียวยาตัวครูเอง และนักเรียนของเรา “ลำน้ำพอง” คือห้องเรียนธรรมชาติของพวกเรา โดยมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนมากขึ้นกว่าครั้งก่อน ๆ มีรองผู้อำนวยการต่างโรงเรียน...

ภูเขาหลังบ้าน ใกล้เเค่ไหน ก็ไม่เคยไปถึง

  “การเรียนรู้ คือ ชีวิต”  และ “ชีวิต คือการเรียนรู้” ครูสอยอ | สัญญา มัครินทร์   แล้วธรรมชาติของมนุษย์เรา เรียนรู้ไปทำไม? เรียนรู้กันอย่างไร? และเรียนรู้อะไรกัน? ที่จะทำให้ชีวิตเรา อยู่รอด อยู่ร่วม และอยู่อย่างมีความหมาย มันมีปรัชญาการศึกษา...

Visual note คิดเห็นเป็นภาพฉบับคุณครู

Visual note คิดเห็นเป็นภาพฉบับคุณครู     ทำความรู้จักกับ Visual Note หลายคนอาจคุ้นเคย เคยเห็น หรือ ไม่รู้จักกับ Visual Note ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งในศาสตร์ Visual Thinking มาก่อน วันนี้ ก่อการครู พาทุกคนมารู้จักเเละฝึกทำ...

วิชาคณิตศาสตร์กับห้องเรียนฐานสมรรถนะออนไลน์

วิชาคณิตศาสตร์กับห้องเรียนฐานสมรรถนะออนไลน์ โดย จุฑารัตน์ จอมเมืองบุตร เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม? เป็นคำถามหรือคำกล่าวที่มักจะได้ยินกันบ่อย ๆ เมื่อเรียนในชั้นสูงขึ้นคำถามนี้จะยิ่งมีมากขึ้น อันที่จริงแล้ววิชาคณิตศาสตร์มีความสำคัญกับมนุษย์เราเป็นอย่างมาก ช่วยให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐาน ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียม...

หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะในโรงเรียนไทย ไม่ใช่เเค่เพิ่งปรับเเต่ที่นี่เปลี่ยนมาเเล้วกว่า 2 ปี

  เมื่อต้องปรับเป็นการศึกษาฐานสมรรถนะ เชื่อว่าทั้งคุณครูเเละผู้บริหารต่างก็มีความกังวลว่าในการปรับหลักสูตรครั้งนี้ต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง มีความยากง่ายเเละท้าทายเเค่ไหน เเละเเน่นอนว่าเมื่อปรับเเล้วเกิดผลอะไร วันนี้ ก่อการครู พาทุกคนมารู้จักกับ โรงเรียนฐานสมรรถนะในบริบทของประเทศไทยกันบ้างไม่ใช่เเค่เพิ่งปรับเเตที่มีเปลี่ยนเป็นฐานสมรรถนะมากว่า 2 ปีเเล้ว เเต่ละขั้นตอนการเปลี่ยนเเปลงเป็นอย่างไรบ้างจากการทำงานลงมือจริงหน้างานโดยผอ.วี หรือคุณปวีณา พุ่มพวง ที่จะมาฉายภาพการศึกษาฐานสมรรถนะในบริบทโรงเรียนไทยให้เรากัน   ก้าวเเรกสู่หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ     โรงเรียนวัดถนนกะเพรา โรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง...