Korkankru

ผู้นำแห่งอนาคต

วรรณา จารุสมบูรณ์: จากนิวซีแลนด์ถึงกราดยิงโคราช รับมือกับความกลัว และมองหาความหวัง

จากเหตุการณ์กราดยิงที่ห้าง Terminal 21 จังหวัดนครราชสีมา จนเกิดการสูญเสียกว่า 30 คน บาดเจ็บอีก 58 คนนั้น แม้เหตุการณ์จะจบลงแล้ว ทว่าความเสียหายอีกหลายประการที่ตามมานั้น ยังคงประจักษ์อยู่ในสังคม หนึ่งในนั้นคือ ความสั่นสะเทือนทางความรู้สึกของผู้คนในวงกว้าง ที่ตกอยู่ในสภาวะแห่งความหวาดกลัว สู่การแสดงออกด้วยท่าที่ที่ต่างกัน ทั้งความโศกเศร้า ความเสียใจ และความรุนแรง เราจึงชวน...

เปิดรับสมัคร เวทีพัฒนาศักยภาพผู้นำแห่งอนาคต : ผู้นำร่วมสร้างสุข

เวทีพัฒนาศักยภาพผู้นำแห่งอนาคต : ผู้นำร่วมสร้างสุข (Leadership for Collective Happiness - LCH) ภายใต้โครงการผู้นำแห่งอนาคต : สานพลังเครือข่ายผู้นำร่วมสร้างสุข คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักการและเหตุผล ประเทศไทยกำลังก้าวสู่จุดเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ เมื่อประชาชนตื่นตัวและสนใจการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการเมืองมากขึ้น...

ธนัน รัตนโชติ วิศวกรผู้หลงรักการตลาด และเชื่อว่าธุรกิจกับสังคมงอกงามไปพร้อมกันได้

“ภารกิจเดียวของผมคือต้องจีบสาวให้ได้” คือคำอธิบายช่วงชีวิตเมื่อครั้งเป็นนักศึกษาของ นก-ธนัน รัตนโชติ ผู้ที่ปัจจุบัน เรารู้จักเขาในนามของผู้ก่อตั้งกิจการเพื่อสังคม PLANT-D สวนผักอินทรีย์ของคนเมืองที่ถือกำเนิดจากปัญหาผู้สูงอายุ มากกว่านั้น เขายังเป็นนักวางแผนกลยุทธ์ นักการตลาด Startup และ Founder ทว่าภาพทั้งมวลที่เรากล่าวมานั้น คือยอดภูเขาที่ธนันใช้เวลากว่าครึ่งชีวิตล้มลุกคลุกคลานและประสบกับคำว่าล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน นั่นจึงทำให้บทสนทนาของเราในวันนี้ เริ่มต้นด้วยการนั่งไทม์แมชชีนไปสำรวจรายทางชีวิต ว่าเขาผ่านเส้นทางแบบไหนมาบ้าง “วัยมัธยมและตอนใกล้จบเราไม่เห็นคุณค่าต่อการเรียนสักเท่าไหร่ แต่สนใจการเต้นเชียร์ลีดเดอร์...

ครูวิศวกร ผู้ให้สังคมเป็นห้องเรียนของนิสิต

บทสัมภาษณ์อาจารย์แจว – ธนาทิพย์ จันทร์คง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาผู้เข้าร่วมเวที Intrapreneur for Change ทำไมถึงสนใจเข้าร่วมเวที Intrapreneur for chang สนใจเพราะเคยเข้าอบรมเครื่องมือ Idea Development ของ School of Changemakers มาก่อน แล้วรู้สึกได้เปิดโลกทัศน์ ทำความรู้จักกับเครื่องมือที่ทำให้สามารถคิดกระบวนการให้ไปถึงเป้าหมายโดยไม่หลุดกรอบ...

รวมพลังคนไทยเปลี่ยนแปลงสังคม

ประเทศไทยห่างหายจากกระบวนการที่ทำให้คนไทยออกมามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบสังคมร่วมกันมานานหลายปี (นับตั้งแต่ปี 2554) การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562 นี้ จึงถือเป็นสถานการณ์หนึ่งที่เรียกร้องให้ทุกคนในสังคมลุกขึ้นมาใช้สิทธิในการเป็นพลเมืองภายใต้กติกาเดียวกัน เพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญสุดที่จะพาประเทศไทยไปสู่จุดนั้น คือ การที่คนไทยเห็นคุณค่าในพลังของตัวเองที่จะสร้างการนำร่วม (Collective Leadership) ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ดร.อดิศร จันทรสุข ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรักษาการรองคณบดี คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์...

แตกต่างแต่ไม่แตกแยก: บ่มเพาะกล้ามเนื้อประชาธิปไตยในตัวคุณ

บทสัมภาษณ์คุณณัฐฬส วังวิญญู กระบวนกรสถาบันขวัญแผ่นดิน ในสถานการณ์แบบนี้ ‘การที่เราไม่คุยกัน เพราะกลัวสูญเสียความสัมพันธ์’ มีวิธีการจัดการหรือมีทักษะไหนที่จะช่วยให้เกิดการพูดคุยกันหรือไม่ แล้วแต่สถานการณ์ หากจะคุยก็ควรตั้งคำถามกับตัวเองว่า คุยเพื่ออะไร สำหรับผม ผมชอบที่จะเรียนรู้ความคิดเห็นของคนอื่น ความคิดเห็นที่แตกต่าง เช่น ทำไมเขาถึงสนใจแนวคิดของพรรคการเมืองนี้ อุดมคติเป็นอย่างไร ผมมองว่าในภาพรวมของการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตย มีความจำเป็นที่เราจะต้องเรียนรู้จากความหลากหลายอย่างเคารพและให้เกียรติกัน จิตวิญญาณของประชาธิปไตยไม่ใช่แค่มีการเลือกตั้งแล้วจบ แต่คือการมีส่วนร่วมทางความคิดและการกำหนดทิศทางของบ้านเมือง การอยู่ร่วมกันเราไม่สามารถกำหนดจัดวางสิ่งที่อยากให้เป็นได้ด้วยตนเอง...

สรุปการอบรมโมดูลที่ 3 ครั้งที่ 2

สรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น ปีที่ 2 โมดูลที่ 3: นำด้วยเป้าประสงค์ทางจิตวิญญาณ (Leading with Soul Purpose) วันพุธที่ 12 – วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2561ณ ห้องประชุม 201 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรุงเทพฯโดยโครงการผู้นำแห่งอนาคต...

ถึงเวลาที่คนทำงานจะต้องสื่อสาร สร้างแรงเขยื้อนสู่สังคม

จะดีหรือไม่ ถ้าเรื่องราวสร้างสรรค์จากคุณจะสร้างแรงเขยื้อนในการเปลี่ยนแปลงสังคม แม้ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาจะมีพลังจากประชาชนตัวเล็กๆ (Active citizen) ที่คอยมองปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมแล้วไม่ปล่อยผ่าน แต่หากถอยมามองในมุมของคนนอกคงปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายเรื่องราวดีๆ สามารถจุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจ หรือเป็นบทเรียนสำคัญให้แก่สังคมได้ยังไม่ถูกสื่อสารออกไป เนื่องด้วยพื้นที่สื่อหลัก (Mass media) มีจำกัด แต่ในปัจจุบันมีพื้นที่การสื่อสารใหม่ (Social media) ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และยังง่ายขึ้นต่อการส่งเสียงไปให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดพลังของมวลหมู่มากในการขยับสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับใหญ่...

พัง ยับ เยิน: หมอก็เปิงได้

อาชีพของหมอมีปัญหาอะไรที่ทำให้มีความทุกข์ในอาชีพบ้างหรือไม่ ตอนที่เราเป็นหมออายุน้อยกว่านี้ เราคงใช้คำว่าทุกข์ แต่ตอนนี้เราไม่ทุกข์แล้วเพราะเราเข้าใจมัน ถึงอย่างนั้นเรารู้ว่ายังมีคนอื่นในระบบทุกข์ ทุกข์สำคัญคือทุกข์จากระบบ อย่างที่รู้ ๆ กันว่าปริมาณหมอมันไม่เพียงพอกับปริมาณของคนที่ต้องดูแล งานมันเกินพิกัด (Overload) มันก็ทุกข์อยู่แล้วเพราะงานหนักเกินไป แล้วถ้าเราคาดหวังกับตัวเอง อยากทำงานได้มีคุณภาพ อยากดูแลให้ดี ก็ต้องใช้พลังงานจากตัวเราและทีมมาก ซึ่งมันนำมาสู่ปัญหาต่อไปคือเรื่องของทีม เพราะงานมันไม่ได้โหลดเป็นคนมันโหลดคนทั้งทีม ทุกคนต่างเคยคิดว่ามันเหนื่อยเกินไปมั้ยที่ทำแบบนี้ เพราะมันไม่ได้ทำให้ใครสุขภาพดี ตัวเองก็ไม่ดี...

หมอป่วย หมออกหัก หมอจึงเริ่มรักตัวเองเป็น

ทำไมถึงตัดสินใจเป็นหมอ เราอยากเป็นจิตแพทย์ตั้งแต่แปดขวบ เพราะรู้สึกว่าคนในบ้านฉันป่วย รู้สึกว่าอยากจะรักษาทุกคน อะไรที่ทำให้เกิดความรู้สึกนี้ ตามประสาครอบครัวคนจีน มีคนวุ่นวายอยู่ในบ้านสิบกว่าคน ค้าขายตลอดเวลาเปิดร้านตั้งแต่เช้าปิดร้านสามทุ่ม สี่ทุ่ม เที่ยงคืน ไม่มีวันหยุด ทำไมไม่เคยเปลี่ยนความคิดจะเป็นจิตแพทย์ มันอยู่ในความรู้สึกลึกๆ เราอยากเรียนมาตลอดแต่เอนทรานซ์ไม่ติดนะ เลยไปเรียนอย่างอื่นมาก่อน ถึงอย่างนั้นความรู้สึกมันก็ยังอยู่ มันไดร์ฟให้เราอยากเรียนจิตแพทย์มาก บอกตัวเองว่าจบมาฉันจะเป็นจิตแพทย์ให้ได้ สุดท้ายได้มาเป็นหมอครอบครัว ชีวิตมันก็เป็นอย่างนี้ ตอนเด็กเรารู้สึกถึงการรายล้อมของปัญหาที่แต่ละคนต้องเผชิญ...