Korkankru

ก่อการครู

พิเศษ ถาแหล่ง: โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคมฯ และ ‘ห้องเรียนระบบสอง’ แนวทางของครู-ชุมชน ป้องกันเด็กหล่นจากระบบการศึกษา

ออกจากโรงเรียนกลางคันปีละสิบกว่าราย ปัญหาใหญ่ของตำบลห้วยซ้อ โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิษก เป็นโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนประมาณ 620 คน เป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 280 คน ตอนปลาย 340 คน และมีบุคลากรโรงเรียน 42 คน ซึ่งความยากจนในพื้นที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับนักเรียนอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลตั้งแต่ปี 2558...

เนรมิตลานโล่งให้กลายเป็นพื้นที่โชว์ของ ณ ลานเพลิน Play & Learn จากโรงเรียนบ้านน้อย”ปรึกอุทิศ”

ผ่านพ้นปีที่ 2 ของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) ไปเป็นที่เรียบร้อย โดยในปีนี้ทางโครงการฯ ส่งเสริมให้ผู้คนภายในนิเวศการเรียนรู้ทั้ง ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร และชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่ของตน ผ่านการทำโปรเจกต์ที่ทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของการเรียนรู้อันมีคุณค่าและความหมาย ผ่านการคิด การลงมือทำด้วยตนเอง นับว่าเป็นการทลายกำแพงการเรียนรู้ให้ขยับขยายออกนอกรั้วโรงเรียน โดยทางโรงเรียนบ้านน้อย"ปรึกอุทิศ"...

สายธารแห่งชีวิตสู่การเรียนรู้ที่มีความสุข แรงบันดาลจากโรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศ

ยินดีต้อนรับทุกท่านที่กำลังเดินทางเข้าร่วมงาน… เสียงเรียกเชิญชวนเครือข่ายเข้าสู่บรรยากาศของงาน “ALIVE SPACE : พื้นที่มีชีวิต” 2 ปี โรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศ ภายใต้โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) เปิดภาพสายธารแห่งการเปลี่ยนแปลง เรียงร้อยด้วยเรื่องราวที่ผลิบาน และความร่วมมือจากองคาพยพในระบบนิเวศการเรียนรู้ ทำให้โรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศแห่งนี้อุดมสมบูรณ์และเกื้อกูลกันอย่างลงตัว …..ใบหน้าของครูที่อิ่มเอม เต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวแห่งความหวังเสียงของนักเรียนที่ต้อนรับขับสู้ด้วยความภูมิใจ...

กุญแจสู่ประตูแห่งความหวังของการศึกษาไทย การปลดล็อกจากโรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)

ครบรอบ 2 ปีของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) กับ 5 โรงเรียนนำร่อง ได้จัดเวทีเครือข่าย แสดงพลังสื่อสารสังคม สร้างการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของคนในชุมชน เพื่อทบทวนเส้นทางห้องเรียนที่เปลี่ยนไป เครื่องมือที่เชื่อมให้เกิดห้องเรียนแห่งความรัก รวมทั้งความท้าทายที่แต่ละโรงเรียนได้ก้าวข้าม ล้วนเป็นแรงบันดาลใจที่จะขยายสู่สังคมการศึกษาไทย ซึ่งเวทีแรก ประเดิมด้วย โรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)...

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง : สร้าง “นิเวศการเรียนรู้” สู่ห้องเรียนที่มีความสุขและมีความหมาย

หากต้องการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ต้องเริ่มต้นที่ใคร? คำตอบแรกที่ขึ้นมาในหัวของแต่ละท่านอาจแตกต่างกัน บ้างอาจตอบว่าต้องเริ่มต้นที่ครู บ้างอาจตอบว่าคงต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงจากระบบก่อน ทุกท่านอาจลองเก็บคำตอบนั้นไว้ในใจ เพราะในบทความนี้จะพาไปชมนิทรรศการจากโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง ณ งาน บัวหลวงก่อการครู: เวทีเบิ่งแงงการศึกษาอุดรบ้านเฮา จ.อุดรธานี ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นิทรรศการสะท้อนเสียงของ...

ประกาศผลการคัดเลือกครูแกนนำก่อการครู รุ่น 5

โครงการก่อการครูขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา เปลี่ยนแปลงการศึกษาไปกับพวกเรา  ‘โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้’โครงการฯ ขอประกาศรายชื่อครูผู้ผ่านการคัดเลือกในการเข้าร่วมขบวนการ ก่อการครู รุ่น 5 จำนวน 105 ท่าน 📌ตรวจสอบรายชื่อช่องทางอื่น google sheet : ประกาศผลการคัดเลือกครูแกนนำก่อการครูรุ่น 5 หากยังไม่ได้รับอีเมลประกาศผลและยืนยันการเข้าร่วม ติดต่อผู้ประสานงาน...

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกรอบใบสมัคร และมีสิทธิ์สัมภาษณ์ ก่อการครูรุ่น 5

ขอบคุณผู้ร่วมก่อการทุกท่านที่ให้ความสนใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการศึกษาไปกับเรา โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ โครงการฯ ขอประกาศรายชื่อครูผู้ผ่านการคัดเลือกรอบใบสมัคร และมีสิทธิ์สัมภาษณ์ ก่อการครูรุ่น 5 จำนวน 114 ท่าน

เปิดรับสมัครโครงการก่อการครู “ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้” รุ่น 5

ปัญหาการศึกษากำลังถูกพูดถึงในวงกว้าง ราวกับเป็นความเจ็บปวดร่วมของคนในสังคม การถูกควบคุมจากศูนย์กลาง การศึกษาที่ตั้งอยู่บนความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ไม่ตอบโจทย์และขาดความหมาย ความเป็นมนุษย์ที่มีชีวิต จิตใจ และขาดพื้นที่ปลอดภัยในการทดลองความรู้ใหม่ ๆ กลายเป็นการศึกษาแห่งความกลัว ไม่เอื้อให้เป็นระบบที่ความสุขและมีความหมายต่อผู้เรียนและครู โครงการก่อการครู ภายใต้คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ จึงมุ่งหวังสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่ระบบการศึกษา ผ่านการทำงานพัฒนาศักยภาพของครู ผู้อยู่ตรงกลางของความสัมพันธ์ในระบบโรงเรียน ให้กลายเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agents) ด้านการศึกษา นำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียน...

ห้องเรียนที่ (หัวใจ) ปลอดภัย  สำคัญแค่ไหนต่อการเรียนรู้

“ห้องเรียนปลอดภัยคือพื้นที่ที่เด็กกล้าพูด มีความไว้ใจซึ่งกันและกันค่ะ”“พื้นที่ปลอดภัยเหรอ น่าจะเป็นพื้นที่ที่เป็นตัวเองได้แบบไม่ต้องกังวล จะทำอะไรก็มีความรู้สึกอิสระ ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกหรือจะผิดนะ”“น่าจะเป็นการยอมรับความแตกต่าง ความคิดเห็นที่แตกต่าง”“เป็นพื้นที่ที่ถ้าทำผิดไปแล้วจะมีคนให้อภัย ถ้าทำถูกก็จะรู้สึกว่าทุกคนยอมรับ”“ที่ๆ แสดงออกโดยไม่ถูกคุกคาม”“นักเรียนมีความสบายใจที่จะอยู่พื้นที่นั้น อยากจะพูดอยากจะปรึกษาอะไรก็ทำได้เลย โดยไม่รู้สึกว่าติดขัดอะไร”“พื้นที่ที่มีแสงแห่งความรักและมีความสุขให้กับเรา” เราสามารถนิยามได้ว่า พื้นที่ปลอดภัยคือ พื้นที่ที่เรารู้สึกปลอดภัยจากการกล่าวโทษต่อว่าตัวเอง และเป็นพื้นที่ ๆ สามารถรับฟังตัวเองและเป็นตัวเองได้โดยปราศจากการตัดสินจากคนอื่น พื้นที่ปลอดภัยที่เพียงพอ จะทำให้บรรยากาศการเรียนรู้งอกงาม ผู้เรียนและผู้สอนเป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ สามารถแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น...

เผด็จการศึกษา กับห้องเรียนของครูก่อการ
อัพเลเวลการเรียนรู้ ‘ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ’ ไม่รอแล้วนะ

ในขณะที่นักเรียนตกอยู่ภายใต้ความคาดหวัง บรรยากาศการแข่งขัน และแรงกดดันจากการระบบสังคมและการศึกษา เอาเข้าจริงแล้ว ครูเองก็มีสภาพอิดโรยไม่ต่างกันนัก พวกเขาต่างก้มหน้าก้มตาทำงานหนักราวกับหนูติดจั่น น่าเศร้ากว่านั้นคือ งานกว่าค่อนห่างไกลจากห้องเรียนที่พวกเขาวาดหวัง สภาพเช่นนี้ดำเนินเรื่อยมา และยังคงดำเนินต่อไป ครูถูกพรากจากห้องเรียน เด็กๆ ถูกพรากจากความรักในการเรียนรู้ โรงเรียนดูไร้ชีวิตชีวา การศึกษา แต่ถึงอย่างนั้น ก็ใช่ว่าจะไร้ซึ่งแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ครูจำนวนไม่น้อยตั้งหลักขยับขยายความเป็นไปได้ในการสร้างห้องเรียนที่มีความหมายแก่ผู้เรียน แม้จะพบอุปสรรคที่ชื่อ ‘ระบบ’ อยู่เบื้องหน้า...