Korkankru

การศึกษาไทย

เช็กฮวงจุ้ยการศึกษาไทย ในวันที่หลักสูตรเปลี่ยนชื่อเรียก

Jan 5, 2022 บทความ 0 Comments 2 min

หลายคนเชื่อว่า “การเปลี่ยนชื่อ” จะหนุนนำให้หลายอย่างเปลี่ยนในทางดีขึ้น แม้แต่ “Facebook” ยังเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “Meta” เพื่อยกระดับบริการที่ให้ความสำคัญกับโลกเสมือนจริง ทว่าการเปลี่ยนชื่อหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก “หลักสูตรแกนกลาง” เป็น “หลักสูตรฐานสมรรถนะ” จะหนุนนำนักเรียนเราให้ดีขึ้นเหมือนกันไหม เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย ประกาศกับสังคมว่ากำลังพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยหลักสูตรที่สนับสนุนความถนัดและความสนใจผู้เรียนเป็นรายคน สนทนากับ ‘รศ.อนุชาติ พวงสำลี’ คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ไม่ใช่สายมูเตลู แต่นับเวลาที่อยู่ในแวดวงการเรียนรู้ ก็พอพยากรณ์ได้ว่าอนาคตนักเรียนไทยจะเป็นแบบไหนในวันที่ “หลักสูตรการศึกษาเปลี่ยนชื่อเรียก”   1. เปลี่ยนชื่ออย่างเดียวไม่ปัง ต้องเปลี่ยนความเชื่อเรื่องการศึกษา หากเปรียบการเปลี่ยนหลักสูตรกับความเชื่อ วันนี้กระทรวงศึกษาธิการเชื่อว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเดิมที่ให้ความรู้ตามมาตรฐาน 8 สาระวิชา ไม่ทันสมัยกับความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียนอีกต่อไปแล้ว และการแก้เคล็ดคือเปลี่ยนไปเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่เน้นเรียนรู้แบบสร้างทักษะเพื่อทำให้ภาพการศึกษาไทยเปลี่ยนในทางที่ดีกว่าเดิม เรื่องนี้ ‘รศ.อนุชาติ’ มองว่าแก้ปัญหาถูกทาง แต่ยังไม่ครบเครื่อง...

เสวนาวิชาการ: ถอดสลักโลกการศึกษา ถอดบทเรียนการพัฒนาชุมชน

เวทีเสวนาวิชาการ "ก่อการวิจัย: ถอดสลักโลกการศึกษา ถอดบทเรียนการพัฒนาชุมชน" วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้อง 202 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยลักษณ์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดการเบื้องต้นช่วงเช้า...

เมื่อพ่อแม่กลัวลูกโง่ และครูกลัวผู้บังคับบัญชา ‘ลูกศิษย์’ จึงเป็นแค่ ‘ลูกค้า’ ในระบบการศึกษาไทย

คลี่ออกมาเป็นฉากๆ อธิบายวงจรที่วนเวียนซ้ำซากทีละบรรทัด ทำไมระบบการศึกษาของชาติบ้านเมืองจึงทั้งกัดกร่อนโครงสร้าง และบอนไซให้สังคมไทยก้าวไปไหนไม่พ้น เบื้องล่างภูเขาน้ำแข็ง และใต้พรมผืนนั้นมีอะไรซุกซ่อนอยู่ เป็นอีกครั้งที่ รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชาติ พวงสำลี คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉายภาพความผุพังของการศึกษา และเป็นอีกครั้งที่ต้องอธิบายเหตุผลว่าทำไมวิธีการแบบเดิมๆ ไม่เข้าท่า และถึงคราต้องบอกลามันเสียที นี่คือบทสนทนาที่ชวนปัดกวาดฝุ่นควันทางความคิด เพื่อร่วมกันเดินออกจากอุโมงค์ที่มืดมิดของการศึกษาไทย หากชิงชังการอยู่ในตรอกอันคับแคบ ย่อหน้าถัดจากนี้คือการพาออกไปสู่ลานกว้าง และแสงสว่างส่องถึง...

เปลี่ยน ‘โรงเรียน’ เป็น ‘โรงเล่น’ ผ่านการออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้

การออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้ : เมื่อผู้ร้ายกลายเป็นผู้ช่วยในห้องเรียน เกมมักเป็นผู้ร้ายในสายตาของสังคม เพราะมันดึงดูดความสนใจและเวลาของนักเรียนให้ไปสนใจเกมมากกว่าการเรียนเนื้อหาวิชาการต่างๆ เกมจึงกลายเป็นเสมือนผู้ร้ายในสายตาของคุณครูและผู้ปกครองส่วนใหญ่ แต่เรากลับไม่ค่อยตั้งคำถามว่า เกมทำงานกับความคิดของเด็กอย่างไร และทำอย่างไรให้ผู้ร้ายกลายเป็นผู้ช่วยในการสร้างแรงดึงดูดความสนใจของนักเรียน วันนี้เราจึงอยากชวนให้คุณมาร่วมจุดไฟการเรียนรู้ ผ่าน “ห้องเรียนออกแบบการเรียนรู้ผ่านเกม” โดยวิทยากร ดร. เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีม DeSchooling Game...

ครูข้างถนน: ความดี ความจริง ความงาม

“ข้างถนน” คำต่อท้ายสั้นๆ ที่ให้ความรู้สึกไม่ดีนักเมื่อนำไปต่อท้ายคำใดๆ เช่น คนข้างถนน เด็กข้างถนน ร้านอาหารข้างถนน ช้างข้างถนน ฯลฯ เมื่อวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 8-9พฤศจิกายน 57 พวกเราทีมเด็กๆ และเพื่อนๆ พี่ๆ อีกจำนวนหนึ่งได้มีโอกาสลงไปร่วมเรียนรู้กับครูจิ๋ว คนที่ยอมนำคำว่า “ข้างถนน” มาต่อท้ายสิ่งที่ตัวเองทำ คนที่เรียกตัวเองว่า “ครูข้างถนน”...