Korkankru

การศึกษา

มายาคติว่าด้วยความสำเร็จ: การสอบเข้ามหาวิทยาลัยอาจไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต

ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล เคยสังเกตไหม เวลานั่งรถผ่านหน้าโรงเรียนมัธยม ไม่ว่าในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ที่ตลอดแนวรั้วดูเหมือนจะถูกเนรมิตให้เป็นพื้นที่โฆษณาขนาดมหึมา มีแผ่นป้ายไวนีลติดประกาศเชิดชูนักเรียนที่ได้รับรางวัลต่างๆ นานา ขนาบด้วยภาพนักเรียนชั้น ม.6 ที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน หากมองเข้าไปถึงความรู้สึกของเด็ก อาจมีบางคำถามผุดขึ้นตามมาว่า เด็กเหล่านั้นคิดอย่างไรกับการที่รูปของเขาและเธอถูกแปะไว้เต็มกำแพงโรงเรียนด้วยความชื่นชมของผู้ใหญ่ กับอีกมุม แล้วเด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ล่ะ จะรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้? นั่นคือข้อสังเกตประการหนึ่ง...

โครงการวิจัย “สำรวจวาทกรรมเกี่ยวกับการจัดการในชั้นเรียนและการลงโทษของครูระดับชั้นมัธยมศึกษา”

งานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจชุดความคิด/วาทกรรมต่างๆ ที่หล่อเลี้ยงให้ครูยังเลือกใช้การจัดการชั้นเรียนและการลงโทษนักเรียนด้วยความรุนแรง เห็นได้จากปรากฏการณ์ที่ยังมีการตีนักเรียนอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่คำอธิบายต่อการจัดการชั้นเรียนและการลงโทษด้วยความรุนแรงมักเป็นการอธิบายในเชิงพฤติกรรมของครูในฐานะปัจเจกบุคคลซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจความแพร่หลายของปรากฏการณ์การใช้การตีเพื่อการลงโทษได้ โดยมีข้อค้นพบ และประเด็นสำคัญจากการศึกษา ดังต่อไปนี้ หนึ่ง ปรากฎการณ์การลงโทษด้วยความรุนแรงไม่ได้เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเองหากแต่เป็นส่วนหนึ่งและมีความเกี่ยวพันกับปรากฎการณ์ โครงสร้างทางสังคม และชุดวาทกรรมต่างๆ ได้แก่ ความเป็นครูและบทบาทของครูที่ถูกคาดหวังให้เป็นแม่พิมพ์ ที่ต้องขัดเกลาเด็กให้เป็นนักเรียนที่มีความสมบูรณ์แบบและเป็นไปตามมาตรฐานที่สังคมคาดหวัง  อีกทั้งระบบการฝึกฝนครูที่อาจจะไม่ได้แสดงให้เห็นทางเลือกในการจัดการชั้นเรียนและการลงโทษนอกจากการใช้อำนาจ และวัฒนธรรมระบบรุ่นพี่รุ่นน้องและความเคารพอาวุโส (โซตัส) ที่มีความเข้มแข็งในคณะศึกษาศาสตร์หลายๆแห่ง สอง แม้ครูหลายคนจะไม่ใช้การลงโทษด้วยการตี แต่หากตีความผ่านมโนทัศน์เรื่องความรุนแรงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมแล้ว...

เราอยู่ในสังคมเหลื่อมล้ำที่เรียกร้องพลังของ ‘การนำร่วม’ มากกว่าฮีโร่

ทุกปัญญาในสังคมล้วนโยงใยซึ่งกันและกันดั่งตาข่าย สังคมไม่อาจเดินหน้าไปได้หากปัญหาของการศึกษายังไม่ถูกแก้ไข การศึกษาไม่อาจดีขึ้นได้ หากความเหลื่อมล้ำยังถ่างกว้าง ปากท้องของผู้คนไม่อาจอิ่มได้ หากโอกาสในการเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดี มีที่ว่างให้ผู้คนเพียงหยิบมือ ชุมชนไม่อาจแข็งแรงได้ หากการกระจายอำนาจเป็นเพียงภาพฝัน  ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต่างยืนอยู่ท่ามกลางสังคมที่รายล้อมด้วยปัญหาทุกมิติ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำของสังคม ฯลฯ  ขณะนี้ สังคมปัจจุบันเริ่มตั้งคำถามต่อปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังและตรงไปตรงมา  ผู้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า ปัญหาเหล่านี้แก้ได้ สังคมดีกว่านี้ได้ และเราต่างเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงนั้น...

ผู้นำการศึกษาด้วยแนวทาง Phenomenon-based Learning

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพผู้นำการศึกษาด้วยแนวทาง Phenomenon-based Learning โดยวิทยากรกระบวนการหลัก Educluster Finland ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการศึกษาจากประเทศฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม พ.ศ.2560 ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต [pdfjs-viewer url="https%3A%2F%2Fwww.leadershipforfuture.com%2Fwp-content%2Fuploads%2F2017%2F10%2F1dfdcef1ab5f2fc45485533fec607211.pdf" viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true...