Korkankru

ณัฐฬส วังวิญญู

ฉันคือหมาป่าหรือยีราฟ : ทำไมเจตนาดีจึงสวนทางกับคำพูดร้ายๆ

“ทำไมซื้อกับข้าวมาเยอะแยะ บ้านรวยนักหรือไง” พ่อกล่าวกับลูกเมื่อเห็นถุงอาหารเรียงราย แม้เจตนาตั้งต้นของผู้พ่อจะปรารถนาดีต่อผู้เป็นลูกในเรื่องของการใช้เงินก็ตาม ทว่าการสื่อสารด้วยประโยคข้างต้น ต่อให้ไม่เป็นลูก ใครฟังก็คงรู้สึกไม่ดี หรืออาจถึงขั้นไม่รับรู้ถึงเจตนาที่แท้จริงของผู้พูด กระทั่งปิดประตูแห่งความเข้าใจกันและกันไปโดยปริยาย แล้วถ้าเช่นนั้น เราจะสื่อสารกันอย่างไรเพื่อไม่ให้ความสัมพันธ์ชำรุดผุกร่อนด้วยคำพูด ผู้นำแห่งอนาคต ชวนทำความรู้จักเครื่องมือการสื่อสารหนึ่งที่มีชื่อว่า ‘การสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent Communication: NVC)’ คิดค้นขึ้นโดย ดร.มาร์แชล โรเซนเบิร์ก (Dr.Marshall...

เข้าใจกันผ่านส่วนลึกของคำพูด ‘ทำไมคุยกันเท่าไหร่ ก็ไม่เข้าใจกันเสียที’

การสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent Communication) มีจุดเริ่มต้นจากวัยเด็กของ ดร.มาร์แชล โรเซนเบิร์ก (Marshall Rosenberg) ชาวยิวที่เติบโตในประเทศสหรัฐอเมริกา ย่านชุมชนยากจน ขณะนั้นเขาต้องเผชิญกับการเหยียดเชื้อชาติและรายล้อมด้วยความรุนแรง ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และคำพูดมาตั้งแต่เด็ก ด้วยประสบการณ์นี้ ทำให้ ดร.โรเซนเบิร์ก ตั้งข้อสังเกตขึ้นมาว่า เหตุใดมนุษย์เราจึงถูกตัดขาดจากความกรุณา ซึ่งเป็นธรรมชาติพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ แล้วหันไปใช้ความรุนแรงกดขี่ผู้อื่น...

สื่อสารอย่างสันติ ไม่ใช่โลกสวย ให้สังคมอยู่รอดจากความโกรธและโรคระบาด

ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ทั่วโลกมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ยอดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บรรยากาศในประเทศไทยเต็มไปด้วยความวิตกกังวล ประชาชนทุกคนใช้ชีวิตกันอย่างระวังตัว หลายคนหาทางออกเพื่อปกป้องตัวเองด้วยสวมหน้ากากอนามัยแทบจะตลอดเวลา บางคนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการพบปะผู้อื่น เลือกทำงานที่บ้าน เก็บตัว และเริ่มกักตุนอาหาร ความหวาดระแวงที่เกิดขึ้น บ่มเป็นความเครียดสะสม และความเครียดนี่เองกลายเป็นชนวนชวนทะเลาะให้โหมกระหน่ำ ลำพังแค่กักตัวเองอยู่ในบ้านก็เหมือนโดนรุมด้วยความโกรธ เครียด แค้น เศร้า ท่วมโลกโซเชียลมีเดียไปหมด เราต้องอยู่ในสภาพแบบนี้ไปอีกพักใหญ่แน่ๆ...

แตกต่างแต่ไม่แตกแยก: บ่มเพาะกล้ามเนื้อประชาธิปไตยในตัวคุณ

บทสัมภาษณ์คุณณัฐฬส วังวิญญู กระบวนกรสถาบันขวัญแผ่นดิน ในสถานการณ์แบบนี้ ‘การที่เราไม่คุยกัน เพราะกลัวสูญเสียความสัมพันธ์’ มีวิธีการจัดการหรือมีทักษะไหนที่จะช่วยให้เกิดการพูดคุยกันหรือไม่ แล้วแต่สถานการณ์ หากจะคุยก็ควรตั้งคำถามกับตัวเองว่า คุยเพื่ออะไร สำหรับผม ผมชอบที่จะเรียนรู้ความคิดเห็นของคนอื่น ความคิดเห็นที่แตกต่าง เช่น ทำไมเขาถึงสนใจแนวคิดของพรรคการเมืองนี้ อุดมคติเป็นอย่างไร ผมมองว่าในภาพรวมของการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตย มีความจำเป็นที่เราจะต้องเรียนรู้จากความหลากหลายอย่างเคารพและให้เกียรติกัน จิตวิญญาณของประชาธิปไตยไม่ใช่แค่มีการเลือกตั้งแล้วจบ แต่คือการมีส่วนร่วมทางความคิดและการกำหนดทิศทางของบ้านเมือง การอยู่ร่วมกันเราไม่สามารถกำหนดจัดวางสิ่งที่อยากให้เป็นได้ด้วยตนเอง...

นำด้วยญาณทัศนะ: บันทึกการอบรมเชิงปฏิบัติการภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น โมดูลที่ 2

เวิร์คช็อป “นำด้วยญาณทัศนะ”เป็นการอบรมเรื่องการใช้ญาณทัศนะในการทำงานกับผู้คนที่คุณวิแกรม บัตต์ และคณะทำงานจากองค์กร Leadership That Works ประเทศอินเดีย เป็นผู้ออกแบบกระบวนการและนำมาจัดในเมืองไทยเป็นแห่งแรก โดยมี ณัฐฬสวังวิญญู และ ไพลิน จิรชัยสกุล สองกระบวนกรที่ผ่านการเรียนรู้กับคุณวิแกรมที่อินเดีย และเป็นผู้จุดประกายให้คนไทยอีกหลายๆ คนตามไปเรียนด้วย เป็นล่าม [media-downloader media_id="6604" texts="Download...

ภาวะการนำเพื่อการขับเคลื่อนสังคม รุ่นที่ 3 ครั้งที่ 2

เวทีการเรียนรู้ภาวะการนำเพื่อการขับเคลื่อนสังคม หรือ Social Facilitation รุ่นที่ 3 ครั้งที่ 2 มีคุณณัฐฬส วังวิญญู เน้นเรื่องการรู้จักตัวเองอย่างลงลึกเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง โดยอาศัยกระบวนการภาวนา3 มิติ คือ รู้ตัว รู้ตัวตน และรู้ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเจริญสติด้วยการนั่ง ยืน เดิน สัมผัสธรรมชาติ...

ภาวะการนำเพื่อการขับเคลื่อนสังคม รุ่นที่ 3 ครั้งที่ 1

เวทีการเรียนรู้ภาวะการนำเพื่อการขับเคลื่อนสังคม หรือ Social Facilitation รุ่นที่ 3 เน้นกลุ่มคนที่มีความมุ่งมั่นชัดเจนที่จะขับเคลื่อนสังคมในมุมใดมุมหนึ่งตามความสนใจและถนัดของตัวเองเป็นคนรุ่นกลางที่มีศักยภาพสูงและมีความพร้อมที่จะมาเรียนรู้ร่วมกันโดยจะเป็นเรียนสองครั้งต่อเนื่อง ครั้งละ 4 วัน เวทีแรกมีคุณประชา หุตานุวัตร เป็นกระบวนกรหลัก เน้นเรื่องการเติมเครื่องมือ มุมมอง ความเข้าใจ และลงลึกด้านใน เพื่อเชื่อมสู่เวทีที่สอง ซึ่งคุณณัฐฬส วังวิญํู จะมารับไม้เป็นกระบวนกรต่อไป...

ภาวะการนำเพื่อการขับเคลื่อนสังคม รุ่นที่ 2 ครั้งที่ 2

เวทีการเรียนรู้ภาวะการน าเพื่อการขับเคลื่อนสังคม หรือ Social Facilitation รุ่นที่ 2 ครั้งที่ 2 มีคุณณัฐฬสวัง วิญญู และทีมรับไม้เป็นกระบวนกรต่อจาก คุณประชาหุตานุวัตร เป็นเรื่องการรู้จักตัวเองอย่างลงลึกเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ โดยเฉพาะการภาวนา3 มิติ คือ รู้ตัว รู้ตัวตน และรู้ธรรมชาติ...

ภาวะการนำเพื่อการขับเคลื่อนสังคม รุ่นที่ 2 ครั้งที่ 1

เวทีการเรียนรู้ภาวะการนำเพื่อการขับเคลื่อนสังคม หรือ Social Facilitation รุ่นที่ 2 เน้นกลุ่มคนที่มีความมุ่งมั่นชัดเจนที่จะขับเคลื่อนสังคมในมุมใดมุมหนึ่งตามความสนใจและถนัดของตัวเองเป็นคนรุ่นกลางที่มีศักยภาพสูงและมีความพร้อมที่จะมาเรียนรู้ร่วมกันโดยจะเป็นเรียนสองครั้งต่อเนื่อง ครั้งละ 4 วันเวทีแรกมีคุณประชา หุตานุวัตร เป็นกระบวนกรหลัก เน้นเรื่องการเติมเครื่องมือ มุมมอง ความเข้าใจ และลงลึกด้านใน เพื่อเชื่อมสู่เวทีที่สอง ซึ่งคุณณัฐฬส วังวิญญู จะมารับไม้เป็นกระบวนกรต่อไป เวทีการเรียนรู้เครือข่ายภาวะการนำเพื่อการขับเคลื่อนสังคม...

เวทีการเรียนรู้ครั้งที่ 1: ภาวะการนำเพื่อการขับเคลื่อนสังคม

โครงการเสริมศักยภาพภาวการณ์นำเพื่อการขับเคลื่อนกระบวนการทางสังคม เป็นพื้นที่การเรียนรู้เพื่อช่วยลับคมอาวุธทางปัญญาของคนทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้มีความเข้มแข็งและเกาะเกี่ยวกันให้เหนียวแน่น โดยจะจัดเวทีการเรียนรู้รวมสามครั้งให้ผู้เข้าร่วมกลุ่มเดียวกัน โดยกระบวนกรผู้เยี่ยมยุทธ์ในแวดวงการจัดกระบวนการเรียนรู้สามท่านคือ ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ประชา หุตานุวัตร และณัฐฬส วังวิญญู จัดเป็นครั้งแรกที่บ้านอัมพวารีสอร์ท Leadership Capacity for Social Facilitation เวทีการเรียนรู้ครั้งที่ 1 วันที่ 13-16 พฤษภาคม...