Korkankru

โรงเรียนร่วมพัฒนา

เนรมิตลานโล่งให้กลายเป็นพื้นที่โชว์ของ ณ ลานเพลิน Play & Learn จากโรงเรียนบ้านน้อย”ปรึกอุทิศ”

ผ่านพ้นปีที่ 2 ของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) ไปเป็นที่เรียบร้อย โดยในปีนี้ทางโครงการฯ ส่งเสริมให้ผู้คนภายในนิเวศการเรียนรู้ทั้ง ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร และชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่ของตน ผ่านการทำโปรเจกต์ที่ทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของการเรียนรู้อันมีคุณค่าและความหมาย ผ่านการคิด การลงมือทำด้วยตนเอง นับว่าเป็นการทลายกำแพงการเรียนรู้ให้ขยับขยายออกนอกรั้วโรงเรียน โดยทางโรงเรียนบ้านน้อย"ปรึกอุทิศ"...

สายธารแห่งชีวิตสู่การเรียนรู้ที่มีความสุข แรงบันดาลจากโรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศ

ยินดีต้อนรับทุกท่านที่กำลังเดินทางเข้าร่วมงาน… เสียงเรียกเชิญชวนเครือข่ายเข้าสู่บรรยากาศของงาน “ALIVE SPACE : พื้นที่มีชีวิต” 2 ปี โรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศ ภายใต้โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) เปิดภาพสายธารแห่งการเปลี่ยนแปลง เรียงร้อยด้วยเรื่องราวที่ผลิบาน และความร่วมมือจากองคาพยพในระบบนิเวศการเรียนรู้ ทำให้โรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศแห่งนี้อุดมสมบูรณ์และเกื้อกูลกันอย่างลงตัว …..ใบหน้าของครูที่อิ่มเอม เต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวแห่งความหวังเสียงของนักเรียนที่ต้อนรับขับสู้ด้วยความภูมิใจ...

กุญแจสู่ประตูแห่งความหวังของการศึกษาไทย การปลดล็อกจากโรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)

ครบรอบ 2 ปีของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) กับ 5 โรงเรียนนำร่อง ได้จัดเวทีเครือข่าย แสดงพลังสื่อสารสังคม สร้างการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของคนในชุมชน เพื่อทบทวนเส้นทางห้องเรียนที่เปลี่ยนไป เครื่องมือที่เชื่อมให้เกิดห้องเรียนแห่งความรัก รวมทั้งความท้าทายที่แต่ละโรงเรียนได้ก้าวข้าม ล้วนเป็นแรงบันดาลใจที่จะขยายสู่สังคมการศึกษาไทย ซึ่งเวทีแรก ประเดิมด้วย โรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)...

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง : สร้าง “นิเวศการเรียนรู้” สู่ห้องเรียนที่มีความสุขและมีความหมาย

หากต้องการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ต้องเริ่มต้นที่ใคร? คำตอบแรกที่ขึ้นมาในหัวของแต่ละท่านอาจแตกต่างกัน บ้างอาจตอบว่าต้องเริ่มต้นที่ครู บ้างอาจตอบว่าคงต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงจากระบบก่อน ทุกท่านอาจลองเก็บคำตอบนั้นไว้ในใจ เพราะในบทความนี้จะพาไปชมนิทรรศการจากโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง ณ งาน บัวหลวงก่อการครู: เวทีเบิ่งแงงการศึกษาอุดรบ้านเฮา จ.อุดรธานี ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นิทรรศการสะท้อนเสียงของ...

แนวคิดโรงเรียนร่วมพัฒนา

ข้อเสนอแนะ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช เป็น “ความจริง” ของระบบการศึกษาไทย ที่น่าเศร้าใจ และหากมองในมุมบวก ก็เป็นประเด็นที่สังคมไทยต้องกระตุ้นการเปลี่ยนใหญ่ (transformation) ของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่เพียงแต่ทำงานตามคำสั่งของหน่วยงานเหนือ ถูกสะท้อนผ่านภาพการได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้รับคำสั่งที่ดี ไม่เป็น agency หรือผู้ที่ทำงานริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับการทำงานสร้างสรรค์ ในระบบที่ “สุดโหด” (wicked) อย่างระบบการศึกษา โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา...

เด็กกลัวครู… ครูจะปกครองง่ายขึ้นจริงหรือ ?

เธอต้องทำแบบนี้… เธอต้องเรียนตามที่ฉันบอก…หากเธอไม่ทำเธอจะต้องถูกลงโทษ ไม้เรียวสัญลักษณ์ของห้องเรียนไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม้ชี้กระดานเครื่องมือที่ถูกประกอบสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูสามารถชี้จุดที่ตนต้องการให้ผู้เรียนสนใจในขณะนั้นได้ ทว่าไม้ชี้กระดานนั้นกลับถูกวัฒนธรรมการสร้างความกลัวเพื่อง่ายต่อการปกครองครอบงำจนมีวิวัฒนาการกลายเป็นไม้เรียวอาวุธคู่กาย หากใครกระทำผิดหรือไม่เข้าใจในเนื้อหา ไม้เรียวนี้จะถูกตีเข้าไปยังผู้เรียน จนกลายเป็นพฤติกรรมที่ถูกส่งต่อกันมาอย่างช้านาน ความรุนแรงที่ถูกซ่อนอยู่ใต้พรมระบบการศึกษา ภัยร้ายที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ มณี อั่วหงวน หรือ “ครูน้อย” โรงเรียนวัดบ้านห้วยยาว จ.พิจิตร บอกเล่าประสบการณ์การใช้ความกลัวเป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้เรียนตลอดชีวิตการเป็นครูร่วม 30 ปี จนได้รับฉายาลับหลังว่า “แม่เสือ”...