ก่อการครู – Korkankru

ให้เด็กได้ ‘เลือก’ อีกสักครั้ง ข้ามขอบไปคุยเรื่องเด็กหลุดจากระบบ สู่ห้องเรียนระบบ 2 กับ ‘พิเศษ ถาแหล่ง’ ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยซ้อฯ

 “ผมจะทำที่ห้วยซ้อ บ้านผมอยู่ที่นี่ ถึงห้วยซ้อเหลือเด็กแค่ 200 คน ผมก็จะเขียนย้ายมา”   ถ้อยคำยืนยันหนักแน่นของ ‘พิเศษ ถาแหล่ง’ ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เมื่อย้อนพูดถึงครั้งที่สอบผู้บริหารได้เป็นครั้งแรก หลังจากชีวิตราชการก่อนหน้าอยู่ในบทบาทครูฝ่ายปกครองโรงเรียนห้วยซ้อที่คลุกคลีใกล้ชิดอยู่กับเด็กหลากหลายรูปแบบด้วยความเชื่อส่วนตัวที่ว่า การเป็นครูไม่ใช่แค่การจัดการเรียนการสอน แต่เป็นการทำงานที่สัมพันธ์กับชีวิตของเด็กอย่างรอบด้าน  นอกจากเหตุผลที่ว่าห้วยซ้อเป็นโรงเรียนในพื้นที่ ‘บ้าน’ ของตัวเองแล้ว การที่ห้วยซ้อกลายเป็นหมุดหมายของเขาในฐานะผู้อำนวยการ...

นโยบายเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยไปสู่จุดหมาย

‘มหกรรมการศึกษา นิเวศการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้’ ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “ร่วมขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ความเป็นไปได้ใหม่” ชวนสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจทีซีพี (TCP)...

หนังสือ Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ

ภาพจำเกี่ยวกับ Active Learning ของหลายคนมักเกี่ยวข้องกับการสอนที่มีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ การให้ผู้เรียนได้จับกลุ่มคุยหรือทำกิจกรรมร่วมกัน หรือการให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกายทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ตำราต่าง ๆ ก็มักพูดถึง Active Learning ในแง่ของวิธีการนำไปใช้ ซึ่งหนีไม่พ้นการบอกเล่าเกี่ยวกับเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอน ทำให้ Active Learning มักถูกมองว่าเป็นเรื่องวิธีการสอน (Concept of Teaching) มากกว่าเป็นเรื่องวิธีการเรียนรู้...

ไม่มี one size fits all สำหรับการพัฒนาการศึกษาไทย จากเลนส์นักกระบวนกร
กับการพัฒนาโมเดลต้นแบบโรงเรียนปล่อยแสง

ลองจินตนาการถึงระบบการศึกษาไทยที่เปิดกว้างและมีหลักสูตรการสอนหลากหลาย ผลผลิตที่ได้คงจะงดงามเหมือนดอกไม้หลากสี และประเทศไทยคงมีบุคลากรงอกงามในหลากหลายเส้นทางและความสามารถ แต่ในความจริงโรงเรียนและบุคลากรทั้งครูและนักเรียน มักต้องเดินบนเส้นทางที่ถูกตีกรอบไว้ทางเดียว จนไม่อาจจินตนาการถึงทุ่งดอกไม้ที่เต็มไปด้วยสีสัน เมื่อโครงการโรงเรียนปล่อยแสงที่มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของครูและนิเวศการเรียนรู้ในทั้งหกโรงเรียนมาต่อเนื่องถึงปีที่ 3 จึงอยากเห็นโมเดลที่พัฒนาต่อไปให้แต่ละโรงเรียนงอกงามในแบบเฉพาะของตนเอง  “เป็นไปได้ไหมที่โครงการโรงเรียนปล่อยแสงจะสร้างโมเดลต้นแบบที่ช่วยพัฒนานิเวศการเรียนรู้ เรามีหกโรงเรียน ก็จะมีหกโมเดลต้นแบบที่ตอบโจทย์ต่างกัน อันนี้คือเป้าหมายระยะยาวโครงการ” “เกด”-ธุวรักษ์ ปัญญางาม ผู้ก่อตั้ง Insights for Change หนึ่งในกระบวนกรที่เข้ามาช่วยโครงการโรงเรียนปล่อยแสง บอกเล่าถึงการออกแบบกระบวนการในปีที่...

ปี 2024 แล้ว ยังจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทยอยู่หรอ?

Highlight : การศึกษา ถูกมองในฐานะแขนขาของรัฐในการสร้างและผลิตซ้ำอุดมการณ์ เพื่อกล่อมเกลาหรือปลูกฝังให้บุคคลภายใต้อำนาจรัฐมีทัศนคติ ท่าที่ ความรู้สึก ผ่านแบบเรียนหรือหลักสูตรการศึกษาของรัฐ ซึ่งมีจุดเน้นที่ต่างไปตามยุคขึ้นอยู่กับความท้าทายหรือภัยคุกคามทั้งจากการเมืองภายในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้น ปัจจุบันโลกเชื่อมโยงเข้าหากันในลักษณะไร้พรมแดน ทำให้เห็นการเคลื่อนย้ายของผู้คนต่างชาติพันธุ์มากยิ่งขึ้น วัฒนธรรมไม่ได้ถูกตรึงไว้เพียงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอีกต่อไป ความหลากหลายจึงไม่อาจถูกกดทับไว้ไดังเช่นที่เคยเป็นในอดีต ประกอบกับการตื่นตัวของสังคมในประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีมากขึ้น จึงเป็นโจทย์สำคัญของรัฐในการออกแบบนโยบายในยุคที่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้น  เริ่มปรากฏคำว่า ‘การศึกษาพหุวัฒนธรรม’ ในด้านการศึกษาของรัฐไทย โดยมุ่งนำแนวนโยบายไปใช้ในพื้นที่ที่มีกลุ่มวัฒนธรรมรองหรือกลุ่มชาติพันธุ์  งานศึกษาจำนวนหนึ่งชี้ให้เห็นว่า การจัดการศึกษาดังกล่าว...

พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ: การจัดการเรียนรู้แบบเชื่อมโลกและชีวิต ด้วยวิธีคิดแนวราบ

สังคมไทยในอดีตชุมชนเติบโตคู่กับวัดอย่างแยกไม่ออก นอกจากจะเป็นที่พึ่งทางใจ วัดยังเป็นสถานศึกษาบ่มเพาะเยาวชนอีกด้วย ดังนั้น “พระสงฆ์” จึงมีบทบาทสำคัญในฐานะตัวละครหนึ่งของระบบการศึกษาไทยมาอย่างยาวนาน  อย่างไรก็ตามเพราะความเป็น “พระ” ที่สืบทอดคำสอนและความศักดิ์สิทธิ์ ก็ทำให้การเข้าไปจัดเรียนการสอนศาสนาในโรงเรียนปัจจุบันไม่ได้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่กลายเป็นทางแพร่งระหว่างการอบรมชี้ถูกผิด ให้นักเรียนกลายเป็นคนดี กับอำนาจเหนือท่ามกลางมายาคติของสังคมในการควบคุมชั้นเรียน  “พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ” หรือ “พระอิฐ” ผู้เข้าสู่เพศบรรพชิต มีชื่อในทางธรรมว่า “โชติปญฺโญ” จากจังหวัดตรังกลับค้นพบเส้นทางที่แตกต่างสำหรับการสร้างการเรียนรู้...

ประกาศรายชื่อก่อการครูรุ่น 6 (ผ่านรอบสัมภาษณ์)

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจร่วมเดินทางแห่งการเรียนรู้ เพื่อก่อร่างสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้ร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้สมัครทุกท่าน ในกิจกรรมอื่น ๆ ของโครงการ

Eco school โรงเรียนตื่นรู้เชิงนิเวศน์ที่ศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์

“ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน และ “ครูนุช” นุชวรา ปูรณัน ผู้บริหารรุ่นสองของโรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เติบโตมากับพ่อแม่ธนินทร์ ปูรณัน ผู้จัดการโรงเรียนและ ศันสนีย์ ปูรณัน ครูใหญ่ ผู้ทุ่มเทชีวิตให้กับการพัฒนาโรงเรียนมายาวนาน “ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน “ครูนุช”...

นิเวศการเรียนรู้ฉบับป่าธรรมชาติ ณ “โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์”

หากเปรียบ “มนุษย์” เป็นดัง “ต้นไม้”   เราจะรู้ความสามารถในการเติบโตของกล้าไม้ต้นหนึ่งได้อย่างไร หากจำกัดพื้นที่ปลูกไว้เพียงกระถางปูนเล็กจ้อย และเราจะค้นพบศักยภาพแท้จริงของมนุษย์คนหนึ่งได้อย่างไร หากจำกัดรูปแบบการเรียนรู้ไว้เพียงเส้นทางเดียว  “ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน และ “ครูนุช” นุชวรา ปูรณัน สองสาวพี่น้องผู้บริหารรุ่นสองของโรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา นิยามการสร้างระบบนิเวศของโรงเรียนตรงกันว่าคล้ายการเกิดของป่าธรรมชาติ เพราะการเติบโตของเด็กไม่เหมือนการปลูกพืชในพื้นที่จำกัดแล้วหยอดปุ๋ยเร่งโต ทว่าคือการส่งเสริมให้กล้าไม้หรือ...

โรงเรียนปลอดขยะ จุดเริ่มต้นการสร้างจิตสำนึกสู่สังคม เพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ต่อนักเรียน

ก่อนเทอมสุดท้ายของภาคเรียนที่ 2 ปี 2566 จะปิดลง ในเวลาใกล้เลิกเรียนมีดอกอินทนิลสีม่วงจางคว้างกลีบไปมาเป็นฉากหลัง พร้อมกับบรรยากาศจอแจของเด็กนักเรียนด้านหน้าประตูทางออก ท่ามกลางแก้วน้ำพลาสติก ขวดน้ำ และเศษขยะยิบย่อยก็ปลิวเกลื่อนกระจัดกระจายทั่วถนน  ผลมาจากขยะของทุกคนในโรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ที่ทิ้งมาแต่เช้าจรดค่ำจนล้นถัง “ตอนนั้นยังไม่ได้ย้ายมาบรรจุที่นี่แต่มีโอกาสเข้ามาคุมสอบ กศน. ที่โรงเรียนคำแสนฯ เราเห็นสภาพโรงเรียนมีแต่ขยะ เอ๊ะทำไมอะไรกันนักหนาเรียกว่าสกปรกเลยว่าได้” ครูปิ๋ว-อุไรวรรณ บุญเต็ม ครูชำนาญการพิเศษ ที่เล่าถึงสภาพแวดล้อมเมื่อหลายสิบปีก่อน  ร่องรอยในอดีตนั้นยังหลงเหลือตกค้างมาถึงปัจจุบันอยู่บ้าง...