ก่อการครู – Korkankru

บทความ / บทสัมภาษณ์

เมื่อการสอนไม่เพียงพอ ถึงเวลาครูข้ามขอบ ข้ามขอบฟ้าไปเป็นกระบวนกร

จุดมุ่งหวังของโครงการห้องเรียนข้ามขอบการพัฒนา ‘นวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบใหม่’ ที่มุ่งสร้างระบบนิเวศการเรียนและการศึกษาที่ยืดหยุ่น ‘ครู’ จึงเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ ยิ่งครูเต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพในการจัดการเรียนรู้มากเท่าไหร่ เด็กก็จะสามารถข้ามขอบไปได้ไกล มากไปกว่าครูในระบบ ห้องเรียนข้ามขอบยังขยับชักชวนเหล่าผู้สร้างการเรียนรู้และสถานีการเรียนรู้ เข้ามาร่วมขบวนข้ามขอบสร้างการเรียนรู้แบบใหม่ไปพร้อมๆ กัน ด้วยความพยายามก้าวเล็กๆ แต่ต่อเนื่องจาก ‘เชียงดาวเมืองแห่งการเรียนรู้’ สิ่งที่เป็นผลสืบเนื่องต่อยอดกันมาคือการที่เหล่าสถานีการเรียนรู้พร้อมที่จะขยับต่อไปด้วยกันอย่างแข็งแรง บทบาทของครูในพื้นที่การเรียนรู้ แค่การ ‘สอน’ ไม่เพียงพออีกต่อไป ‘บอกวิชาความรู้ให้ (กริยา)’...

พระคุณที่สาม ยังแจ่มใสอยู่ไหม ?

highlight เพลงไหว้ครูที่คุ้นหูตั้งแต่จำความได้ สร้างวาทกรรม ความเชื่อ สู่การสร้างอัตลักษณ์และมายาคติความเป็น “ครูไทย” “ความเสียสละ”  กลายเป็นเครื่องมือใช้งานนอกเหนือขอบเขตการสอนและหน้าที่ครู จึงกลายเป็นภาระใหญ่ไม่รู้ตัว พร้อมกับถูกละเลยสวัสดิภาพที่ควรได้รับ ทำความเข้าใจปรากฎการณ์การลาออกราชการของครู ด้วย “การให้ความสำคัญต่ออัตลักษณ์” เพื่อชี้ให้เห็นว่า ปัญหาครูหมดไฟหรือครูลาออก ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตัวของครูเอง “...ครูบาอาจารย์ ที่ท่านประทานความรู้มาให้อบรมจิตใจ ให้รู้ผิดชอบชั่วดีก่อนจะนอนสวดมนต์อ้อนวอนทุกทีขอกุศลบุญบารมีส่งเสริมครูนี้ให้ร่มเย็น ครูมีบุญคุณจะต้องเทิดทูลเอาไว้เหนือเกล้าท่านสั่งสอนเรา อบรมให้เราไม่เว้นท่านอุทิศ...

ให้เด็กได้ ‘เลือก’ อีกสักครั้ง ข้ามขอบไปคุยเรื่องเด็กหลุดจากระบบ สู่ห้องเรียนระบบ 2 กับ ‘พิเศษ ถาแหล่ง’ ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยซ้อฯ

 “ผมจะทำที่ห้วยซ้อ บ้านผมอยู่ที่นี่ ถึงห้วยซ้อเหลือเด็กแค่ 200 คน ผมก็จะเขียนย้ายมา”   ถ้อยคำยืนยันหนักแน่นของ ‘พิเศษ ถาแหล่ง’ ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เมื่อย้อนพูดถึงครั้งที่สอบผู้บริหารได้เป็นครั้งแรก หลังจากชีวิตราชการก่อนหน้าอยู่ในบทบาทครูฝ่ายปกครองโรงเรียนห้วยซ้อที่คลุกคลีใกล้ชิดอยู่กับเด็กหลากหลายรูปแบบด้วยความเชื่อส่วนตัวที่ว่า การเป็นครูไม่ใช่แค่การจัดการเรียนการสอน แต่เป็นการทำงานที่สัมพันธ์กับชีวิตของเด็กอย่างรอบด้าน  นอกจากเหตุผลที่ว่าห้วยซ้อเป็นโรงเรียนในพื้นที่ ‘บ้าน’ ของตัวเองแล้ว การที่ห้วยซ้อกลายเป็นหมุดหมายของเขาในฐานะผู้อำนวยการ...

เชื่อมคน เชื่อมการเรียนรู้ สู่การศึกษาไร้รอยต่อ

“ในประเทศไทยมีคนที่ทำงานเพื่อเด็กและเยาวชนมาก มีผู้ที่พยายามทำศูนย์การเรียนรู้โดยอาศัยอำนาจในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีองค์กรที่พยายามช่วยเหลือเด็กให้ได้เรียนรู้ในรูปแบบอื่นๆ โดยที่ยังไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ ทำงานร่วมกันกับการศึกษาในระบบโดยยังไม่ผนวกเข้ามาเป็นองคาพยพที่สำคัญในหลักสูตร มีส่วนราชการจำนวนไม่น้อยที่ทำเรื่องนี้โดยตรงและพยายามทำงานในเชิงระบบ รอยต่อของผู้เกี่ยวข้องนี้เองคือสิ่งที่เชิญทุกคนมาร่วมในวันนี้” รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี หัวหน้าคณะทำงานทางวิชาการ SATการศึกษาและการเรียนรู้ กล่าวเปิดงานสัมมนา เมื่อรัฐที่เป็นหน่วยงานสำคัญในการกำหนดวาระ จัดสรรทรัพยากรและงบประมาณ ขณะที่ผู้สร้างนวัตกรรมทางการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในหน่วยงานภาครัฐ มุ่งเน้นทำงานในพื้นที่เล็กๆ ของตนเอง...

งานวิจัยใหม่ สู่การศึกษาไร้รอยต่อ

“การศึกษาไร้รอยต่อ” เป็นคำใหม่ ศัพท์ใหม่ ที่โครงการ SAT การศึกษาและการเรียนรู้ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้เป็นธงนำในการฉายภาพรวมของปัญหาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของประเทศไทย ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างจินตนาการใหม่ ให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน เพื่อนำองค์ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ มาร่วมกันปฏิรูปการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ ผู้มีส่วนสำคัญหนึ่ง คือหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมทางด้านการศึกษาและการเรียนรู้  ขณะที่ SAT เองก็พร้อมจะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  จึงเป็นที่มาของการจัดงานสัมมนาวิชาการ...

สู่การศึกษาไทยไร้รอยต่อ

สู่การศึกษาไทยไร้รอยต่อ จากการทำงานในระยะที่หนึ่งของ SAT การศึกษาและการเรียนรู้ หรือ Strategic Agenda Team ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานทางวิชาการ และเครือข่ายของหน่วยปฏิบัติการ ที่มีชุดความรู้จากการปฏิบัติให้กับ สกสว. เพื่อนำความรู้นี้มาขับเคลื่อนระบบการศึกษา เราพบว่าการศึกษาไทยนั้นมี “รอยต่อ” ทั้งในแง่ของตัวระบบเอง ในด้านความหลากหลายของผู้เรียน ในด้านของศาสตร์ความรู้ หรือแม้แต่รอยต่อของผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคการศึกษา  การศึกษาไร้รอยต่อ (Seamless...

ทำไมเราจึงต้องการ “ห้องเรียนข้ามขอบ”

หากจะพูดถึงปัญหาที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากระบบการศึกษา- ไทยเรายังคงได้ยินเรื่องเดิมซ้ำๆ ต่อเนื่องแทบทุกจะช่องทางทั้งบทความงานเสวนา หรืองานวิจัยและก็ดูเหมือนจะเป็นไปในทิศทางที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่มีเด็กกว่า 1.02 ล้านคนที่หลุดจากระบบการการศึกษา เด็กมากมายขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ และได้รับสิทธิที่ควรจะได้รับ แต่การศึกษาในระบบก็ไม่ตอบโจทย์ทักษะที่จำเป็นในอนาคต และไม่ยืดหยุ่นพอที่จะตอบสนองต่อความสนใจหรือเป้าหมายในชีวิตของเด็กแต่ละคน ทำให้คนที่ได้วุฒิจากระบบการศึกษาไม่มีทักษะที่พร้อมนำไปใช้ทำงานได้จริง รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาสำคัญต้องเฝ้าระวังในขณะนี้  ดังนั้นถ้าจะตอบคำถามว่า ทำไมเราจึงต้องการ “ห้องเรียนข้ามขอบ” ก็คงต้องกลับไปทำความเข้าใจกันก่อนว่า แล้ว “ขอบ” ที่กำลังชวนทุกคนข้ามนั้น มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับปัญหาข้างต้นอย่างไร...

‘ห้องเรียนข้ามขอบ’ ข้ามขอบฟ้าไปเป็นเยาวชนพลเมืองโลก การศึกษาไทยต้องไม่เหมือนเดิม

เวลาที่เรานึกถึงห้องเรียนในโรงเรียนเรานึกถึงอะไรได้บ้าง? เราอาจจะนึกถึงวิชาเรียนหลายๆ ตัวที่ยังหาคำตอบไม่ได้ด้วยซ้ำว่าจะลําบากตรากตรําไปเพื่ออะไร อาจจะนึกถึงเวลาที่ตอบคำถามผิด แล้วดูแย่ในสายตาคนอื่น หรือถูกตัดสินว่าความคิดของเรามันอาจเป็นไปไม่ได้ นี่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งข้อดีของโรงเรียนก็มีให้เห็นมากมาย และก็มีช่องโหว่อีกมากภายใต้ระบบและกรอบที่ครอบงำมันเอาไว้ แต่สำหรับที่นี่ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กลับมีความพยายามที่จะค่อยๆ ขยับขอบเพื่อเปิดน่านฟ้าใหม่ให้กับการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่จำกัดกรอบอยู่แค่ในระบบโรงเรียนเพียงแบบเดียวเท่านั้น ‘เชียงดาวเมืองแห่งการเรียนรู้’ จึงเริ่มก่อการผ่านการชักจูงผู้คนในเมืองที่มีศักยภาพหลายหลาก มากระจายอำนาจทางความรู้ สร้างสรรค์กิจกรรมด้วยกัน เป็นเทศกาลการเรียนรู้ที่สนุกสนานอย่าง ‘ตุลามาแอ่ว’...

ห้องเรียนดีๆ สักห้องเกิดขึ้นได้อย่างไร? ถอดรหัสนวัตกรรมห้องเรียนของคุณครูนักออกแบบ

คุณเคยนั่งเรียนในห้องเรียนที่ทำให้รู้สึกประทับใจไม่ลืมไหม?  อาจเป็นชั่วโมงเรียนที่เปลี่ยนมุมมองบางอย่าง พาคุณไปเจอกับคำถามอันน่าฉงน ชักชวนให้ปะติดปะต่อข้อมูลความรู้อย่างสนุกสนาน  หรืออาจเป็นห้องเรียนธรรมดาๆ แต่มีคุณครูที่จุดประกายให้คุณอยากไปเรียนรู้ต่อ “คนมักเข้าใจว่าถ้าครูสอนดี ห้องเรียนจะดี แล้วเด็กก็จะดีไปเอง เราต้องมองถึงองค์ประกอบที่ซับซ้อนกว่านั้น ไม่ติดกับดักของภาพห้องเรียนดีๆ ที่ปลายทาง แล้วเอาความกดดันมาลงที่ครูว่าต้องทำให้ได้ ครูต้องสอนเก่ง”รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี มองว่าห้องเรียนที่ดีไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ ภายใต้ข้อจำกัดมากมายของระบบโรงเรียน ยังมีครูจำนวนหนึ่งที่เปี่ยมด้วยพลังสร้างสรรค์ คณะทำงานวิชาการ SAT การศึกษาและการเรียนรู้...

การคัดเลือก ‘รอบพอร์ต’ กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- Highlight : พอร์ตฟอลิโอ (Portfolio) เป็นเครื่องมือสะท้อนเส้นทางการเรียนรู้ ความสนใจผ่านกิจกรรมที่เข้าร่วม ความโดดเด่นและความเป็นเลิศของนักเรียน เพื่อพิจารณาด้านอื่น ๆ นอกเหนือการสอบวัดผลเกิดเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ในระบบการคัดเลือก เพราะความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ ต้องอาศัยการสนับสนุนทั้งเวลา ทุนทรัพย์ จากครอบครัวอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ “ธุรกิจการปั้นพอร์ต” เพื่อเป็นผลงานประกอบการเข้าเรียนประตูสู่การศึกษาบานใหญ่กลายเป็นด่านคัดกรอง ตรวจสอบความพร้อม ที่พิจารณาเพียงความสามารถ...