Korkankru

Social Enterprise

เรียนวิชาทักษะชีวิตกับครูที่ชื่อว่า ‘พ่อแม่’

ในแวดวงกิจการเพื่อสังคม นก-ธนัน รัตนโชติ คือผู้ก่อตั้ง PLANT-D สวนผักอินทรีย์ของคนเมืองที่ตั้งต้นและต่อยอดจากปัญหาผู้สูงอายุ แต่อีกหนึ่งบทบาทสำคัญคือคุณพ่อลูกสองที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเรียนรู้ให้ลูกด้วยตัวเอง “มันเริ่มมาจากผมสนใจโรงเรียนทางเลือก” ธนันเรียนจบสายวิศวะ แต่ปัจจุบันผันตัวมาทำงานด้านกิจการสังคม เขาแสวงหาความรู้ในสายการตลาดด้วยตัวเอง  “ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างที่ผมทำงานประจำและเริ่มทำธุรกิจส่วนตัว ผมเรียนรู้วิชาหลายๆ อย่างด้วยตัวเอง เช่น การเงิน การวางกลยุทธ์ การวางแผนองค์กร ผมเห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้น ผมพบว่าคนเราไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานตรงสายที่เรียนมาก็สามารถเรียนรู้จากทุกที่ ไม่ใช่แค่สถาบันการศึกษาในกระแสหลักเท่านั้น”...

ธนัน รัตนโชติ วิศวกรผู้หลงรักการตลาด และเชื่อว่าธุรกิจกับสังคมงอกงามไปพร้อมกันได้

“ภารกิจเดียวของผมคือต้องจีบสาวให้ได้” คือคำอธิบายช่วงชีวิตเมื่อครั้งเป็นนักศึกษาของ นก-ธนัน รัตนโชติ ผู้ที่ปัจจุบัน เรารู้จักเขาในนามของผู้ก่อตั้งกิจการเพื่อสังคม PLANT-D สวนผักอินทรีย์ของคนเมืองที่ถือกำเนิดจากปัญหาผู้สูงอายุ มากกว่านั้น เขายังเป็นนักวางแผนกลยุทธ์ นักการตลาด Startup และ Founder ทว่าภาพทั้งมวลที่เรากล่าวมานั้น คือยอดภูเขาที่ธนันใช้เวลากว่าครึ่งชีวิตล้มลุกคลุกคลานและประสบกับคำว่าล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน นั่นจึงทำให้บทสนทนาของเราในวันนี้ เริ่มต้นด้วยการนั่งไทม์แมชชีนไปสำรวจรายทางชีวิต ว่าเขาผ่านเส้นทางแบบไหนมาบ้าง “วัยมัธยมและตอนใกล้จบเราไม่เห็นคุณค่าต่อการเรียนสักเท่าไหร่ แต่สนใจการเต้นเชียร์ลีดเดอร์...

จุดนัดพบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสังคม

ถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านกระบวนการทำงานและสร้างความเข้มแข็ง ของพื้นที่ผ่านภาวะการนำร่วม (Collective Leadership) และการหนุนเสริม การทำงานในการยกระดับการขับเคลื่อนสังคมด้วยเครื่องมือและนวัตกรรม รวมถึงการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยมีพื้นที่กลุ่มเป้าหมายจำนวน 4 พื้นที่ ทำงานขับเคลื่อน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาแกนนำหลักสูตรนักเปลี่ยนแปลงสังคมสู่พังงาแห่งความสุข, โครงการสร้างผู้นำแห่งอนาคตจังหวัดเชียงราย, โครงการพัฒนาแกนนำขับเคลื่อนงาน วัฒนธรรมตำบลโคกสลุงเพื่อต้นแบบการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดลพบุรี และ โครงการขอนแก่นนิวสปิริต...

ผู้นำภาคธุรกิจพบผู้นำภาคประชาสังคม ครั้งที่ 3

เวทีสัมมนาผู้นำภาคธุรกิจพบผู้นำภาคประชาสังคมเกิด จากความร่วมมือระหว่างโครงการผู้นำแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันบริหารและจิตวิทยา (MPI) โดยเชิญผู้นำจากสองภาคส่วนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบข้ามศาสตร์เพราะในโลกปัจจุบัน ผู้นำแห่งอนาคตจำต้องเรียนรู้ภูมิรัฐศาสตร์ภูมิเศรษฐศาสตร์เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และรู้จักตัวเองเวทีสัมมนาดังกล่าวจึงจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อให้ผู้คนจากหลายๆ ฝ่ายได้มารู้จักและเรียนรู้จากกัน เพราะเชื่อว่าจะเป็นเงื่อนไข เป็นบริบทสำคัญของการพัฒนาตัวเองและบ้านเมือง [pdfjs-viewer url="https%3A%2F%2Fwww.leadershipforfuture.com%2Fwp-content%2Fuploads%2F2018%2F02%2FMPI-minute-171101-04-final-1.pdf" viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true print=true] [media-downloader media_id="6949"...

บันทึกการเรียนรู้เวทีพัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้วยเครื่องมือสนับสนุนความยั่งยืนการขับเคลื่อนทางสังคม ครั้งที่ 2

หลังจากเรียนรู้และวางแผนกลยุทธ์ไปในการเวทีครั้งแรก เวทีพัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้วยเครื่องมือสนับสนุนความยั่งยืนการขับเคลื่อนทางสังคมครั้งที่ 2 เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่อง “การคิดและวางแผนการเงินแบบผู้ประกอบทางสังคม” ซึ่งโครงการผู้นำแห่งอนาคตคิดว่าเป็นประเด็นสำคัญเพราะเงินเป็นต้นทุนที่ทำให้งานนวัตกรรมทางสังคมเคลื่อนขยายตัว และเกิดผลกระทบได้จริง แต่คุณพรจรรย์ ไกรวัตนุสสรณ์ และคณะทำงานจาก School of Change Maker ซึ่งเป็นผู้จัดกระบวนการกล่าวว่าเวทีครั้งนี้ ไม่ใช่การมาเรียนเรื่องการคิดเงินซึ่งเป็นเรื่องง่าย แต่มาเรียนรู้วิธีคิดเรื่องเงินซึ่งเป็นเรื่องยากเป็นกับดักเป็นปัญหาขององค์กรภาคสังคมจำนวนมาก โดยการชวนมาทำเครื่องมือบางอย่าง ชวนให้แต่ละเครือข่ายคุยกับตัวเองเรื่องวิธีการคิดเงินของตน และวิธีการเข้าถึงเรื่องเงินในการทำงานองค์กรภาคสังคม [pdfjs-viewer...

เวทีเครือข่ายเรียนรู้ผู้นำแห่งอนาคต (CL1) ฉบับสรุป

เวทีเครือข่ายเรียนรู้ผู้นำแห่งอนาคต (ฉบับสรุป) วันที่ 9-12 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ณ โรงแรมสวนสามพราน ริเวอร์ไซด์ อ.สามพราน จ.นครปฐม [pdfjs-viewer url="https%3A%2F%2Fwww.leadershipforfuture.com%2Fwp-content%2Fuploads%2F2017%2F10%2F3fb7d3419b774bda7a7ad029fb027386.pdf" viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true print=true] [media-downloader media_id="3951"...