Korkankru

คลังความรู้

ก่อการครูอีสาน : สานเครือข่าย สร้างการเฮียนฮู้

“ก่อการครูอีสาน” คือ ขบวนการของเครือข่ายการทำงานขับเคลื่อนด้านการศึกษาในพื้นที่ภาคอีสาน โดยความร่วมมือของเครือข่ายครูแกนนำจากจังหวัดต่าง ๆ ในภูมิภาค ซึ่งได้วางแผนการขับเคลื่อนร่วมกันตั้งแต่ เวทีพัฒนาศักยภาพการเป็นกระบวนกร (Training of the Trainers) โมดูล 1 ที่ผ่านมา ขณะนี้ความเคลื่อนไหวของขบวนการดังกล่าวได้เริ่มปรากฏให้เห็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในพื้นที่อีสาน ด้วยความหวังว่าพวกเขาจะร่วมกันสร้างเส้นทางการเรียนรู้ที่มีความหมายโดยครูอีสานเพื่อลูกหลานอีสานอย่างแท้จริง ก่อการครูกาฬสินธุ์ : ความเป็นไปได้ใหม่ที่ทลายกรอบเดิม เมื่อวันเสาร์ที่...

คน เคลื่อน คน : การศึกษาการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม

คน เคลื่อน คน หนังสือที่ก่อร่างขึ้นจากรวมบทความภายใต้โครงการวิจัย การศึกษาเรียนรู้ในชุมนุมเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม  ที่เขียนขึ้นโดยคณะนักวิจัยผู้ทำงานภาคสนามของโครงการผู้นำแห่งอนาคต โดยเป็นหนังสือที่มุ่งมองการขับเคลื่อนภาคประชาสังคมผ่านแว่นของการนำร่วม ว่าด้วย "คน" ที่เป็นผู้ทำงานภาคประชาสังคมเป็นพลังร่วมในการ "เคลื่อน" ขยับและเขยื้อน "คน" ซึ่งหมายความถึงชุมชนทั้งหมดให้ไปต่อได้ในเส้นทางแห่งความหวังร่วมกัน โดยการขับเคลื่อนที่เกิดขึ้นเป็นการขับเคลื่อนที่มิได้สร้างผู้นำ หรือ ฮีโร่ เพียงหนึ่งเดียว หากแต่เป็นการรวมพลังทางความคิด แรงกาย แรงใจของคนในชุมชนและเครือข่ายผู้อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในชุมชนและถิ่นที่ของตัวเองให้ก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน...

ความสัมพันธ์ ความกล้า ปัญญาร่วม : ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู

PLC (Professional Learning Community : ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ) คืออะไร?   คุณครูหลายท่านอาจรู้จัก PLC ในฐานะของ “การประชุมครู” เพื่อทบทวนภาระงานต่าง ๆ หรือหยิบยกบางประเด็นที่อาจมองว่าเป็นปัญหา มาร่วมพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนกัน หลายครั้งวง PLC นี้อาจจบลงด้วยการมอบหมายงานให้คุณครูบางท่านไปดำเนินการต่อ หรือมีแนวทางแก้ปัญหาจากประเด็นพูดคุย  เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็ทำการนับเวลาประชุม...

ครูบุกหมู่บ้าน ย้ายห้องเรียนสู่ชุมชน: บ้านหนองโน อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์

รถพุ่มพวง คือสัญลักษณ์ของการเข้าถึง หลากหลาย เลือกได้ และจ่ายไหว ไม่ต่างกัน รถพุ่มพวงการศึกษาในความหมายของ 'ครูตู้ ครูตุ๋ม และครูฝน’ คือการเรียนรู้ที่ง่าย เข้าถึง จับต้องได้ และผู้เรียนรู้สึกอิสระ “เมื่อเด็กมาโรงเรียนไม่ได้ ก็ยกห้องเรียนไปไว้ในชุมชนเลยแล้วกัน” ไม่มีกำแพง ไม่มีหลังคา มีเพียงเสื่อปูพื้น กระดาษฟลิปชาร์ท มีคุณครู...

เมล็ดข้าวเปลือกไทยเบิ้ง “บ้านเราเท่ที่สุด”

“เมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งเมล็ดที่มีความสมบูรณ์​ มันไปตกที่ดินดี น้ำชุ่ม ได้รับการดูแลอย่างดี มันจะเติบโตเป็นต้นข้าวอีก 1 กอที่งอกงาม แล้วให้ผลผลิตอีกนับร้อยนับพันเมล็ด” เรื่องราวของกลุ่มเยาวชนเมล็กข้าวเปลือกไทยเบิ้ง บ้านโคกสุลง จังหวัดลพบุรี กับการเรียนรู้ในห้องเรียนชุมชน ผ่านปราชญ์และภูมิปัญญาของกลุ่มวัฒนธรรมไทยเบิ้ง และการปรับประยุกต์ภูมิปัญญาเป็นการเรียนรู้ที่หลากหลาย

วรรณา จารุสมบูรณ์: เชื่อมคน เชื่อมเมืองเพื่อขอนแก่นที่ดีกว่านี้

ไกลออกไปจากมหานครราว 452 กิโลเมตร คือสถานที่ตั้งของขอนแก่น จังหวัดที่มีเหลี่ยมมุนี่มในการพูดคุยที่หลากหลาย ไล่เรียงตั้งแต่เรื่องปากท้องของชนรากหญ้า ไปจนถึงการพัฒนาเมืองที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด แน่นอนว่า เราไม่อาจแยกเมืองออกจากคนได้ เพราะการเติบโตของเมืองนั้น มีผู้คนในทุกระดับชั้นเป็นฟันเฟืองสำคัญในการไขลานเมืองมิให้เป็นอัมพาต  เรื่องราวของวิดิโอนี้จึงเกี่ยวพันกับ ‘ปัญหา’ ที่ขนาบคู่มากับการเติบโตของเมือง และเชื่อมโยงไปยัง ‘คน’ มากมายที่พยายามสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งจากภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา และประชาชน 

พังงาแห่งความสุข: ความสุขร่วมสร้างของคนพังงา

เมืองที่เพียบพร้อมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม อัตลักษณ์พื้นถิ่น อาหารการกิน และชาติพันธุ์ เมืองที่ควรจะมีความสุขโดยไม่มีเงื่อนไข แต่หลายปีที่ผ่านมา พังงากลับต้องต่อสู้กับสารพัดปัญหาที่ประเดประดังถาโถม โดยเฉพาะหลังคลื่นยักษ์เมื่อปี 2547 ไม่มากก็น้อย สึนามิคือตัวแปรที่ทำให้คนท้องถิ่นเริ่มตระหนักถึงคุณค่าของบ้านเกิด และมองปัญหาตรงหน้าด้วยความรู้สึกที่ว่า พังงาดีกว่านี้ได้ กว่า 10 ปี ที่คนกลุ่มต่างๆ ในพังงาร่วมกันทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกัน วันนี้ความสุขเริ่มผลิดอก รอยยิ้มเริ่มออกผล...

โคกสลุง รักษาอดีตด้วยอนาคต

โคกสลุง เผชิญวิกฤตหลายครั้ง ทั้งจากการวางผังเมืองที่กำหนดให้โคกสลุงเป็นเขตอุตสาหกรรม การสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่สร้างความกังวลสู่คนในชุมชนชาวไทยเบิ้ง ด้วยเกรงว่าวัฒนธธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อาจสูญหาย หรือกระทั่งถูกลืม อันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่อาจเปลี่ยนโฉมหน้าของชุมชนไปตลอดกาล แต่คนไทยเบิ้งหาใช่ยอมศิโรราบ พวกเขาต่อสู้อย่างชาญฉลาด ผ่านการนำวัฒนธรรมมาเป็นทุนในการต่อรองกับภาครัฐ กระทั่งสามารถเปลี่ยนผังเมืองของประเทศได้ จากชุมชนที่เคยถูกหมายตาให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นแหล่งถลุงแร่ บัดนี้โคกสลุงคือ ชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้ง ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

“คนไร้บ้านเป็นรูปธรรมที่สะท้อนว่า สังคมมีความเหลื่อมล้ำอยู่จริง ยิ่งมีคนไร้บ้านออกมาเยอะ แสดงว่า ระบบสังคมมีปัญหา ระบบสวัสดิการสังคมไม่ซัพพอร์ตผู้คนที่ตกหล่นพ่ายแพ้” จำนวนคนไร้บ้านมักมีมากในเมืองใหญ่ ขอนแก่นคือหนึ่งในหมุดหมายนั้น ด้วยขนาดของเมืองใหญ่ติดอันดับต้นๆ ของภูมิภาค ศูนย์กลางเศรษฐกิจของอีสาน การคมนาคมเติบโตแบบก้าวกระโดด และเป็นเมืองแห่งสถาบันการศึกษา เมืองในลักษณะนี้ คือพื้นที่ในการแสวงหางาน เงิน และโอกาสของชีวิต ณัฐวุฒิ​ กรมภักดี​ ผู้ประสานงานกลุ่มเพื่อนคนไร้บ้านบอกกับเราว่า 140-150...