ความสัมพันธ์ ความกล้า ปัญญาร่วม : ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู1 min read
Reading Time: < 1 minutes
PLC (Professional Learning Community : ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ) คืออะไร?
คุณครูหลายท่านอาจรู้จัก PLC ในฐานะของ “การประชุมครู” เพื่อทบทวนภาระงานต่าง ๆ หรือหยิบยกบางประเด็นที่อาจมองว่าเป็นปัญหา มาร่วมพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนกัน หลายครั้งวง PLC นี้อาจจบลงด้วยการมอบหมายงานให้คุณครูบางท่านไปดำเนินการต่อ หรือมีแนวทางแก้ปัญหาจากประเด็นพูดคุย เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็ทำการนับเวลาประชุม ถ่ายภาพเป็นหลักฐาน และนำไปบันทึกลง Logbook
ดังกล่าวข้างต้นอาจเป็นวง PLC ที่คุณครูหลายท่านคุ้นชิน และอาจมิเคยได้ย้อนกลับมาตั้งคำถามว่า
ทำไมคุณครูถึงต้องมีวง PLC ?คุณครูได้รับอะไรจากวง PLC บ้าง ?วง PLC ที่คุณครูอยากทำ ไม่ใช่การที่ “ต้องทำ” ?คุณครูสามารถออกแบบวงประชุมที่ “ไม่ใช่” การประชุมได้หรือไม่ ?
หนังสือ ความสัมพันธ์ ความกล้า ปัญญาร่วม : ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู อาจสามารถมอบคำตอบจากคำถามเบื้องต้นให้กับคุณครูหรือผู้อ่านได้บ้าง รวมถึงได้เสนอปัจจัยและแนวทางใหม่ ๆ ที่เป็นไปได้ในการสร้างเส้นทางการเรียนรู้แห่งนี้ ผ่านกรณีตัวอย่างที่หลากหลายของเครือข่ายครูทั่วประเทศจากโครงการก่อการครู ซึ่งการเกิดขึ้นของชุมชนการเรียนรู้เหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายระดับโดยไม่จำกัดภายในโรงเรียนของตนเท่านั้น
โครงการฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยจุดประกายหรือเป็นแบบอย่างของการก่อร่างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) ที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อให้เครือข่ายการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเปี่ยมไปด้วยไมตรีจิตจากเพื่อนร่วมวิชาชีพ และนำไปสู่การบรรลุหมุดหมายที่วาดหวังต่อไป
รายละเอียดหนังสือ
ชื่อหนังสือ : ความสัมพันธ์ ความกล้า ปัญญาร่วม :ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู
ผู้เขียน : สิทธิชัย วิชัยดิษฐ, จุฬาภรณ์ มาเสถียรวงศ์, สรรชัย หนองตรุด, จิรวุฒิ พงษ์โสภณ