Korkankru

ห้องเรียนข้ามขอบ

ทำไมเราจึงต้องการ “ห้องเรียนข้ามขอบ”

หากจะพูดถึงปัญหาที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากระบบการศึกษา- ไทยเรายังคงได้ยินเรื่องเดิมซ้ำๆ ต่อเนื่องแทบทุกจะช่องทางทั้งบทความงานเสวนา หรืองานวิจัยและก็ดูเหมือนจะเป็นไปในทิศทางที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่มีเด็กกว่า 1.02 ล้านคนที่หลุดจากระบบการการศึกษา เด็กมากมายขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ และได้รับสิทธิที่ควรจะได้รับ แต่การศึกษาในระบบก็ไม่ตอบโจทย์ทักษะที่จำเป็นในอนาคต และไม่ยืดหยุ่นพอที่จะตอบสนองต่อความสนใจหรือเป้าหมายในชีวิตของเด็กแต่ละคน ทำให้คนที่ได้วุฒิจากระบบการศึกษาไม่มีทักษะที่พร้อมนำไปใช้ทำงานได้จริง รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาสำคัญต้องเฝ้าระวังในขณะนี้  ดังนั้นถ้าจะตอบคำถามว่า ทำไมเราจึงต้องการ “ห้องเรียนข้ามขอบ” ก็คงต้องกลับไปทำความเข้าใจกันก่อนว่า แล้ว “ขอบ” ที่กำลังชวนทุกคนข้ามนั้น มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับปัญหาข้างต้นอย่างไร...

‘ห้องเรียนข้ามขอบ’ ข้ามขอบฟ้าไปเป็นเยาวชนพลเมืองโลก การศึกษาไทยต้องไม่เหมือนเดิม

เวลาที่เรานึกถึงห้องเรียนในโรงเรียนเรานึกถึงอะไรได้บ้าง? เราอาจจะนึกถึงวิชาเรียนหลายๆ ตัวที่ยังหาคำตอบไม่ได้ด้วยซ้ำว่าจะลําบากตรากตรําไปเพื่ออะไร อาจจะนึกถึงเวลาที่ตอบคำถามผิด แล้วดูแย่ในสายตาคนอื่น หรือถูกตัดสินว่าความคิดของเรามันอาจเป็นไปไม่ได้ นี่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งข้อดีของโรงเรียนก็มีให้เห็นมากมาย และก็มีช่องโหว่อีกมากภายใต้ระบบและกรอบที่ครอบงำมันเอาไว้ แต่สำหรับที่นี่ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กลับมีความพยายามที่จะค่อยๆ ขยับขอบเพื่อเปิดน่านฟ้าใหม่ให้กับการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่จำกัดกรอบอยู่แค่ในระบบโรงเรียนเพียงแบบเดียวเท่านั้น ‘เชียงดาวเมืองแห่งการเรียนรู้’ จึงเริ่มก่อการผ่านการชักจูงผู้คนในเมืองที่มีศักยภาพหลายหลาก มากระจายอำนาจทางความรู้ สร้างสรรค์กิจกรรมด้วยกัน เป็นเทศกาลการเรียนรู้ที่สนุกสนานอย่าง ‘ตุลามาแอ่ว’...