ก่อการครู – Korkankru

ก่อการครู กิจกรรมที่ผ่านมา คลังความรู้ บทความ / บทสัมภาษณ์

ก่อการครูอีสาน : สานเครือข่าย สร้างการเฮียนฮู้

Reading Time: 2 minutes “ก่อการครูอีสาน” คือ ขบวนการของเครือข่ายการทำงานขับเคลื่อนด้านการศึกษาในพื้นที่ภาคอีสาน โดยความร่วมมือของเครือข่ายครูแกนนำจากจังหวัดต่าง ๆ ในภูมิภาค ซึ่งได้วางแผนการขับเคลื่อนร่วมกันตั้งแต่ เวทีพัฒนาศักยภาพการเป็นกระบวนกร (Training of the Trainers) โมดูล 1 ที่ผ่านมา ขณะนี้ความเคลื่อนไหวของขบวนการดังกล่าวได้เริ่มปรากฏให้เห็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในพื้นที่อีสาน ด้วยความหวังว่าพวกเขาจะร่วมกันสร้างเส้นทางการเรียนรู้ที่มีความหมายโดยครูอีสานเพื่อลูกหลานอีสานอย่างแท้จริง Dec 21, 2020 2 min

ก่อการครูอีสาน : สานเครือข่าย สร้างการเฮียนฮู้

Reading Time: 2 minutes

“ก่อการครูอีสาน” คือ ขบวนการของเครือข่ายการทำงานขับเคลื่อนด้านการศึกษาในพื้นที่ภาคอีสาน โดยความร่วมมือของเครือข่ายครูแกนนำจากจังหวัดต่าง ๆ ในภูมิภาค ซึ่งได้วางแผนการขับเคลื่อนร่วมกันตั้งแต่ เวทีพัฒนาศักยภาพการเป็นกระบวนกร (Training of the Trainers) โมดูล 1 ที่ผ่านมา ขณะนี้ความเคลื่อนไหวของขบวนการดังกล่าวได้เริ่มปรากฏให้เห็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในพื้นที่อีสาน ด้วยความหวังว่าพวกเขาจะร่วมกันสร้างเส้นทางการเรียนรู้ที่มีความหมายโดยครูอีสานเพื่อลูกหลานอีสานอย่างแท้จริง

ก่อการครูกาฬสินธุ์ : ความเป็นไปได้ใหม่ที่ทลายกรอบเดิม

เมื่อวันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2563 คณะทำงานโครงการก่อการครู นำโดย รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี อ.อธิษฐาน์ คงทรัพย์ คุณพฤหัส พหลกุลบุตร คุณธนัญธร เปรมใจชื่น พร้อมคณะ ได้ร่วมพบปะเครือข่ายก่อการครูกาฬสินธุ์ ได้แก่ ครูตู้-สราวุฒิ ครูตุ๋ม- วิภาวี พลตื้อ และครูฝน-สายฝน จันบุตราช ครูแกนนำจากโครงการก่อการครู พร้อมด้วยเครือข่ายคุณครูและศึกษานิเทศก์ในจังหวัดกาฬสินธุ์ที่สนใจร่วมขบวนการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่

“จะทำอย่างไรให้เด็กที่เรียนไม่เก่ง มีความสุขในชั้นเรียนได้”

“ครูไม่จำเป็นต้องสอนเก่ง แต่ทำอย่างไรให้ครูสามารถสอนชั้นเรียนได้อย่างสนุก เด็ก ๆ อยากเรียน”

“จะทำอย่างไรให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง”

เสียงของครูกาฬสินธุ์ที่ร่วมกันเปล่งออกมาถึงความต้องการในการสร้างชั้นเรียนที่มีความหมาย โดยคำนึงถึงความสุขของผู้เรียนเป็นสำคัญ จากคำถามเหล่านี้สู่ความสนใจในการเข้าร่วมก่อการครูกาฬสินธุ์ เพื่อหวังว่าขบวนการนี้จะช่วยเสริมความมั่นใจและความกล้าที่จะนำพาให้คุณครูทลายกรอบเดิม เพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายของการสร้างการเรียนรู้ที่เปี่ยมความหมายตามที่วาดฝันไว้

โครงการก่อการครูได้สรุปปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์จากวงสนทนาแลกเปลี่ยน ดังนี้

หนึ่ง จังหวัดกาฬสินธ์ุมีต้นทุนที่สูง – ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ ล้วนเป็นนิเวศการเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับเยาวชนกาฬสินธ์ุและอาจพัฒนาไปเป็นวิชา “กาฬสินธุ์ศึกษา” ซ่ึงเป็นการร่วมกันวาดอนาคตของเยาวชนกาฬสินธุ์ให้ชัดเจนตามแบบที่ต้องการ

สอง PLC รูปแบบใหม่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเยาวชนและการศึกษาในพื้นที่ – การรวมตัวของคุณครูหรือการทำวง PLC (Professional Learning Community) รูปแบบใหม่ที่ร่วมกันแบ่งปันเครื่องมือและมุมมองด้านการศึกษา โดยความมุ่งมั่นร่วมกันนั้นสามารถทลายกรอบคำว่า “โรงเรียน” ทำให้คุณครูจากโรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่ สามารถสร้างวง PLC ที่ร่วมกันขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาได้ในระดับที่กว้างมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากกว่าเดิม

สาม การเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง – การพัฒนาด้านการศึกษาเป็นงานที่ต้องได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ก่อการครูกาฬสินธุ์สามารถสร้างเครือข่ายและชวนเพื่อนร่วมเดินทางบนถนนเส้นนี้ด้วยกันได้ วงสนทนาครั้งนี้นอกจากคุณครูในพื้นที่แล้วยังประกอบไปด้วย คณะทำงานจากโครงการก่อการครู อาจารย์มหาวิทยาลัย ศึกษานิเทศก์ และภาคประชาสังคมในพื้นที่ ร่วมกันออกแบบการขับเคลื่อนดังกล่าวร่วมกัน

ก่อการครูขอนแก่น : เครือข่ายที่หลากหลายในการเสริมขบวน

“การศึกษาที่มากกว่าในห้องเรียนและตำรา”

คือจุดมุ่งหมายหนึ่งที่ถูกกล่าวขึ้นมาจากวงสนทนาในการพบปะเครือข่ายครั้งนี้ โดยทีมก่อการครูได้รับเกียรติจากอาจารย์สุภา มนูญศักดิ์ นายกสมาคมไทสิกขา ครูอ้อม ชุตินธร หัตถพนม และครูสอยอ สัญญา มัครินทร์ ครูแกนนำจากโครงการก่อการครู ร่วมถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์การทำงานด้านการศึกษาในบริบทของจังหวัดขอนแก่น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา

จังหวัดขอนแก่นมีเครือข่ายการทำงานด้านการศึกษาในหลายภาคส่วน ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างโรงเรียน ภาคประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ทำให้การขับเคลื่อนดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ตามที่ต้องการ โดยมีปัจจัยสำคัญคือ ความใกล้ชิดของเครือข่ายร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญที่เข้าใจถึงความต้องการจากบริบทในพื้นที่อย่างแท้จริง และความเข้าใจดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการกำหนดทิศทางหรือนโยบายการพัฒนาต่อไป

ขบวนการก่อการครูอีสานจะขับเคลื่อนต่อไปอย่างไร สามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เพจก่อการครู เร็ว ๆ นี้

รูปภาพกิจกรรม

Array