ก่อการครู – Korkankru

NVC

เราอยู่ในสังคมเหลื่อมล้ำที่เรียกร้องพลังของ ‘การนำร่วม’ มากกว่าฮีโร่

ทุกปัญญาในสังคมล้วนโยงใยซึ่งกันและกันดั่งตาข่าย สังคมไม่อาจเดินหน้าไปได้หากปัญหาของการศึกษายังไม่ถูกแก้ไข การศึกษาไม่อาจดีขึ้นได้ หากความเหลื่อมล้ำยังถ่างกว้าง ปากท้องของผู้คนไม่อาจอิ่มได้ หากโอกาสในการเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดี มีที่ว่างให้ผู้คนเพียงหยิบมือ ชุมชนไม่อาจแข็งแรงได้ หากการกระจายอำนาจเป็นเพียงภาพฝัน  ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต่างยืนอยู่ท่ามกลางสังคมที่รายล้อมด้วยปัญหาทุกมิติ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำของสังคม ฯลฯ  ขณะนี้ สังคมปัจจุบันเริ่มตั้งคำถามต่อปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังและตรงไปตรงมา  ผู้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า ปัญหาเหล่านี้แก้ได้ สังคมดีกว่านี้ได้ และเราต่างเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงนั้น...

ปัญญาภายใน บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 2

ปัญญาภายใน บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 2 กล่าวถึงการฝึกการสื่อสารอย่างสันติ 3 ขั้น ต่อเนื่องจาก ตอนที่ 1 ได้แก่ การสื่อสารสองทางอย่างมีศิลปะ, ฝึกการสื่อสารสองทางตามแนวทางของการสื่อสารอย่างสันติ และ การตั้งคำถามเพื่อการโค้ชด้วย แผนผัง U Coaching การสื่อสารสองทางอย่างมีศิลปะ ต่อจากเรียนรู้เรื่องการค้นหาหัวใจหรือเข้าใจเสียงหมาป่าในตัวเองว่าภายใต้คำพูดที่แสดงความรุนแรงออกไป มาจากความปรารถนาหรือความต้องการอะไร...

ฉันคือหมาป่าหรือยีราฟ : ทำไมเจตนาดีจึงสวนทางกับคำพูดร้ายๆ

“ทำไมซื้อกับข้าวมาเยอะแยะ บ้านรวยนักหรือไง” พ่อกล่าวกับลูกเมื่อเห็นถุงอาหารเรียงราย แม้เจตนาตั้งต้นของผู้พ่อจะปรารถนาดีต่อผู้เป็นลูกในเรื่องของการใช้เงินก็ตาม ทว่าการสื่อสารด้วยประโยคข้างต้น ต่อให้ไม่เป็นลูก ใครฟังก็คงรู้สึกไม่ดี หรืออาจถึงขั้นไม่รับรู้ถึงเจตนาที่แท้จริงของผู้พูด กระทั่งปิดประตูแห่งความเข้าใจกันและกันไปโดยปริยาย แล้วถ้าเช่นนั้น เราจะสื่อสารกันอย่างไรเพื่อไม่ให้ความสัมพันธ์ชำรุดผุกร่อนด้วยคำพูด ผู้นำแห่งอนาคต ชวนทำความรู้จักเครื่องมือการสื่อสารหนึ่งที่มีชื่อว่า ‘การสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent Communication: NVC)’ คิดค้นขึ้นโดย ดร.มาร์แชล โรเซนเบิร์ก (Dr.Marshall...

โรคทางใจ รักษาได้ด้วย Empathy

การให้ความเข้าใจ (empathy) คือพลังแห่งการเยียวยาขนานดีในการพาคนตรงหน้าให้ก้าวพ้นความเจ็บปวดจากโรคร้ายทางใจ ด้วยการรับฟังและเข้าอกเข้าใจอย่างเพียงพอ ซึ่งในฐานะผู้ฟังนั้น เราไม่จำเป็นต้องเป็นผู้รู้หรือเชี่ยวชาญในศาสตร์จิตวิทยา หรือต้องผ่านการเรียนรู้ด้านจิตวิเคราะห์ สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือความสามารถในการอยู่กับความรู้สึกและความต้องการของคนตรงหน้า ณ ช่วงเวลาเดียวกัน การสื่อสารอย่างสันติ (Non Violence Communication: NVC) ทักษะของการให้ความเข้าใจ (Giving Empathy) นั้น คือทักษะที่ต้องฝึกฝนและอาจฝืนนิสัยเดิมของเราๆ ไม่น้อย...

เข้าใจกันผ่านส่วนลึกของคำพูด ‘ทำไมคุยกันเท่าไหร่ ก็ไม่เข้าใจกันเสียที’

การสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent Communication) มีจุดเริ่มต้นจากวัยเด็กของ ดร.มาร์แชล โรเซนเบิร์ก (Marshall Rosenberg) ชาวยิวที่เติบโตในประเทศสหรัฐอเมริกา ย่านชุมชนยากจน ขณะนั้นเขาต้องเผชิญกับการเหยียดเชื้อชาติและรายล้อมด้วยความรุนแรง ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และคำพูดมาตั้งแต่เด็ก ด้วยประสบการณ์นี้ ทำให้ ดร.โรเซนเบิร์ก ตั้งข้อสังเกตขึ้นมาว่า เหตุใดมนุษย์เราจึงถูกตัดขาดจากความกรุณา ซึ่งเป็นธรรมชาติพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ แล้วหันไปใช้ความรุนแรงกดขี่ผู้อื่น...

สื่อสารอย่างสันติ ไม่ใช่โลกสวย ให้สังคมอยู่รอดจากความโกรธและโรคระบาด

ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ทั่วโลกมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ยอดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บรรยากาศในประเทศไทยเต็มไปด้วยความวิตกกังวล ประชาชนทุกคนใช้ชีวิตกันอย่างระวังตัว หลายคนหาทางออกเพื่อปกป้องตัวเองด้วยสวมหน้ากากอนามัยแทบจะตลอดเวลา บางคนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการพบปะผู้อื่น เลือกทำงานที่บ้าน เก็บตัว และเริ่มกักตุนอาหาร ความหวาดระแวงที่เกิดขึ้น บ่มเป็นความเครียดสะสม และความเครียดนี่เองกลายเป็นชนวนชวนทะเลาะให้โหมกระหน่ำ ลำพังแค่กักตัวเองอยู่ในบ้านก็เหมือนโดนรุมด้วยความโกรธ เครียด แค้น เศร้า ท่วมโลกโซเชียลมีเดียไปหมด เราต้องอยู่ในสภาพแบบนี้ไปอีกพักใหญ่แน่ๆ...