ก่อการครู – Korkankru

SATการศึกษาและการเรียนรู้

เชื่อมคน เชื่อมการเรียนรู้ สู่การศึกษาไร้รอยต่อ

“ในประเทศไทยมีคนที่ทำงานเพื่อเด็กและเยาวชนมาก มีผู้ที่พยายามทำศูนย์การเรียนรู้โดยอาศัยอำนาจในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีองค์กรที่พยายามช่วยเหลือเด็กให้ได้เรียนรู้ในรูปแบบอื่นๆ โดยที่ยังไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ ทำงานร่วมกันกับการศึกษาในระบบโดยยังไม่ผนวกเข้ามาเป็นองคาพยพที่สำคัญในหลักสูตร มีส่วนราชการจำนวนไม่น้อยที่ทำเรื่องนี้โดยตรงและพยายามทำงานในเชิงระบบ รอยต่อของผู้เกี่ยวข้องนี้เองคือสิ่งที่เชิญทุกคนมาร่วมในวันนี้” รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี หัวหน้าคณะทำงานทางวิชาการ SATการศึกษาและการเรียนรู้ กล่าวเปิดงานสัมมนา เมื่อรัฐที่เป็นหน่วยงานสำคัญในการกำหนดวาระ จัดสรรทรัพยากรและงบประมาณ ขณะที่ผู้สร้างนวัตกรรมทางการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในหน่วยงานภาครัฐ มุ่งเน้นทำงานในพื้นที่เล็กๆ ของตนเอง...

งานวิจัยใหม่ สู่การศึกษาไร้รอยต่อ

“การศึกษาไร้รอยต่อ” เป็นคำใหม่ ศัพท์ใหม่ ที่โครงการ SAT การศึกษาและการเรียนรู้ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้เป็นธงนำในการฉายภาพรวมของปัญหาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของประเทศไทย ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างจินตนาการใหม่ ให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน เพื่อนำองค์ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ มาร่วมกันปฏิรูปการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ ผู้มีส่วนสำคัญหนึ่ง คือหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมทางด้านการศึกษาและการเรียนรู้  ขณะที่ SAT เองก็พร้อมจะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  จึงเป็นที่มาของการจัดงานสัมมนาวิชาการ...

สู่การศึกษาไทยไร้รอยต่อ

สู่การศึกษาไทยไร้รอยต่อ จากการทำงานในระยะที่หนึ่งของ SAT การศึกษาและการเรียนรู้ หรือ Strategic Agenda Team ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานทางวิชาการ และเครือข่ายของหน่วยปฏิบัติการ ที่มีชุดความรู้จากการปฏิบัติให้กับ สกสว. เพื่อนำความรู้นี้มาขับเคลื่อนระบบการศึกษา เราพบว่าการศึกษาไทยนั้นมี “รอยต่อ” ทั้งในแง่ของตัวระบบเอง ในด้านความหลากหลายของผู้เรียน ในด้านของศาสตร์ความรู้ หรือแม้แต่รอยต่อของผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคการศึกษา  การศึกษาไร้รอยต่อ (Seamless...

ห้องเรียนดีๆ สักห้องเกิดขึ้นได้อย่างไร? ถอดรหัสนวัตกรรมห้องเรียนของคุณครูนักออกแบบ

คุณเคยนั่งเรียนในห้องเรียนที่ทำให้รู้สึกประทับใจไม่ลืมไหม?  อาจเป็นชั่วโมงเรียนที่เปลี่ยนมุมมองบางอย่าง พาคุณไปเจอกับคำถามอันน่าฉงน ชักชวนให้ปะติดปะต่อข้อมูลความรู้อย่างสนุกสนาน  หรืออาจเป็นห้องเรียนธรรมดาๆ แต่มีคุณครูที่จุดประกายให้คุณอยากไปเรียนรู้ต่อ “คนมักเข้าใจว่าถ้าครูสอนดี ห้องเรียนจะดี แล้วเด็กก็จะดีไปเอง เราต้องมองถึงองค์ประกอบที่ซับซ้อนกว่านั้น ไม่ติดกับดักของภาพห้องเรียนดีๆ ที่ปลายทาง แล้วเอาความกดดันมาลงที่ครูว่าต้องทำให้ได้ ครูต้องสอนเก่ง”รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี มองว่าห้องเรียนที่ดีไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ ภายใต้ข้อจำกัดมากมายของระบบโรงเรียน ยังมีครูจำนวนหนึ่งที่เปี่ยมด้วยพลังสร้างสรรค์ คณะทำงานวิชาการ SAT การศึกษาและการเรียนรู้...