ก่อการครู – Korkankru

ห้องเรียนอนุบาลของครูต้าร์ “วิชาอะไรก็ได้ เด็กสนใจอะไรก็เรียนสิ่งนั้นแหละ”

ในห้องเรียนของคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาปฐมวัย ‘ต้าร์’ คือ 1 ใน 7 ของชายหนุ่มที่เลือกเรียนสาขานี้ ทุกคนในห้องมองว่าเป็นเรื่องแปลก เพราะส่วนใหญ่แล้ว ‘ครูอนุบาล’ มักเป็นผู้หญิงเสียส่วนมาก เขาจึงถูกถามอยู่เป็นประจำว่าทำไมถึงเลือกเรียนเป็นครูอนุบาล ชายหนุ่มเล่าว่า ใจจริงอยากเรียนศาสตร์ของสถาปัตยกรรม แต่เพราะพิษเศรษฐกิจ ครอบครัวจึงสนับสนุนให้เขาเลือกรับราชการที่ดูจะมั่นคง เขาจึงเลือกเป็นครูปฐมวัยจวบจนถึงปัจจุบัน ชั่วโมงบินในอาชีพนี้ของเขาเดินทางมาถึงปีที่ 5 แล้ว...

กนกพร พิมพา: เมื่อครูเอาชนะเด็กหนึ่งครั้ง ประตูแห่งความสัมพันธ์ก็ปิดลงทันที

มุก-กนกพร พิมพา เพิ่งบรรจุเป็นครูที่ โรงเรียนวัดอัมพวัน จังหวัดลพบุรี ได้ 7 เดือนเท่านั้น วัดจากอายุและชั่วโมงบินในการสอนหนังสือ เธอคือครูน้องเล็กสุดในโรงเรียน หากฝันแรกของมุกคือพยาบาล ไม่เฉียดใกล้ครูเลยด้วยซ้ำ แต่เพราะครอบครัวต้องแบกรับค่าใช้จ่ายส่งเสียลูกหลานเรียนหลายคน มุกจึงจับพลัดจับผลูมาเรียนครูโดยปริยาย “ตอนเรียนครูเราไม่อินเลย เพิ่งจะเริ่มมาชอบก็ตอนฝึกสอน ตอนนั้นเราเจอเด็กที่ถุยน้ำลายลงพื้นเพื่อให้เราเดินไปเหยียบ เอาเรื่องมาก แต่ตอนนั้นสิ่งที่เราคิดคือ เด็กคนนี้ต้องมีอะไรบางอย่างในใจจากการทำแบบนี้ เราอยากรู้ อยากแก้ปัญหา...

คำตอบที่เด็กอยากบอก สำคัญกว่าคำตอบที่ครูอยากได้ 

“เราเห็นนักเรียนไม่มีความสุข เขาจะเงียบมากเลย ไม่โต้ตอบ หรือถามตอบอย่างไม่เป็นธรรมชาติ เราก็ถามตัวเองนะว่าเพราะเด็กกลัวเราหรือเปล่า หรือเป็นเพราะเราไม่ค่อยฟังเขาเลย” คือความทุกข์ที่ ครูเก๋ – เวฬุรีย์  ชินคง กำลังเผชิญให้ห้องเรียนของเธอ และเป็นเหตุผลของการเข้าร่วมหลักสูตรก่อการครู ในห้องเรียนทักษะการโค้ชเพื่อครู โดยเธอได้ฉายภาพบรรยากาศของห้องเรียนก่อนหน้านี้ว่า  “แต่ก่อนเราไม่ฟังใครเลย ถึงฟังก็ฟังน้อยมาก จะพูดตลอดเพราะพูดไม่คิด พอมาเรียนตั้งแต่ โมดูล 1 ครูคือมนุษย์  3...

เปลี่ยน ‘โรงเรียน’ เป็น ‘โรงเล่น’ ผ่านการออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้

การออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้ : เมื่อผู้ร้ายกลายเป็นผู้ช่วยในห้องเรียน เกมมักเป็นผู้ร้ายในสายตาของสังคม เพราะมันดึงดูดความสนใจและเวลาของนักเรียนให้ไปสนใจเกมมากกว่าการเรียนเนื้อหาวิชาการต่างๆ เกมจึงกลายเป็นเสมือนผู้ร้ายในสายตาของคุณครูและผู้ปกครองส่วนใหญ่ แต่เรากลับไม่ค่อยตั้งคำถามว่า เกมทำงานกับความคิดของเด็กอย่างไร และทำอย่างไรให้ผู้ร้ายกลายเป็นผู้ช่วยในการสร้างแรงดึงดูดความสนใจของนักเรียน วันนี้เราจึงอยากชวนให้คุณมาร่วมจุดไฟการเรียนรู้ ผ่าน “ห้องเรียนออกแบบการเรียนรู้ผ่านเกม” โดยวิทยากร ดร. เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีม DeSchooling Game โดย เถื่อนเกม ภายใต้โครงการก่อการครู โดยคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)...

ใกล้เกษียณ​ก็เปลี่ยนทัน ‘ธนาพร ก้อนทอง’ ครูวัย 56 ผู้พิสูจน์​ว่าไม้แก่ยังดัดได้

เป็นเวลา 31 ปีแล้วกับการเป็นครู  และเป็นเวลาอีกแค่ 4 ปี ที่เธอจะเกษียณจากการงานที่ทำมาทั้งชีวิต  ‘ก่อการครู’ คือชื่อโครงการที่เธอเห็นผ่านตาบ่อยครั้งบนโลกโซเชียล กระทั่งวันหนึ่ง จดหมายที่จ่าหน้าซองด้วยชื่อโครงการที่คุ้นตาก็ถูกส่งมาที่โรงเรียน แวบแรกคืออยากรู้อยากลอง แต่อีกวาบหนึ่งในความคิด เธอก็แสนเบื่อหน่ายกับการอบรมครูที่เคยผ่านมานับครั้งไม่ถ้วน  ชั่งใจได้สักพัก ครูเจี๊ยบ-ธนาพร ก้อนทอง โรงเรียนวัดบ้านกล้วย จังหวัดสระบุรี จึงเขียนจดหมายแนะนำตัวมายัง ‘ก่อการครู’ และเธอได้รับคัดเลือก  อบรมที่ไร้ปากกา สมุด หนังสือ  “สามวันสำหรับการอบรมมันนานมาก...

‘ตลาดวิชา’ ห้องเรียนกลางตลาดที่พาครูและเด็กออกไปเรียนรู้จากชีวิตจริง

“ฉันเรียนเรื่องนี้ไปทำไม” “ฉันเรียนเรื่องนี้แล้วจะเอาไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร?” “ทำไมฉันต้องรู้เรื่องนี้” “ทำไม…” ย้อนไปในความทรงจำ ฉันและคุณล้วนผ่านห้องเรียนมามากหลายรูปแบบเมื่อครั้งเป็นนักเรียนวัยกระเตาะ บ้างก็เป็นห้องเรียนที่สนุกสนาน ได้ลงมือทำ และได้นำประสบการณ์มาเชื่อมโยงกับบทเรียน หรือบ้างก็เป็นห้องเรียนที่เราต่างหันหน้าเขาหากระดาน มือขวาถือปากกา ดวงตาจ้องเขม็งบนกระดาน หูก็ต้องคอยฟังเนื้อหาตามหนังสือ ขณะที่เสียงในหัวของเราก็อื้ออึงไปด้วยประโยคที่ว่า ‘ทำไมฉันต้องเรียนเรื่องนี้’ ‘ฉันจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรในชีวิตจริง’  คำถามเหล่านี้สะท้อนภาพเช่นไรในภูมิทัศน์ของการศึกษาไทย เราจึงชวน ครูเปี๊ยก-ดร.สิทธิชัย วิชัยดิษฐ อาจารย์คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในวิทยากรของโครงการก่อการครู...

ห้องเรียนที่สร้างสรรค์คือสวรรค์และแสงสว่าง

คนเป็นครูอย่าขโมยความคิดสร้างสรรค์ไปจากเด็ก ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้มัน เพื่อเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง หลายครั้งเรามักได้ยินสังคมพูดว่า “ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องพรสวรรค์ มันสอนกันไม่ได้” แต่แวดวงการศึกษาในปัจจุบันกลับเรียกร้องให้เด็กรุ่นใหม่มีความคิดสร้างสรรค์ เรียกร้องให้เด็กต้องคิดสิ่งแปลกใหม่ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่รูปแบบการสอนและทรัพยากรที่จะทำให้เขาเติบโตกลับไม่เคยเปลี่ยนแปลง บทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จัก “การออกแบบห้องเรียนสร้างสรรค์” ที่จะช่วยผ่าทางตันของการศึกษาไทย โดย คุณพฤหัส พหลกุลบุตร หรืออาจารย์ก๋วย และคุณธนาวัฒน์ รายะนาคร ทีมกระบวนกรจากมูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) ภายใต้โครงการก่อการครู โดยคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...

โคกสลุงกับพังงา: ไม่มีฮีโร่ มีแต่การ ‘นำร่วม’ ของคนตัวเล็กตัวน้อย

พังงาแห่งความสุข ท่ามกลางผู้คนที่ผ่านพบในสถานการณ์ยุ่งเหยิงและโกลาหลหลังเหตุการณ์สึนามิ ภัยพิบัติในครั้งนั้นได้สร้างคนทำงานภาคประชาสังคมและผู้นำมากมายในจังหวัดพังงา ทุกข์ที่มีร่วมกันได้เรียงร้อยการทำงานให้พวกเขาที่เคยกระจัดกระจายไปคนละทิศ สู่การผนึกกำลังเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ เพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกันคือ ‘รวมคนสร้างเมืองแห่งความสุข’ ชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้งโคกสลุง ความโดดเด่นของชุมชนแห่งนี้คือ ความเข้มแข็งของชุมชนในการใช้เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยเบิ้ง ในการรับมือกับวิกฤติการวางผังเมือง ทำให้ตำบลโคกสลุงรอดพ้นจากการเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม สถาบันไทยเบิ้งโคกสลุงเพื่อการพัฒนาจึงถูกตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน พัฒนาภูมิปัญหาและวัฒนธรรม ไปจนถึงการสร้างชุมชนให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ต่อไป โดยสังเขป สองพื้นที่ข้างต้น คือพื้นที่การวิจัยในหัวข้อ ‘การถอดบทเรียนปฏิบัติการเชิงพื้นที่ภายใต้แนวคิดเรื่องการนำร่วมกรณีศึกษา...

เราอยู่ในสังคมเหลื่อมล้ำที่เรียกร้องพลังของ ‘การนำร่วม’ มากกว่าฮีโร่

ทุกปัญญาในสังคมล้วนโยงใยซึ่งกันและกันดั่งตาข่าย สังคมไม่อาจเดินหน้าไปได้หากปัญหาของการศึกษายังไม่ถูกแก้ไข การศึกษาไม่อาจดีขึ้นได้ หากความเหลื่อมล้ำยังถ่างกว้าง ปากท้องของผู้คนไม่อาจอิ่มได้ หากโอกาสในการเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดี มีที่ว่างให้ผู้คนเพียงหยิบมือ ชุมชนไม่อาจแข็งแรงได้ หากการกระจายอำนาจเป็นเพียงภาพฝัน  ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต่างยืนอยู่ท่ามกลางสังคมที่รายล้อมด้วยปัญหาทุกมิติ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำของสังคม ฯลฯ  ขณะนี้ สังคมปัจจุบันเริ่มตั้งคำถามต่อปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังและตรงไปตรงมา  ผู้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า ปัญหาเหล่านี้แก้ได้ สังคมดีกว่านี้ได้ และเราต่างเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงนั้น...

ถ้าหากครูมีเวทมนตร์ – เสกการเรียนรู้ที่มีความหมายสู่หัวใจของนักเรียน

ย้อนไปในความทรงจำ เราต่างมีครูอยู่บางประเภทที่ไม่ได้มีวิธีการสอนแปลกใหม่ ครูคนนั้นมีเทคนิคการสอนเรียบง่าย แต่ว่ากลับสามารถเข้าไปนั่งอยู่ในใจของนักเรียนได้ไม่ยาก และนักเรียนก็รู้สึกว่าครูคนนี้มีบางสิ่งที่น่าประทับใจ เราจะรู้สึกปลอดภัยทุกครั้งเมื่อครูปรากฏอยู่ตรงหน้า ซึ่งในบทความชิ้นนี้ และในห้องเรียนที่เรากำลังจะพาทุกคนไปรู้จัก เราเรียกสิ่งนี้ว่า ‘เวทมนตร์ของครู’  ‘เวทมนตร์ในที่นี้ไม่ใช่มิติลี้ลับ’ แต่คือพลังในตัวครูที่ดำรงอยู่ และยังไม่ถูกรับรู้ว่าสิ่งนั้นคือเวทมนตร์ กระทั่งหลงลืมเวทมนตร์ที่ตนมี  เราจึงชวน ครูจ๊อย-ดร.ปวีณา แช่มช้อย อาจารย์คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการละครเพื่อการเรียนรู้และพิธีกรรมศึกษา และครูโจ้-กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร วิทยากรและกระบวนกรด้านการศึกษา มาพูดคุยในประเด็นที่ว่าด้วยการพัฒนาเวทมนตร์ในตัวครู...