Korkankru

More Than Art อำนาจของศิลปะ และธรรมชาติ

หลังจากเราขึ้นเขา ลุยป่ากันมาหลายสัปดาห์ “ห้องเรียนและธรรมชาติ” ครั้งนี้ เลยปรับให้เบา และโหดน้อยลงกว่าทุกครั้ง แม้จะเป็นช่วงหน้าฝน แต่สภาพอากาศช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ฝนทิ้งช่วงห่างไปหลายวัน ความร้อนอบอ้าว ทำให้เราต้องหาพื้นที่เย็น ๆ ธรรมชาติสีเขียว ผ่อนคลาย หายร้อน คลายเครียดจากการเรียนออนไลน์ และช่วยเกาะเกี่ยวนักเรียนที่ไม่ชอบออนไลน์ให้ได้ ที่สำคัญไม่แพ้กันคือช่วยเยียวยาตัวครูเอง และนักเรียนของเรา “ลำน้ำพอง” คือห้องเรียนธรรมชาติของพวกเรา โดยมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนมากขึ้นกว่าครั้งก่อน ๆ มีรองผู้อำนวยการต่างโรงเรียน...

ภูเขาหลังบ้าน ใกล้เเค่ไหน ก็ไม่เคยไปถึง

  “การเรียนรู้ คือ ชีวิต”  และ “ชีวิต คือการเรียนรู้” ครูสอยอ | สัญญา มัครินทร์   แล้วธรรมชาติของมนุษย์เรา เรียนรู้ไปทำไม? เรียนรู้กันอย่างไร? และเรียนรู้อะไรกัน? ที่จะทำให้ชีวิตเรา อยู่รอด อยู่ร่วม และอยู่อย่างมีความหมาย มันมีปรัชญาการศึกษา...

Visual note คิดเห็นเป็นภาพฉบับคุณครู

Visual note คิดเห็นเป็นภาพฉบับคุณครู     ทำความรู้จักกับ Visual Note หลายคนอาจคุ้นเคย เคยเห็น หรือ ไม่รู้จักกับ Visual Note ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งในศาสตร์ Visual Thinking มาก่อน วันนี้ ก่อการครู พาทุกคนมารู้จักเเละฝึกทำ...

วิชาคณิตศาสตร์กับห้องเรียนฐานสมรรถนะออนไลน์

วิชาคณิตศาสตร์กับห้องเรียนฐานสมรรถนะออนไลน์ โดย จุฑารัตน์ จอมเมืองบุตร เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม? เป็นคำถามหรือคำกล่าวที่มักจะได้ยินกันบ่อย ๆ เมื่อเรียนในชั้นสูงขึ้นคำถามนี้จะยิ่งมีมากขึ้น อันที่จริงแล้ววิชาคณิตศาสตร์มีความสำคัญกับมนุษย์เราเป็นอย่างมาก ช่วยให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐาน ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียม...

หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะในโรงเรียนไทย ไม่ใช่เเค่เพิ่งปรับเเต่ที่นี่เปลี่ยนมาเเล้วกว่า 2 ปี

  เมื่อต้องปรับเป็นการศึกษาฐานสมรรถนะ เชื่อว่าทั้งคุณครูเเละผู้บริหารต่างก็มีความกังวลว่าในการปรับหลักสูตรครั้งนี้ต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง มีความยากง่ายเเละท้าทายเเค่ไหน เเละเเน่นอนว่าเมื่อปรับเเล้วเกิดผลอะไร วันนี้ ก่อการครู พาทุกคนมารู้จักกับ โรงเรียนฐานสมรรถนะในบริบทของประเทศไทยกันบ้างไม่ใช่เเค่เพิ่งปรับเเตที่มีเปลี่ยนเป็นฐานสมรรถนะมากว่า 2 ปีเเล้ว เเต่ละขั้นตอนการเปลี่ยนเเปลงเป็นอย่างไรบ้างจากการทำงานลงมือจริงหน้างานโดยผอ.วี หรือคุณปวีณา พุ่มพวง ที่จะมาฉายภาพการศึกษาฐานสมรรถนะในบริบทโรงเรียนไทยให้เรากัน   ก้าวเเรกสู่หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ     โรงเรียนวัดถนนกะเพรา โรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง...

จิตวิทยาเชิงบวกกับการทบทวนจุดเเข็งของตัวเอง

จิตวิทยาเชิงบวก     ท่ามกลางความเหนื่อยล้าเเละวุ่นวายของสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีเเค่ไหนถ้าเรายังสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างเเข็งเเกร่งเเละเต็มไปด้วยอารมณ์เชิงบวก จิตวิทยาเชิงบวก เเนวคิดใหม่ของหลักจิตวิทยาที่หันมาให้ความสำคัญกับอารมณ์ด้านบวก และจุดแข็งของตนเองมากยิ่งขึ้น อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว” ถ้าใจเราเข้มเเข็งเเล้วล่ะก็การจะยิ้มสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตก็จะสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ก่อการครูชวนมาทำความรู้จักกับจิตวิทยาเชิงบวกเเละพร้อมกับทบทวนจุดเเข็งของตัวเองผ่าน Toolkit จิตวิทยาเชิงบวกกัน จิตวิทยาเชิงบวกสร้างกันได้ง่ายนิดเดียว สำหรับใครที่ยังนึกภาพจิตวิทยาเชิงบวกไม่ชัดเจนนักตามไปอ่านกันได้ที่ ลิงก์ นี้เลย นอกจากจิตวิทยาเชิงบวกจะดีต่อใจเราเเล้ว การมีใจที่เข้มเเข็งเเละเปี่ยมไปด้วยพลังบวกยังส่งผลต่อคนรอบข้างได้อีกด้วยผ่านการกระตุ้น 3...

การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education) ระบบการศึกษาเพื่อแทนที่ระบบเดิม

การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education) ระบบการศึกษาเพื่อแทนที่ระบบเดิม      ศราวุธ จอมนำ   มันฝรั่งล็อตใหญ่ถูกส่งไปยังโรงงานแห่งหนึ่ง มันแต่ละหัวถูกลำเลียงไปตามสายพาน เข้าสู่ขั้นตอนต่าง ๆ ด้วยความเท่าเทียม ไม่มีลูกไหนได้เปรียบเสียเปรียบกัน ทั้งลำดับของการไปสู่แต่ละแผนก วิธีการที่ใช้ในแผนกนั้น ๆ ระยะเวลาในแผนกนั้น ๆ ด้วย...

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ   “การเรียนรู้ของผู้เรียน” หัวใจสำคัญของการศึกษา แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาได้กำหนดให้การศึกษาฐานสมรรถนะนั้นเป็นแนวทางในการปฏิรูปหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้เกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต โดยการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนในครั้งนี้ ครูผู้สอน หลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และสนับสนุน เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเกิดสมรรถนะตามเป้าหมายที่กำหนดได้ โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรของสถานศึกษา คือผู้บริหารและครูผู้สอนซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ มีกรอบคิดในการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง เกิดความตระหนัก เข้าใจในสิ่งที่ตนต้องพัฒนาก่อนการนำไปใช้จริง ...

จัดการศึกษาฐานสมรรถนะอย่างไรให้สำเร็จ ผ่านเลนส์การศึกษานานาชาติ

จัดการศึกษาฐานสมรรถนะอย่างไรให้สำเร็จ ผ่านเลนส์การศึกษานานาชาติ   “การศึกษาฐานสมรรถนะ” คำยอดฮิตที่บรรดาคุณครู ผู้บริหาร หรือบุคคลากรในวงการการศึกษาต่างได้ยินกันจนติดหู เมื่อไทยกำลังจะปรับหลักสูตรเป็นการศึกษาฐานสมรรถนะซึ่งเเน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ใหม่มีทั้งกลุ่มคนที่เข้าใจเเละไม่เข้าใจในสิ่ง ๆ นี้ วันนี้ก่อการครูจะพาทุกคนมารู้จักกับหลักสูตรฐานสรรถนะในต่างประเทศกันบ้าง ในประเทศที่ว่ากันว่า “การศึกษาดี” พวกเขามีการจัดการศึกษาอย่างไร มีวิธีดูเเลหรือสร้างการเรียนรู้อย่างไรให้กับเยาวชนในประเทศ   ฟินเเลนด์ ประเทศที่การศึกษาดีที่สุดในโลก เนเธอร์เเลนด์ ประเทศที่เด็กมีความสุขมากที่สุดในโลก สิงคโปร์...

เมื่อประเมินกันที่ข้อสอบ เด็กชายขอบจึงต้องอยู่รอบนอกตลอดไป?

เมื่อประเมินกันที่ข้อสอบ เด็กชายขอบจึงต้องอยู่รอบนอกตลอดไป?   ประเด็นเรื่องคุณภาพของการศึกษาไทยคือเรื่องที่สังคมต้องนำกลับมาถกกันใหม่เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะเมื่อใกล้ช่วงเวลาของการสอบใหญ่ระดับชาติ การสอบวัดผลในหลายสนามทั้งใหญ่และเล็กต่างบ่งชี้ให้เห็นถึงอนาคตที่เป็นไปได้ยากขึ้นสำหรับการเรียนต่อในระดับสูงเนื่องจากคะแนนกลายเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนพิเศษนอกห้องเรียนไปจนถึงเรียนล่วงหน้าจึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับครอบครัวที่มีฐานะ อย่างไรก็ตามประเทศไทยนั้นไม่ใช่ทุกครอบครัวจะสามารถเข้าถึงสถาบันเรียนพิเศษในปัจจุบันได้ทุกครอบครัวโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ห่างไกลเมืองใหญ่ที่อุดมไปด้วยแหล่งกวดวิชา   หากอ้างอิงข้อมูลการเติบโตของสถานศึกษากวดวิชาในระบบอย่างเป็นทางการตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจะพบว่ามีสถานศึกษากวดวิชาในปี 2556 จำนวน 2,342 แห่ง ขณะที่ในปี 2562 มีจำนวน 2,652 แห่ง ซึ่งมีเขตพื้นที่กรุงเทพมีอัตรากระจุกตัวเป็นอันดับหนึ่ง ขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ...