ก่อการครู – Korkankru

โคกสลุง รักษาอดีตด้วยอนาคต

Oct 12, 2020 สื่อการสอน < 1 min

โคกสลุง เผชิญวิกฤตหลายครั้ง ทั้งจากการวางผังเมืองที่กำหนดให้โคกสลุงเป็นเขตอุตสาหกรรม การสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่สร้างความกังวลสู่คนในชุมชนชาวไทยเบิ้ง ด้วยเกรงว่าวัฒนธธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อาจสูญหาย หรือกระทั่งถูกลืม อันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่อาจเปลี่ยนโฉมหน้าของชุมชนไปตลอดกาล แต่คนไทยเบิ้งหาใช่ยอมศิโรราบ พวกเขาต่อสู้อย่างชาญฉลาด ผ่านการนำวัฒนธรรมมาเป็นทุนในการต่อรองกับภาครัฐ กระทั่งสามารถเปลี่ยนผังเมืองของประเทศได้ จากชุมชนที่เคยถูกหมายตาให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นแหล่งถลุงแร่ บัดนี้โคกสลุงคือ ชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้ง ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

Oct 12, 2020 สื่อการสอน < 1 min

“คนไร้บ้านเป็นรูปธรรมที่สะท้อนว่า สังคมมีความเหลื่อมล้ำอยู่จริง ยิ่งมีคนไร้บ้านออกมาเยอะ แสดงว่า ระบบสังคมมีปัญหา ระบบสวัสดิการสังคมไม่ซัพพอร์ตผู้คนที่ตกหล่นพ่ายแพ้” จำนวนคนไร้บ้านมักมีมากในเมืองใหญ่ ขอนแก่นคือหนึ่งในหมุดหมายนั้น ด้วยขนาดของเมืองใหญ่ติดอันดับต้นๆ ของภูมิภาค ศูนย์กลางเศรษฐกิจของอีสาน การคมนาคมเติบโตแบบก้าวกระโดด และเป็นเมืองแห่งสถาบันการศึกษา เมืองในลักษณะนี้ คือพื้นที่ในการแสวงหางาน เงิน และโอกาสของชีวิต ณัฐวุฒิ​ กรมภักดี​ ผู้ประสานงานกลุ่มเพื่อนคนไร้บ้านบอกกับเราว่า 140-150...

‘ป้าแฟ้บ’ สายซับของเหล่าเด็กๆ รักษ์เขาชะเมา

Oct 8, 2020 สื่อการสอน < 1 min

ทุกๆ กระบวนการเรียนรู้ของรักษ์เขาชะเมา ไม่ทางก็ทางหนึ่ง ความรู้เหล่านั้นต้องเชื่อมโยงกับชีวิต สังคม และระบบเชิงโครงสร้างอย่างเลี่ยงไม่ได้ “เราพาเขาไปเรียนรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์ การปลูกผัก และเขาจะต้องรู้ว่า ประเด็นของ #CPTPP จะไปส่งผลต่อเรื่องเมล็ดพันธุ์อย่างไร “เพราะฉะนั้น จากการปลูกผักในแปลง มันต้องไปกระทบเรื่องเชิงนโยบาย ซึ่งทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องควรได้เรียนรู้และเชื่อมโยงเป็น” ทุกซอกมุมของชุมชนทุ่งควายกิน เด็กๆ กลุ่มรักษ์เขาชะเมามีหรือจะไม่รู้จัก หรือถ้าถามว่า อาจารย์ปรีดี พนมยงค์,...

ค้นหาหน้าตาของความสุข

Oct 6, 2020 สื่อการสอน < 1 min

ความสุขมีหลากหลายนิยาม สุดแต่ความรู้สึกนึกคิดในโมงยามนั้น แต่สำหรับคนพังงา เนื้อในแห่งความสุขที่พวกเขาว่า คือการกำหนดชีวิตตนเองได้ในฐานะพลเมืองของจังหวัด คำตอบนี้มิได้เอ่ยขึ้นลอยๆ แต่อย่างใด แต่เป็นคำตอบที่ผ่านกระบวนค้นหา ผ่านปากคำของชุมชน ชาวบ้าน ลูกเด็กเล็กแดงในจังหวัดพังงา ความสุขในที่ดินทำกินที่มั่นคง ทรัยพากรท้องถิ่นที่ไม่ถูกล้างผลาญ รายได้ยังชีพที่เพียงพอ การศึกษาที่ออกแบบเองได้ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตสวัสดิรัฐและชุมชนที่มั่นคงความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินมีความรู้และเท่าทันภัยพิบัติ  ตามที่ได้ไล่เรียงมา คือความสุขที่คนพังงาปรารถนาในการสิทธิและส่วนร่วม เพื่อออกแบบชีวิต ชุมชน และจังหวัด ในฐานะที่เขาเหล่านี้ล้วนเป็นพลเมืองคนหนึ่ง’ ติดตามเรื่องราวและหลักสูตรการเรียนรู้...

พิธีเปิดสถาบันการเรียนรู้พังงาแห่งความสุข

“พิธีเปิดสถาบันการเรียนรู้พังงาแห่งความสุข”ณ สำนักงานสมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุขใกล้โรงแรมภูงา ต.ตากแดด อ.เมือง จ.พังงา๒๙ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๗.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. กำหนดการ ๐๗.๐๐ – ๐๙.๐๐ พิธีทำบุญทางพระพุทธศาสนา (ฉันภัตตาหารเช้า)  ๐๘.๓๐ - ๐๙.๐๐...

คนเคลื่อนคน: กลศาสตร์ของประธานกิริยากรรม

คนเคลื่อนคน คือหนังสือรวมบทความภายใต้โครงการวิจัย ‘การศึกษาเรียนรู้ในชุมนุมเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม’ หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นโดยคณะนักวิจัยผู้ทำงานภาคสนาม พวกเขาผลิตบทความวิจัยจำนวน 5 ชิ้น ศึกษาชุมชน 4 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่บนคำถาม 2 ข้อ หนึ่ง-วิธีการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชน สอง-เมื่อเกิดการเรียนรู้ในชุมชนแล้ว ชุมชนนำความรู้นั้นเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างไร หนังสือเล่มนี้ไม่มีพระเอก “เมื่อก่อนเรามองภาวะผู้นำในเชิง heroic มองแบบฮีโร่ ผู้นำมาช่วยเเล้ว”...

โคกสลุงกับพังงา: ไม่มีฮีโร่ มีแต่การ ‘นำร่วม’ ของคนตัวเล็กตัวน้อย

พังงาแห่งความสุข ท่ามกลางผู้คนที่ผ่านพบในสถานการณ์ยุ่งเหยิงและโกลาหลหลังเหตุการณ์สึนามิ ภัยพิบัติในครั้งนั้นได้สร้างคนทำงานภาคประชาสังคมและผู้นำมากมายในจังหวัดพังงา ทุกข์ที่มีร่วมกันได้เรียงร้อยการทำงานให้พวกเขาที่เคยกระจัดกระจายไปคนละทิศ สู่การผนึกกำลังเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ เพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกันคือ ‘รวมคนสร้างเมืองแห่งความสุข’ ชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้งโคกสลุง ความโดดเด่นของชุมชนแห่งนี้คือ ความเข้มแข็งของชุมชนในการใช้เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยเบิ้ง ในการรับมือกับวิกฤติการวางผังเมือง ทำให้ตำบลโคกสลุงรอดพ้นจากการเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม สถาบันไทยเบิ้งโคกสลุงเพื่อการพัฒนาจึงถูกตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน พัฒนาภูมิปัญหาและวัฒนธรรม ไปจนถึงการสร้างชุมชนให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ต่อไป โดยสังเขป สองพื้นที่ข้างต้น คือพื้นที่การวิจัยในหัวข้อ ‘การถอดบทเรียนปฏิบัติการเชิงพื้นที่ภายใต้แนวคิดเรื่องการนำร่วมกรณีศึกษา...

2 ทศวรรษ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง โคกสลุง

วันที่ 29 สิงหาคม 2563 เชิญชวนร่วมงาน “2 ทศวรรษ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง โคกสลุง” และ งาน Open House ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง โคกสลุง ต.โคกสลุง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี รายละเอียดภายในงาน 07.00...

เสวนาวิชาการ: ถอดสลักโลกการศึกษา ถอดบทเรียนการพัฒนาชุมชน

เวทีเสวนาวิชาการ "ก่อการวิจัย: ถอดสลักโลกการศึกษา ถอดบทเรียนการพัฒนาชุมชน" วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้อง 202 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยลักษณ์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดการเบื้องต้นช่วงเช้า...

ปัญญาภายใน บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 2

ปัญญาภายใน บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 2 กล่าวถึงการฝึกการสื่อสารอย่างสันติ 3 ขั้น ต่อเนื่องจาก ตอนที่ 1 ได้แก่ การสื่อสารสองทางอย่างมีศิลปะ, ฝึกการสื่อสารสองทางตามแนวทางของการสื่อสารอย่างสันติ และ การตั้งคำถามเพื่อการโค้ชด้วย แผนผัง U Coaching การสื่อสารสองทางอย่างมีศิลปะ ต่อจากเรียนรู้เรื่องการค้นหาหัวใจหรือเข้าใจเสียงหมาป่าในตัวเองว่าภายใต้คำพูดที่แสดงความรุนแรงออกไป มาจากความปรารถนาหรือความต้องการอะไร...