Korkankru

บันทึกเวทีการเรียนรู้

ก่อการครู ก่อการคูณ : เมื่อหยดน้ำจะรวมตัวกัน เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนแปลง

เวทีพัฒนาศักยภาพการเป็นกระบวนกร (Training of the Trainers) โมดูลที่ 1 จัดกิจกรรมขึ้นเมื่อวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ณ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ซึ่งเป็นการกลับมารวมตัวกันอีกครั้งของครูผู้มีไฟในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาจากโครงการก่อการครู รุ่นที่ 1 และ 2 เพื่อสานรอยต่อแห่งความหวังที่อยากจะเห็นการศึกษาไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมุ่งมั่นและจริงจังร่วมกัน...

To Be A Better Teacher- เป็นครูคนใหม่ด้วยวิจัยในชั้นเรียน

เมื่อพูดถึงคำว่า ‘วิจัย’ หลายคนคงกำลังเอามือกุมขมับและนั่งขมวดคิ้ว ด้วยความรู้สึกยุ่งยากกับภาพกองหนังสืออ้างอิงเป็นตั้งๆ แม้งานวิจัยจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ครูแสวงหาความรู้ใหม่ๆ แต่หลายครั้งการทำวิจัยนั้นอาจไม่สัมพันธ์กับการพัฒนาห้องเรียนหรือผู้สอนเสมอไป การทำวิจัยจึงกลายเป็นภาระที่ครูต้องแบกรับและเกิดความทุกข์จากการทำวิจัยที่ไม่เชื่อมโยงกับบริบทในห้องเรียนและคุณค่าภายในของตัวครู ดังนั้น จะทำอย่างไรให้การทำวิจัยเป็นไปเพื่อคืนอำนาจอธิปไตยในการแสวงหาความรู้ของครู โดยครู เพื่อครูและผู้เรียน วันนี้อยากชวนให้ครูมานั่งล้อมวง ร่วมจุดไฟการเรียนรู้ผ่าน ห้องเรียน “เป็นครูคนใหม่ ด้วยวิจัยในชั้นเรียน” โดยกระบวนกร ผศ.ดร. สิทธิชัย วิชัยดิษฐ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์...

ปัญญาร่วม ขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ

เวทีพัฒนาศักยภาพผู้นำร่วมแห่งอนาคต : ผู้นำร่วมสร้างสุข ( Leadership for Collective Happiness – LCH )  โมดูล 3  ปัญญาร่วม ขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ เป็นเวทีพัฒนาศักยภาพที่ต่อเนื่องมาจาก 2 โมดูลแรก คือ ปัญญาโลก ปัญญาชีวิต...

ปัญญาภายใน บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 2

ปัญญาภายใน บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 2 กล่าวถึงการฝึกการสื่อสารอย่างสันติ 3 ขั้น ต่อเนื่องจาก ตอนที่ 1 ได้แก่ การสื่อสารสองทางอย่างมีศิลปะ, ฝึกการสื่อสารสองทางตามแนวทางของการสื่อสารอย่างสันติ และ การตั้งคำถามเพื่อการโค้ชด้วย แผนผัง U Coaching การสื่อสารสองทางอย่างมีศิลปะ ต่อจากเรียนรู้เรื่องการค้นหาหัวใจหรือเข้าใจเสียงหมาป่าในตัวเองว่าภายใต้คำพูดที่แสดงความรุนแรงออกไป มาจากความปรารถนาหรือความต้องการอะไร...

ปัญญาภายใน บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 1

การบ่มเพาะศักยภาพผู้นำในมิติปัญญาภายใน เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่อง โมดูลที่ 2 จากโมดูลที่ 1 ปัญญาโลก ปัญญาชีวิต ซึ่งใช้กระบวนการ การสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent Communication) เป็นแก่นหลักในการสร้างการเปลี่ยนแปลงมิติภายในและบ่มเพาะภาวะผู้นำบนฐานสุขภาวะทางปัญญา โดย ปัญญาภายใน : บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 1 นี้เป็นการกล่าวถึงการฝึกการสื่อสารอย่างสันติ 3...

เปลี่ยน ‘โรงเรียน’ เป็น ‘โรงเล่น’ ผ่านการออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้

การออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้ : เมื่อผู้ร้ายกลายเป็นผู้ช่วยในห้องเรียน เกมมักเป็นผู้ร้ายในสายตาของสังคม เพราะมันดึงดูดความสนใจและเวลาของนักเรียนให้ไปสนใจเกมมากกว่าการเรียนเนื้อหาวิชาการต่างๆ เกมจึงกลายเป็นเสมือนผู้ร้ายในสายตาของคุณครูและผู้ปกครองส่วนใหญ่ แต่เรากลับไม่ค่อยตั้งคำถามว่า เกมทำงานกับความคิดของเด็กอย่างไร และทำอย่างไรให้ผู้ร้ายกลายเป็นผู้ช่วยในการสร้างแรงดึงดูดความสนใจของนักเรียน วันนี้เราจึงอยากชวนให้คุณมาร่วมจุดไฟการเรียนรู้ ผ่าน “ห้องเรียนออกแบบการเรียนรู้ผ่านเกม” โดยวิทยากร ดร. เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีม DeSchooling Game...

Book of Shadow เขียนลงไปบนสมุดเงา เพื่อให้เรายอมรับเรื่องแย่ๆ ของตนเองบ้าง

การที่จะรักตัวเองไม่ได้หมายความว่า เรารักแค่ด้านดีของเราเท่านั้น แต่การรักตัวเองเราควรเปิดพื้นที่ที่จะรักทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ไม่ต่างกับการที่เรารักใครสักคน เราพร้อมที่จะรักเขาทั้งด้านดีและไม่ดี กิจกรรมหนึ่งในห้องเรียนแห่งรัก ที่จะทำให้เราได้ทำงานกับตัวเองคือ การทำ Book of Shadow หรือ สมุดเงา คุณอาจเคยได้ยินมาว่า สมุดเงานี้ใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลเวทย์มนตร์ของพวกแม่มดตามนิทานและเรื่องเล่าในสมัยก่อน หรือเป็นการเขียนไดอารีแบบที่เรามักถูกบังคับให้ทำตอนเด็กๆ  แต่ในห้องเรียนนี้ การเขียน Book of Shadow...

บันทึกครูปล่อยแสงปี 2 เปลี่ยนห้องเรียนที่ย้อนแย้ง เป็นแสงแห่งความสุข

ครูปล่อยแสง หรือก่อการครูโมดูล 4 เป็นโมดูลสุดท้ายของโครงการก่อการครู ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ครูก่อการรุ่น 2 กลับมาใคร่ครวญสะท้อนคิดและถอดบทเรียนร่วมกันถึงการเดินทางบนเส้นทาง ก่อการครูที่ผ่านมาทั้ง 3 โมดูล สิ่งที่ได้เรียนรู้สร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรกับตัวเอง ห้องเรียน ลูกศิษย์ และชุมชน รวมถึงเป็นการส่งต่อประสบการณ์ที่แต่ละคนมีร่วมกันสู่สาธารณะ เพื่อนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันไปต่อยอด แลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายเล็กๆ ของตัวเองที่เป็นดั่งแรงกระเพื่อมในการเปลี่ยนแปลและสร้างห้องเรียนแห่งความสุขต่อไป...

การสอนที่มีความหมาย ครูคือกระบวนกร และนักเรียนคือเจ้าของความรู้

หลังจากผ่านกระบวนการเรียนรู้โมดูลแรก “มิติความเป็นมนุษย์ของครู” และโมดูลสอง "ตลาดวิชาเครื่องมือและทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้"  ให้กับครู เพื่อนำกลับไปสร้างการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนของตนแล้ว ในครั้งนี้โครงการก่อการครูเดินทางมาถึงโมดูลสาม "ครูคือกระบวนกร” เป็นกระบวนการชวนคุณครูก่อการรุ่น 2 กลับมาทบทวนและแลกเปลี่ยนผลการเติบโต เรียนรู้ ทั้งภายในตัวครูและชั้นเรียนของพวกเขาในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และร่วมกันพัฒนาออกแบบกระบวนการเรียนรู้บนฐานการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงหรือ Authentic Learning พร้อมร่วมสะท้อนย้อนมองทิศทางการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงการศึกษาในอนาคตร่วมกัน ช่วงเช้าวันแรก เริ่มต้นด้วยกิจกรรมเพื่อให้ครูได้ทักทายและเตรียมพร้อมทำงานร่วมกันอีกครั้ง...

‘ครูคือมนุษย์’ สำรวจภูมิทัศน์ภายในของความเป็นครู เพื่อเข้าใจผู้คนที่อยู่รอบห้องเรียน

เมื่อการศึกษากลายเป็นความทุกข์ร่วมของชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงเกิดความร่วมมือกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาครูและบุคลากรทางศึกษาของ โรงเรียนประชารัฐ และการพัฒนาขับเคลื่อนโรงเรียนร่วมพัฒนาในโครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ และโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) หลังจากกิจกรรมทำความรู้จัก และจับคู่รับฟังที่มาของอาชีพครู และอาชีพครูมีคุณค่าต่อตัวเราและคนอื่นอย่างไร และจับกลุ่ม 4...