Korkankru

บันทึกเวทีการเรียนรู้

นิเวศที่ฉันได้เลือกที่จะเติบโต

ในเดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมา โครงการโรงเรียนปล่อยแสง และเครือข่าย ได้จัดงาน เวทีปล่อยแสง : สร้างการศึกษาไทยให้มีอนาคต เพื่อนำเสนอวิธีคิด การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์โลกอนาคต ผ่านผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ตั้งแต่ ตัวแทนจากศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัยอิสระ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน ในรูปแบบของงานเสวนา หนึ่งในผู้ที่ขึ้นไปร่วมปล่อยแสงบนเวทีแห่งนี้คือ นางสาวรัตนาภรณ์...

เวทีเสวนาโรงเรียนปล่อยแสง นิเวศการเรียนรู้ที่มีความหมาย

“นิเวศการเรียนรู้” คือคำสำคัญที่โครงการโรงเรียนปล่อยแสงนำมาพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ เพราะเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับโรงเรียน คงไม่มีใครคนใดคนหนึ่งขับเคลื่อนได้เพียงลำพัง แต่คำสำคัญนี้ยังเป็นแค่กรอบคิดหรือวิธีการทำงานในมุมมองของหลายๆ คน เพราะยังไม่เคยเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง งานเวทีปล่อยแสงซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2566 จึงตั้งใจเปิดพื้นที่ให้ผู้คนจากโครงการโรงเรียนปล่อยแสงได้มาแลกเปลี่ยน บอกเล่าการทำงานของการพัฒนานิเวศการเรียนรู้ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถบูรณาการความรู้สู่ชีวิตจริง  มาร่วมฟังทีมผู้จัด ผู้อำนวยการโรงเรียน คุณครู รวมถึงนักเรียนที่มาร่วมแลกเปลี่ยนในเวทีเสวนา “โรงเรียนปล่อยแสง นิเวศการเรียนรู้ที่มีความหมาย” ไปพร้อมๆ กัน นิเวศที่ฉันเติบโต “ตอนประถมฯ...

ถอดบทเรียน 6 โรงเรียนปล่อยแสง ย้อนรอยเส้นทางการเรียนรู้ที่ผลิบาน

“รู้สึกตื่นเต้นพอสมควร เพราะปีนี้เป็นครั้งแรกที่เรามารวมกันพร้อมหน้าทั้ง 6 โรงเรียน หลังจากที่อบรมโมดูลต่างๆ ของโครงการ ก็ไม่มีโอกาสมาเจอกันแบบนี้ ต่างคนต่างอยู่โรงเรียนของตัวเอง ค้นหาโจทย์และพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของโรงเรียนตามประเด็นที่แตกต่างกัน  วันนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะได้มาแลกเปลี่ยนและสะท้อนการเรียนรู้กันว่า โรงเรียนฉันมีโจทย์แบบนี้ เกิดการเรียนรู้แบบนี้ ของโรงเรียนเธอล่ะเป็นอย่างไร”  อธิษฐาน คงทรัพย์ หรืออาจารย์เปิ้ล หัวหน้าโครงการโรงเรียนปล่อยแสงและผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงานถอดบทเรียนรวมในรอบ 2 ปีของโครงการฯ เมื่อปลายเดือนเมษายน...

ก่อการคูณ : เครือข่ายครู ขับเคลื่อนการศึกษา

หลังจากการรวมตัวกันของครูแกนนำก่อการครูใน เวทีพัฒนาศักยภาพการเป็นกระบวนกรหรือเวทีก่อการคูณ โมดูล 1 เพื่อมองหาเครือข่าย เริ่มขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่ของตน ก่อร่างเป็นเครือข่ายกว่า 10 เครือข่ายทั่วประเทศในปลายปีที่ผ่านมา และได้กลับมาเจอกันอีกครั้งใน เวทีก่อการคูณ โมดูลที่ 2 ว่าด้วยองค์กรการเรียนรู้และการสร้างเครือข่าย จัดขึ้นในวันที่ 6-8 มีนาคม 2564  ณ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...

ครูปล่อยแสง : บัวหลวงก่อการครู-ร่วมพัฒนา

หลังจากผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการมา 3 โมดูล คือ ครูคือมนุษย์  ตลาดวิชา และ ครูคือกระบวนกร คุณครูได้นำสิ่งที่เรียนรู้ไปทดลองสร้างการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง ห้องเรียน และโรงเรียน แล้วกลับมาพบเจอกันอีกครั้ง พร้อมนำสิ่งที่เรียนรู้ตลอดการเข้าร่วมโครงการ มาแบ่งปัน และ สื่อสารต่อผู้เข้าร่วมภายในงาน ครูปล่อยแสง: บัวหลวงก่อการครู – ร่วมพัฒนา   วันแรกของการกลับมาพบเจอ...

ก่อการครู ก่อการคูณ : เมื่อหยดน้ำจะรวมตัวกัน เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนแปลง

เวทีพัฒนาศักยภาพการเป็นกระบวนกร (Training of the Trainers) โมดูลที่ 1 จัดกิจกรรมขึ้นเมื่อวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ณ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ซึ่งเป็นการกลับมารวมตัวกันอีกครั้งของครูผู้มีไฟในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาจากโครงการก่อการครู รุ่นที่ 1 และ 2 เพื่อสานรอยต่อแห่งความหวังที่อยากจะเห็นการศึกษาไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมุ่งมั่นและจริงจังร่วมกัน...

To Be A Better Teacher- เป็นครูคนใหม่ด้วยวิจัยในชั้นเรียน

เมื่อพูดถึงคำว่า ‘วิจัย’ หลายคนคงกำลังเอามือกุมขมับและนั่งขมวดคิ้ว ด้วยความรู้สึกยุ่งยากกับภาพกองหนังสืออ้างอิงเป็นตั้งๆ แม้งานวิจัยจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ครูแสวงหาความรู้ใหม่ๆ แต่หลายครั้งการทำวิจัยนั้นอาจไม่สัมพันธ์กับการพัฒนาห้องเรียนหรือผู้สอนเสมอไป การทำวิจัยจึงกลายเป็นภาระที่ครูต้องแบกรับและเกิดความทุกข์จากการทำวิจัยที่ไม่เชื่อมโยงกับบริบทในห้องเรียนและคุณค่าภายในของตัวครู ดังนั้น จะทำอย่างไรให้การทำวิจัยเป็นไปเพื่อคืนอำนาจอธิปไตยในการแสวงหาความรู้ของครู โดยครู เพื่อครูและผู้เรียน วันนี้อยากชวนให้ครูมานั่งล้อมวง ร่วมจุดไฟการเรียนรู้ผ่าน ห้องเรียน “เป็นครูคนใหม่ ด้วยวิจัยในชั้นเรียน” โดยกระบวนกร ผศ.ดร. สิทธิชัย วิชัยดิษฐ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์...

ปัญญาร่วม ขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ

เวทีพัฒนาศักยภาพผู้นำร่วมแห่งอนาคต : ผู้นำร่วมสร้างสุข ( Leadership for Collective Happiness – LCH )  โมดูล 3  ปัญญาร่วม ขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ เป็นเวทีพัฒนาศักยภาพที่ต่อเนื่องมาจาก 2 โมดูลแรก คือ ปัญญาโลก ปัญญาชีวิต...

ปัญญาภายใน บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 2

ปัญญาภายใน บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 2 กล่าวถึงการฝึกการสื่อสารอย่างสันติ 3 ขั้น ต่อเนื่องจาก ตอนที่ 1 ได้แก่ การสื่อสารสองทางอย่างมีศิลปะ, ฝึกการสื่อสารสองทางตามแนวทางของการสื่อสารอย่างสันติ และ การตั้งคำถามเพื่อการโค้ชด้วย แผนผัง U Coaching การสื่อสารสองทางอย่างมีศิลปะ ต่อจากเรียนรู้เรื่องการค้นหาหัวใจหรือเข้าใจเสียงหมาป่าในตัวเองว่าภายใต้คำพูดที่แสดงความรุนแรงออกไป มาจากความปรารถนาหรือความต้องการอะไร...

ปัญญาภายใน บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 1

การบ่มเพาะศักยภาพผู้นำในมิติปัญญาภายใน เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่อง โมดูลที่ 2 จากโมดูลที่ 1 ปัญญาโลก ปัญญาชีวิต ซึ่งใช้กระบวนการ การสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent Communication) เป็นแก่นหลักในการสร้างการเปลี่ยนแปลงมิติภายในและบ่มเพาะภาวะผู้นำบนฐานสุขภาวะทางปัญญา โดย ปัญญาภายใน : บ่มเพาะศักยภาพผู้นำ ตอนที่ 1 นี้เป็นการกล่าวถึงการฝึกการสื่อสารอย่างสันติ 3...