ก่อการครู – Korkankru

โครงการจัดการความรู้และขับเคลื่อนระบบการศึกษาและการเรียนรู้

เชื่อมคน เชื่อมการเรียนรู้ สู่การศึกษาไร้รอยต่อ

“ในประเทศไทยมีคนที่ทำงานเพื่อเด็กและเยาวชนมาก มีผู้ที่พยายามทำศูนย์การเรียนรู้โดยอาศัยอำนาจในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีองค์กรที่พยายามช่วยเหลือเด็กให้ได้เรียนรู้ในรูปแบบอื่นๆ โดยที่ยังไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ ทำงานร่วมกันกับการศึกษาในระบบโดยยังไม่ผนวกเข้ามาเป็นองคาพยพที่สำคัญในหลักสูตร มีส่วนราชการจำนวนไม่น้อยที่ทำเรื่องนี้โดยตรงและพยายามทำงานในเชิงระบบ รอยต่อของผู้เกี่ยวข้องนี้เองคือสิ่งที่เชิญทุกคนมาร่วมในวันนี้” รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี หัวหน้าคณะทำงานทางวิชาการ SATการศึกษาและการเรียนรู้ กล่าวเปิดงานสัมมนา เมื่อรัฐที่เป็นหน่วยงานสำคัญในการกำหนดวาระ จัดสรรทรัพยากรและงบประมาณ ขณะที่ผู้สร้างนวัตกรรมทางการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในหน่วยงานภาครัฐ มุ่งเน้นทำงานในพื้นที่เล็กๆ ของตนเอง...

งานวิจัยใหม่ สู่การศึกษาไร้รอยต่อ

“การศึกษาไร้รอยต่อ” เป็นคำใหม่ ศัพท์ใหม่ ที่โครงการ SAT การศึกษาและการเรียนรู้ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้เป็นธงนำในการฉายภาพรวมของปัญหาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของประเทศไทย ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างจินตนาการใหม่ ให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน เพื่อนำองค์ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ มาร่วมกันปฏิรูปการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ ผู้มีส่วนสำคัญหนึ่ง คือหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมทางด้านการศึกษาและการเรียนรู้  ขณะที่ SAT เองก็พร้อมจะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  จึงเป็นที่มาของการจัดงานสัมมนาวิชาการ...

สู่การศึกษาไทยไร้รอยต่อ

สู่การศึกษาไทยไร้รอยต่อ จากการทำงานในระยะที่หนึ่งของ SAT การศึกษาและการเรียนรู้ หรือ Strategic Agenda Team ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานทางวิชาการ และเครือข่ายของหน่วยปฏิบัติการ ที่มีชุดความรู้จากการปฏิบัติให้กับ สกสว. เพื่อนำความรู้นี้มาขับเคลื่อนระบบการศึกษา เราพบว่าการศึกษาไทยนั้นมี “รอยต่อ” ทั้งในแง่ของตัวระบบเอง ในด้านความหลากหลายของผู้เรียน ในด้านของศาสตร์ความรู้ หรือแม้แต่รอยต่อของผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคการศึกษา  การศึกษาไร้รอยต่อ (Seamless...

ห้องเรียนดีๆ สักห้องเกิดขึ้นได้อย่างไร? ถอดรหัสนวัตกรรมห้องเรียนของคุณครูนักออกแบบ

คุณเคยนั่งเรียนในห้องเรียนที่ทำให้รู้สึกประทับใจไม่ลืมไหม?  อาจเป็นชั่วโมงเรียนที่เปลี่ยนมุมมองบางอย่าง พาคุณไปเจอกับคำถามอันน่าฉงน ชักชวนให้ปะติดปะต่อข้อมูลความรู้อย่างสนุกสนาน  หรืออาจเป็นห้องเรียนธรรมดาๆ แต่มีคุณครูที่จุดประกายให้คุณอยากไปเรียนรู้ต่อ “คนมักเข้าใจว่าถ้าครูสอนดี ห้องเรียนจะดี แล้วเด็กก็จะดีไปเอง เราต้องมองถึงองค์ประกอบที่ซับซ้อนกว่านั้น ไม่ติดกับดักของภาพห้องเรียนดีๆ ที่ปลายทาง แล้วเอาความกดดันมาลงที่ครูว่าต้องทำให้ได้ ครูต้องสอนเก่ง”รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี มองว่าห้องเรียนที่ดีไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ ภายใต้ข้อจำกัดมากมายของระบบโรงเรียน ยังมีครูจำนวนหนึ่งที่เปี่ยมด้วยพลังสร้างสรรค์ คณะทำงานวิชาการ SAT การศึกษาและการเรียนรู้...

แบ่งทรัพยากรอย่างไร ให้การศึกษาไทยไม่เหลื่อมล้ำ

มีอะไรที่เชื่อมโยงกันในข่าว ครูดอยต้องออกจากความเป็นครู เพราะเข้าไปพัวพันกับการดูแลค่าอาหารกลางวันของเด็ก  ผลการประเมิน PISA ล่าสุดเด็กไทยคะแนนตกต่ำในทุกมิติ  แม่นักศึกษาต้องกู้เงินนอกระบบมาให้ลูกเรียน พร้อมกับต้องพยายามขอกู้ กยศ.  ฯลฯ “ความเหลื่อมล้ำ” คือคำตอบที่หลายคนอาจนึกถึงขึ้นมาทันที แต่ความเหลื่อมล้ำในการศึกษาไทยยังมีเรื่องราวใต้พรมที่มากกว่าเป็นข่าว นักวิชาการหลายสำนักจึงมาร่วมกันแลกเปลี่ยน พูดคุยและพยายามเสนอทางออกในการสัมมนาวิชาการ Education Journey Forum ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่...

“การศึกษากับเด็กชายขอบ” ปัญหาที่ถูกซ่อนไว้ใต้คำว่า ความมั่นคงกับพหุวัฒนธรรม

ขณะที่เด็กเกิดใหม่ในประเทศไทยลดลงต่อเนื่องมานับทศวรรษ และมีโรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งเสี่ยงถูกปิดตัวเนื่องจากมีจำนวนนักเรียนไม่เพียงพอ  แต่ขณะเดียวกันก็มีเยาวชนไร้สัญชาติจำนวนมากไม่อาจเข้าสู่ระบบการศึกษา  เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง รับเด็กเหล่านี้มาเรียนกว่า 100 คน และโดนตำรวจแจ้งข้อหาทำผิดกฎหมายด้านความมั่นคง  ในความเป็นจริง ประเทศไทยมีนักเรียนรหัส G หรือเด็กนักเรียนที่ไม่มีสัญชาติไทยอยู่ในระบบการศึกษากว่า 80,000 คน  การสัมมนาวิชาการ Education Journey Forum ครั้งที่ 10...

การศึกษาไทยในอุ้งมือของรัฐ เมื่ออำนาจนิยมไม่ยอมให้คนตั้งคำถาม

“ตั้งแต่โดนคดีมา ขึ้นศาลไปไม่รู้แล้วกี่รอบแล้ว มีช่วงหนึ่งผมทำงานพาร์ทไทม์ก็ต้องลางานก็เสียงานเสียการ เสียสุขภาพจิตด้วย” คือปากคำของ “เท็น” - ยศสุนทร รัตตประดิษฐ์ นักศึกษาสาขา Media Arts and Design คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้มีคดีความติดตัว เพราะทำกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งถือเป็นสถานการณ์รุนแรงที่เกิดกับคนที่ยังไม่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ในประเทศที่มีค่านิยมว่านักเรียน/นักศึกษาควรมีหน้าที่เรียนอย่างเดียว อย่ายุ่งกับการเมือง...

ความเหลื่อมล้ำกับฝันที่ไม่เป็นจริงระบบการศึกษาที่คน “ไม่เท่ากัน”

“ก่อนหน้านี้หนูอยากทำงานมากกว่าเรียน กลัวพ่อแม่จะส่งเราไม่ไหว ตอน ม.1 ก็ถามพ่อแม่ว่าจะส่งหนูไหวเหรอ มันต้องเสียค่าเทอม พ่อแม่บอกว่าไหว ยังไงก็ไหว เราก็เลยเรียน แล้วก็ช่วยพ่อแม่ทำงานไปด้วย” “หนูฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง ฟีลแบบพิมรี่พายขายทุกอย่าง เพราะหนูชอบขาย ชอบพูดแต่หนูไม่สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ ต้องทำอาชีพที่เป็นลูกจ้างอย่างเดียว อย่างขายเสื้อผ้าถ้าเป็นกิจการใหญ่ มีหน้าร้าน ต้องเสียภาษี แบบนี้ไม่ได้” คำพูดแรกเป็นของเด็กชายอดทน อุดทา...

“โรงเรียนของเราไม่น่าอยู่” ระบบการศึกษาที่สร้างทุกข์ให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน

“โรงเรียนของเราน่าอยู่ คุณครูใจดีทุกคน เด็กๆ ก็ไม่ซุกซน พวกเราทุกคนชอบมาโรงเรียน~”                 ข้อความที่อ่านแล้วหลายคนคงฮัมเป็นทำนองเพลงได้ ในฐานะเพลงเด็กที่โรงเรียนมักเปิดให้นักเรียนฟังอยู่บ่อยครั้ง                 เพลง “โรงเรียนของเราน่าอยู่” กลับมาเป็นที่พูดถึงในวงกว้างอีกครั้งช่วงประมาณ 2 ปีก่อน เมื่อนิสิตจุฬาฯ ทำวิทยานิพนธ์โดยหยิบยกปัญหาในโรงเรียนมาบอกเล่าผ่านเพลงดัดแปลงใหม่ในชื่อ “โรงเรียนเขาว่าน่าอยู่” มีเนื้อเพลงบางส่วนว่า “โรงเรียนเขาว่าน่าอยู่ แต่พวกหนูไม่ค่อยชอบไป มีคนทำร้ายจิตใจ...

“ค่านิยม” กับทิศทางการศึกษา เมื่อระบบก้าวไม่ทันความคิดของคนรุ่นใหม่

“ตั้งใจเรียนนะลูก โตขึ้นไปจะได้เป็นเจ้าคนนายคน” “เรียนจบสูงๆ จะได้ประสบความสำเร็จในชีวิต” คำสอนที่สะท้อนค่านิยมของสังคมไทยที่มีต่อระบบการศึกษา เชื่อว่าความสำเร็จทางการเรียนเป็นเครื่องมือช่วยเลื่อนระดับทางชนชั้น  “ลูกฉันจะมีโอกาสได้เป็นเจ้าคนนายคน” หรือมีความสำเร็จ หากพากเพียรเรียนหนังสือไปให้ได้สูงสุด                 แต่คำถามคือคำว่า “ค่านิยมทางการศึกษา” นั้นหมายความว่าอย่างไร แต่ละคนเข้าใจตรงกันไหม  ที่แน่ๆ คือมันมีอำนาจชี้นำให้เราตัดสินใจลงมือทำตามอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเชื่อว่าน่าจะถูกต้อง แต่ “ถูกต้อง” จริงๆ หรือไม่...