ก่อการครู – Korkankru

แหล่งเรียนรู้

‘เมล็ดข้าวเปลือกไทยเบิ้ง’การกลับบ้านของหนุ่มสาว เพื่อเปลี่ยนวิกฤติชุมชนเป็นห้องเรียน

ไกลออกไปจากตัวเมืองลพบุรีราว 60 กิโลเมตร คือที่ตั้งของชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้ง ตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี หลายคนอาจรู้จัก ‘โคกสลุง’ ชุมชนริมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เส้นทางรอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน โดยมีขบวนรถไฟลอยน้ำอันลือชื่อเคลื่อนผ่านเวิ้งน้ำป่าสัก ในอดีตโคกสลุงคือชุมชนโดดเดี่ยวห่างไกล ต้องเผชิญหน้ากับยากลำบากรอบด้าน ทั้งการเข้าถึงระบบสุขภาพ การเดินทางสัญจร ความปลอดภัยในชีวิต ปัญหายาเสพติด และการเข้ามาของโครงการพัฒนาที่อาจเปลี่ยนแปลงวิถีดั้งเดิมของชุมชนชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ถึงที่สุดแล้ว ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับวิกฤติ...

‘หนี้สิน ภัยพิบัติ ชาวเล และวิถีมุสลิม’ หลักสูตรการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนใครในโลก

“คนในจังหวัดพังงาถูกกำหนดโดยส่วนกลางมาตลอดว่า เราต้องเป็นอย่างนั้น เราต้องทำอย่างนี้ ชาวบ้านเดือดร้อนเพราะไม่สามารถออกแบบหรือพัฒนาบ้านของตัวเองได้ สมมติว่ามีงบประมาณมาก้อนหนึ่ง ก็จะถูกสั่งว่าคุณต้องเอาไปทำสิ่งนั้นสิ่งนี้นะ เราคิดนอกกรอบไม่ได้เลย และมันทำให้เราคิดนอกกรอบไม่เป็น” ถ้อยคำของ ‘ชาตรี มูลสาร’ สะท้อนชัดเจนว่า พังงาคือจังหวัดที่ประสบปัญหาไม่ต่างจากจังหวัดอื่นๆ ทั้งปัญหาหนี้สิน ที่ดิน การไร้อำนาจต่อรองของเกษตรกร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงผลกระทบจากโครงการพัฒนา ที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน พังงาแบ่งออกเป็น 8...

‘มะขามป้อมอาร์ตสเปซ’ ข้ามขอบการศึกษา สู่ความเป็นไปได้ของการเรียนรู้

“มนุษย์มีตั้งกี่ล้านคน คุณจะให้เด็กแต่งตัวเหมือนกัน ไปเรียนแบบเดียวกัน มีสายวิทย์ มีสายศิลป์ หรือมีแค่ 4-5 โปรแกรมในระบบโรงเรียนให้เลือกเท่านั้นหรือ ? “ความแตกต่าง ความชอบ และลักษณะของเด็กไม่เหมือนกัน คุณเปิดไปเลยอีกร้อยพันโมเดล อยู่ที่ว่าเด็กจะไปเลือกอะไร เหมาะกับจริตแบบไหน จะเรียนกึ่งโรงเรียน ครึ่งหนึ่งออกมาเรียนข้างนอก จะเรียนข้างนอกไปเลย หรือจะเรียนในโรงเรียนอย่างเดียว มันก็ไม่แปลกอะไร” เช่นเดียวกับกระแสน้ำที่มีสายธารหลักในการหล่อเลี้ยงชีวิต...

รัฐไทยไม่ใช่เจ้าของการศึกษา
‘มหาลัย’ไทบ้าน’ โจนทะยานสู่ความเป็นไทในห้องเรียนสีชมพู

ฉากหนึ่งของจังหวัดขอนแก่นถูกขนานนามว่า ‘ขอนแก่นโมเดล’ จากแผนพัฒนาเมืองของกลุ่มเอกชนให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (smart city) หน้าตาของจังหวัดถูกปรับเปลี่ยนเหมือนภาพฝัน ความเจริญถูกโปรโมทบนจอภาพสามมิติ กระทั่งการประโคมข่าวของภาครัฐ ทว่าห่างออกไปสุดขอบจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 100 กิโลเมตร การเข้าถึงของถนนหนทางราบเรียบ อินเตอร์เน็ต น้ำปะปา หรือไฟฟ้า ของ ‘อำเภอสีชมพู’ เรียกได้ว่า อยู่ในสภาพขี้ริ้วขี้เหร่ แม้ที่แห่งนี้จะมีต้นทุนทางธรรมชาติและทัศนียภาพงดงาม...

ไม้ขีดไฟแห่งความวาดหวังจากภูเขาถึงจักรวาลกว้างคือห้องเรียนไร้ขอบของเด็กทุกคน

โดยสังเขป ‘ไม้ขีดไฟ’ เริ่มต้นจากกลุ่มนักศึกษาที่อกหักกับการศึกษา (ไทย) ครูคือศูนย์กลางของห้องเรียน ผู้เรียนคือผู้ฟังที่ภักดี ความสร้างสรรค์มีพื้นที่จำกัด ขณะที่ความสนุกสนานแทบจะไม่มีที่เหยียบยืนในระบบการศึกษาเช่นนี้  กุ๋ย - ศรัทธา ปลื้มสูงเนิน ผู้ประสานงานกลุ่มไม้ขีดไฟ และเพื่อน ตระหนักดีว่าการศึกษาไทยไม่สามารถทำให้ผู้เรียนทุกคนบรรลุศักยภาพของตนเอง มากกว่านั้น การศึกษายังไม่ตอบโจทย์ชีวิตของมนุษย์ในสังคมและยุคสมัยที่ซับซ้อนผกผัน การศึกษามีพื้นที่ให้เด็ก ‘เก่งและดี’ แต่ไม่มีพื้นที่ให้ความเก่งรูปแบบอื่นๆ  “เรามาทำกิจกรรมแล้วพบว่า...

สวนศิลป์บินสิ! ติดปีกการศึกษา ชีวิตและการเรียนรู้ที่ห้องเรียนไม่ได้สอน

“เขาทำงานหนักแทบตายเพื่อที่จะซื้ออาหารดีๆ ซื้อเสื้อผ้าดีๆ ซื้อบ้านดีๆ และเพื่อรักษาตัวเอง ซึ่งเป็นปัจจัย 4 ที่เขารู้สึกไม่มีอำนาจเลือกพวกนี้ เขาต้องไปทำงานหนัก หาเงิน แล้วก็กลับมา “สังคมเราเป็นสังคมที่ถูกปกครอง ถูกครอบงำโดยกลุ่มอำนาจใหญ่ๆ กลุ่มทุนที่อยู่ข้างหลัง จัดระเบียบสังคมให้ไปสู่ผลประโยชน์ของเขา เพราะการศึกษาก็สร้างมาเพื่อระบบทุน ระบบอุตสาหกรรม ให้คนรับใช้ระบบเหล่านั้น มันไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้คนมีความสุข ให้คนใช้ชีวิตได้อย่างอิสระเสรี หรือให้คนเท่ากัน” วันเวลาในวัยเยาว์เดินไปอย่างเชื่องช้า...

กิ่งก้านใบ LearnScape: การเรียนรู้นอกห้องเรียนของผู้ประสบภัยทางการศึกษา

“ผมโตมากับยาย อยู่บ้านในชทบท ชอบฝันไปเรื่อยว่าอยากเป็นทนาย อยากเป็นปลัด อยากเป็นทหาร อยากเป็นตำรวจ ผมพยายามพิสูจน์ตัวเอง ผมอยากเป็นที่หนึ่ง อยากได้รับการยอมรับตามค่านิยมของสังคม แต่ก็ไม่เคยถูกยอมรับเลยสักครั้ง “บ้านผมไม่ได้อบอุ่น ไม่ได้ปลอดภัย ท้ายที่สุด ผมเลิกเรียน ไม่สนใจอะไร ทำให้ผมติดเพื่อน รู้สึกสนิทใจกับเพื่อน เพื่อนพาทำอะไรผมก็ทำด้วย พอการพิสูจน์ตัวเองมันไม่มีคุณค่ามากพอ ผมก็ไม่รู้ว่าจะทำต่อไปเพื่ออะไร “ผมกลายเป็นเด็กที่เรียกว่ากลุ่มเปราะบาง...

‘โรงเล่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้’ เพราะช่วงเวลาผ่อนคลายคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด

“การไปโรงเรียนหรือการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันของเด็ก เขาเครียดมาก ทำให้เกิดภาวะปิดกั้นไม่สามารถที่จะเรียนรู้ ขณะที่ครูก็ข่มขู่ บังคับ โดยเฉพาะโรงเรียนที่บอกว่าตัวเองเป็นวิชาการ เพราะฉะนั้นนอกจากเด็กจะถดถอยแล้ว ก็คือกลัวไปอีกร้อยแปด “ในทางหลักสูตรแกนกลางเขาอาจจะเขียนไว้สวย แต่ในทางปฏิบัติที่เราเห็น เด็กยังมีภาวะการเรียนรู้ถดถอย โดยเฉพาะเด็กรอบนอกที่เราเจอ เขาไม่กล้าที่จะพูดความคิด ความรู้สึก ความต้องการของตัวเอง เด็กเรียนจบม.3 แทบไม่รู้เลยว่าจะประกอบอาชีพอะไร ค้นหาตัวเองเจอหรือยัง ถ้ามันเวิร์คเด็กเราจะมีศักยภาพสูงกว่านี้ ประเทศเราจะไปได้ไกลกว่านี้แล้ว” ‘ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้’...