ก่อการครู – Korkankru

การศึกษาไทย

ทำไมเราจึงต้องการ “ห้องเรียนข้ามขอบ”

หากจะพูดถึงปัญหาที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากระบบการศึกษา- ไทยเรายังคงได้ยินเรื่องเดิมซ้ำๆ ต่อเนื่องแทบทุกจะช่องทางทั้งบทความงานเสวนา หรืองานวิจัยและก็ดูเหมือนจะเป็นไปในทิศทางที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่มีเด็กกว่า 1.02 ล้านคนที่หลุดจากระบบการการศึกษา เด็กมากมายขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ และได้รับสิทธิที่ควรจะได้รับ แต่การศึกษาในระบบก็ไม่ตอบโจทย์ทักษะที่จำเป็นในอนาคต และไม่ยืดหยุ่นพอที่จะตอบสนองต่อความสนใจหรือเป้าหมายในชีวิตของเด็กแต่ละคน ทำให้คนที่ได้วุฒิจากระบบการศึกษาไม่มีทักษะที่พร้อมนำไปใช้ทำงานได้จริง รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาสำคัญต้องเฝ้าระวังในขณะนี้  ดังนั้นถ้าจะตอบคำถามว่า ทำไมเราจึงต้องการ “ห้องเรียนข้ามขอบ” ก็คงต้องกลับไปทำความเข้าใจกันก่อนว่า แล้ว “ขอบ” ที่กำลังชวนทุกคนข้ามนั้น มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับปัญหาข้างต้นอย่างไร...

Eco school โรงเรียนตื่นรู้เชิงนิเวศน์ที่ศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์

“ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน และ “ครูนุช” นุชวรา ปูรณัน ผู้บริหารรุ่นสองของโรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เติบโตมากับพ่อแม่ธนินทร์ ปูรณัน ผู้จัดการโรงเรียนและ ศันสนีย์ ปูรณัน ครูใหญ่ ผู้ทุ่มเทชีวิตให้กับการพัฒนาโรงเรียนมายาวนาน “ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน “ครูนุช”...

โรงเรียนปลอดขยะ จุดเริ่มต้นการสร้างจิตสำนึกสู่สังคม เพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ต่อนักเรียน

ก่อนเทอมสุดท้ายของภาคเรียนที่ 2 ปี 2566 จะปิดลง ในเวลาใกล้เลิกเรียนมีดอกอินทนิลสีม่วงจางคว้างกลีบไปมาเป็นฉากหลัง พร้อมกับบรรยากาศจอแจของเด็กนักเรียนด้านหน้าประตูทางออก ท่ามกลางแก้วน้ำพลาสติก ขวดน้ำ และเศษขยะยิบย่อยก็ปลิวเกลื่อนกระจัดกระจายทั่วถนน  ผลมาจากขยะของทุกคนในโรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ที่ทิ้งมาแต่เช้าจรดค่ำจนล้นถัง “ตอนนั้นยังไม่ได้ย้ายมาบรรจุที่นี่แต่มีโอกาสเข้ามาคุมสอบ กศน. ที่โรงเรียนคำแสนฯ เราเห็นสภาพโรงเรียนมีแต่ขยะ เอ๊ะทำไมอะไรกันนักหนาเรียกว่าสกปรกเลยว่าได้” ครูปิ๋ว-อุไรวรรณ บุญเต็ม ครูชำนาญการพิเศษ ที่เล่าถึงสภาพแวดล้อมเมื่อหลายสิบปีก่อน  ร่องรอยในอดีตนั้นยังหลงเหลือตกค้างมาถึงปัจจุบันอยู่บ้าง...

โรงเรียนที่เด็กสบายใจ ด้วยความเชื่อมั่นและคำพูดอ่อนโยน โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์

โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ เป็นโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสงขลาที่มีห้องเรียนทางเลือกหลากหลาย ทั้งห้องเรียนมอนเตสซอรี ซึ่งเด็กจะได้เรียนแบบบูรณาการคละวิชาและระดับชั้น ห้องเรียนภาษาที่ได้เรียนทั้งภาษาที่ 2 และ 3 กับครูเจ้าของภาษาโดยตรง หรือแม้แต่ห้องเรียนหลักสูตรธรรมดาก็ยังเน้นการเรียนแบบ Open Approach ที่ให้เด็กเลือกทำโปรเจกต์ของตัวเองควบคู่ไปกับกิจกรรมพิเศษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและองค์ความรู้ของชุมชน การพาเด็กไปทำกิจกรรมมากมายขนาดนี้ คุณครูจะต้องมีทั้งความเป็นนักกระบวนกรคอยออกแบบจัดการกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นเพื่อนที่เด็กไว้ใจเพื่อชักชวนเขาไปเรียนสิ่งใหม่ในเวลาเดียวกัน “ปีที่แล้วเป็นปีแรกที่เด็กกลับมาเรียนหลังจากเรียนออนไลน์เพราะโควิด-19  หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าต้องปฏิบัติตัวยังไง  เราพบว่าเด็กบางคนไม่กล้าเข้าไปพูดคุยขอคำปรึกษากับครูประจำชั้น...

เชื่อมครูรุ่นใหม่กับครูใกล้เกษียณ

“แต่ก่อนโรงเรียนบ้านกาเนะเป็นเสมือนที่พักพิงของครูวัยเกษียณ”  อรุนา ตาเดอิน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกาเนะ จังหวัดสตูล เล่าให้ฟังถึงวิถีชีวิตในอดีตของครูก่อนที่เธอจะมาเป็นผู้อำนวยการ ซึ่งปัจจุบันเข้าปีที่ 5 แล้ว “มาถึงเดือนแรกตกใจเลย พอบ่ายสามครึ่ง นักเรียนกลับบ้าน คุณครูก็หิ้วกระเป๋าลงตามนักเรียนมา พอเข้าแถวเสร็จ นักเรียนกลับบ้าน คุณครูก็เอารถออกแล้วกลับบ้านเลย เราไม่พูดอะไร เพราะมาสังเกตและศึกษาเรียนรู้ว่าจะปรับตัวให้เข้ากับที่นี่ยังไง” ผ่านไป 3 เดือนกับการพยายามปรับตัว...

พัฒนาผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้วยการสื่อสารอย่างสันติ

โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม จังหวัดตราด เป็นโรงเรียนมัธยมฯ ขนาดเล็กที่รายล้อมด้วยธรรมชาติและต้นไม้ใหญ่ บริเวณทางเข้ามีเขาลูกเล็กตามชื่อ เด็กส่วนมากเป็นลูกหลานของเกษตรกรในพื้นที่ ทำสวนยาง ปลูกผลไม้ และส่งขายพืชเศรษฐกิจ  “คนจะเข้าใจว่าเป็นโรงเรียนที่เกี่ยวกับการเกษตร ไม่ก็การปลูกพืชนี่แหละครับ ตอนผมไปตลาด พอแม่ค้ารู้ว่าเป็นครูที่นี่ เขายังทักเลยว่าเด็กโรงเรียนนี้ปลูกต้นไม้ขายได้เงินเยอะเลยนะ” ครูก๊อต-สุทัศน์ ลาดคำ คุณครูที่ปรึกษาประจำชั้น ม.4 เล่าถึงภาพจำของโรงเรียนให้เราฟัง โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคมมุ่งสร้างเด็กให้เป็นผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ทั้งนำตัวเอง...

รู้จักตัวเอง ชื่นชมคนอื่น เติบโตอย่างมั่นใจ ทั้งเด็ก ครูและผู้ปกครอง

“โรงเรียนสุจิปุลิเป็นโรงเรียน Leader in Me ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เด็กมีภาวะผู้นำในตัวเอง เพราะในโลกอนาคตเด็กอาจจะต้องเจอสิ่งหลากหลาย เราจึงพยายามทำให้เขามีสมรรถนะในการจัดการตัวเอง เพื่อพร้อมรับมือกับอนาคตที่แปรผันอยู่ตลอดเวลา และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขครับ” ครูแบงค์ - ธนาคาร มะลิทอง คุณครูประจำชั้น ม.3 แนะนำโรงเรียนให้เรารู้จัก โรงเรียนสุจิปุลิ เป็นโรงเรียนเอกชนแนวคิดใหม่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่นำหลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนมาผนวกกับหลักสูตรแกนกลางปกติ โดยสอนทักษะชีวิตและทัศนคติที่ดีให้ผู้เรียนไปพร้อมกับด้านวิชาการ ทั้งการจัดการตนเองและการร่วมงานกับผู้อื่น...

ลดภาระงานครู ด้วยสกรัมบอร์ด

เมื่อโรงเรียนศรีรักษ์ราฎร์บำรุง โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดปราจีนบุรี คิดการใหญ่ อยากจะเป็นพื้นที่ให้นักเรียนได้ค้นพบความถนัดและศักยภาพในแบบของตัวเอง จึงจัดการเรียนการสอนวิชาเพิ่มเติมตามความสนใจของผู้เรียน แต่ความฝันในครั้งนี้ก็ไม่ง่าย เนื่องจากภาระงานของคุณครูไม่ได้มีแค่การสอน แต่ยังมีงานเอกสารและการจัดการต่างๆ ในโรงเรียนที่ต้องดูแล มิหนำซ้ำโรงเรียนก็กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายเรื่องช่องว่างระหว่างวัย เนื่องจากกว่าครึ่งเป็นครูรุ่นใหม่ที่เพิ่งจะบรรจุเข้ามาได้ไม่นาน โครงการโรงเรียนปล่อยแสงได้เข้าไปร่วมทำงานกับโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงตลอดระยะเวลา 1 ปี เพื่อหาคำตอบว่าจะทำอย่างไรให้ภาระงานอื่นของคุณครูลดลง มีเวลาเต็มที่กับการสอนได้มากขึ้น รวมไปถึงก้าวข้ามความแตกต่างของช่วงวัย เพื่อทำให้โรงเรียนกลายเป็นพื้นที่แห่งความสุขของทั้งผู้เรียนและผู้สอนไปพร้อมกัน โรงเรียนของชุมชน “โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงเป็นโรงเรียนมัธยมฯ ประจำตำบลแห่งเดียวในจังหวัดปราจีนบุรีที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด...

เช็กฮวงจุ้ยการศึกษาไทย ในวันที่หลักสูตรเปลี่ยนชื่อเรียก

Jan 5, 2022 บทความ 2 min

หลายคนเชื่อว่า “การเปลี่ยนชื่อ” จะหนุนนำให้หลายอย่างเปลี่ยนในทางดีขึ้น แม้แต่ “Facebook” ยังเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “Meta” เพื่อยกระดับบริการที่ให้ความสำคัญกับโลกเสมือนจริง ทว่าการเปลี่ยนชื่อหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก “หลักสูตรแกนกลาง” เป็น “หลักสูตรฐานสมรรถนะ” จะหนุนนำนักเรียนเราให้ดีขึ้นเหมือนกันไหม เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย ประกาศกับสังคมว่ากำลังพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยหลักสูตรที่สนับสนุนความถนัดและความสนใจผู้เรียนเป็นรายคน สนทนากับ ‘รศ.อนุชาติ พวงสำลี’ คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ไม่ใช่สายมูเตลู แต่นับเวลาที่อยู่ในแวดวงการเรียนรู้ ก็พอพยากรณ์ได้ว่าอนาคตนักเรียนไทยจะเป็นแบบไหนในวันที่ “หลักสูตรการศึกษาเปลี่ยนชื่อเรียก”   1. เปลี่ยนชื่ออย่างเดียวไม่ปัง ต้องเปลี่ยนความเชื่อเรื่องการศึกษา หากเปรียบการเปลี่ยนหลักสูตรกับความเชื่อ วันนี้กระทรวงศึกษาธิการเชื่อว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเดิมที่ให้ความรู้ตามมาตรฐาน 8 สาระวิชา ไม่ทันสมัยกับความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียนอีกต่อไปแล้ว และการแก้เคล็ดคือเปลี่ยนไปเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่เน้นเรียนรู้แบบสร้างทักษะเพื่อทำให้ภาพการศึกษาไทยเปลี่ยนในทางที่ดีกว่าเดิม เรื่องนี้ ‘รศ.อนุชาติ’ มองว่าแก้ปัญหาถูกทาง แต่ยังไม่ครบเครื่อง...

เสวนาวิชาการ: ถอดสลักโลกการศึกษา ถอดบทเรียนการพัฒนาชุมชน

เวทีเสวนาวิชาการ "ก่อการวิจัย: ถอดสลักโลกการศึกษา ถอดบทเรียนการพัฒนาชุมชน" วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้อง 202 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยลักษณ์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดการเบื้องต้นช่วงเช้า...