
โครงการผู้นำแห่งอนาคตมีจุดยืนในการพัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง และนักขับเคลื่อนสุขภาวะทางปัญญา โดยหนุนเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากด้านใน (Self-leadership) เพื่อก้าวข้ามมายาคติ ความคิด และความเชื่อเดิมๆ ชวนหันกลับมาพัฒนาความสามารถเชิงการสะท้อนย้อนมองตนเอง (Reflexivity) การเชื่อมโยงกับสรรพสิ่ง (Connectivity) การเรียนรู้ใหม่และการเปลี่ยนแปลงตนเอง (Renewability) และความรับผิดชอบต่อตน ผู้อื่น และสังคม และสภาวะการนำที่เอื้อให้เกิดความยั่งยืนและเกิดสังคมสุขภาวะนั้น จำเป็นต้องสร้างสภาวะการนำแบบรวมหมู่ และหลากหลาย Collective Leadership) สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลังพร้อมมุ่งประโยชน์สุขของส่วนรวม (Transformative Leadership) นอกจากนี้ โครงการฯ เชื่อว่าการบูรณาการข้ามศาสตร์ และการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันจะเป็นประตูสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมที่ยั่งยืน พร้อมโอบอุ้มความหลากหลาย และพร้อมร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสังคม
เป้าหมายของโครงการ
- ยกระดับและขยายเครือข่ายผู้นำการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
- พัฒนาศักยภาพนักสื่อสารสุขภาวะและผู้นำการเปลี่ยนแปลง
- วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการทำงาน
- สื่อสารเพื่อเสนอบทสนทนา และจิตสำนึกใหม่ทางสังคม (Public Pedagogy)
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยกระดับและขยายเครือข่ายผู้นำการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การวิจัยและสร้างองค์ความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

หันหลังให้กับไม้เรียว ด้วยจิตวิทยาเชิงบวกในห้องเรียน
Reading Time: 2 minutes “ถ้าไม่ทำการบ้าน จะโดนตี” “ถ้าไม่อ่านหนังสือ เธอจะสอบตก” “ถ้าทำคะแนนไม่ดี เธอจะไปแข่งกับใครได้” “ถ้าทำงานไม่เสร็จ ห้ามออกไปเล่นเด็ดขาด นั่งทำไปจนกว่าจะเสร็จ” การเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศเหล่านี้ นอกจากไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกกับการเรียนหรือเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ซ้ำร้าย แนวทางเช่นนี้อาจให้ผลในทางตรงข้าม และลงเอยด้วยความกลัว ความกังวลของผู้เรียน จากการที่ชีวิตถูกฝึกว่าห้ามผิดพลาดตลอดเวลา เช่นนี้แล้ว ห้องเรียนจึงไม่ใช่สถานที่อันพึงปรารถนาอีกต่อไป ‘ห้องเรียนจิตวิทยาเชิงบวก’ โครงการบัวหลวงก่อการครู โดยการดูแลของ ผศ.นพ.พนม เกตุมาน ที่ปรึกษาภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ ผศ.สุรวิทย์ อัสสพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงเริ่มต้นขึ้น โดยการพาครู 29 คน จาก 8 โรงเรียนในจังหวัดอุดรธานี ไปพบความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงบวกในห้องเรียน สร้างจิตวิทยาเชิงบวกในห้องเรียน ภายใต้หลักสูตรการอบรมห้องเรียนจิตวิทยาเชิงบวก ได้สรุปหัวใจสำคัญในการสร้างจิตวิทยาเชิงบวกที่คุณครูสามารถนำไปใช้กับการเรียนการสอนได้ โดยมีหลัก 5 ประการด้วยกันคือ 1. Positive Emotion (อารมณ์เชิงบวก) คือการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกทางบวก เช่น สนุก ตื่นเต้น ท้าทาย ...

‘กล้าที่จะไม่สอน’ สร้างห้องเรียนที่ปราศจากความกลัว
Reading Time: 2 minutes วิธีการสร้างห้องเรียนที่สร้างสรรค์และปราศจากความกลัว ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ครูต้องทำอะไรบ้าง จึงเป็นโจทย์ใหม่ที่ท้าทายระบบการศึกษาทั้งระบบ

เปิดใจรับฟังเสียงเด็ก สร้างห้องเรียนที่เป็นมิตรต่อความแตกต่างหลากหลาย
Reading Time: 2 minutes กุญแจสำคัญของแนวคิดการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมคือ เด็กควรได้รับการศึกษาในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด ซึ่งต้องอาศัยการยอมรับและเข้าใจในความแตกต่างหลากหลายจากทุกภาคส่วน

‘แหย่ให้อยาก ยุให้สงสัย’ วิชาวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนไม่เบือนหน้าหนี
Reading Time: 2 minutes สำหรับเรา ครูไม่ใช่แค่หน้าที่ มันเป็นความสุขมากกว่า พอเห็นนักเรียนมีความสุขและสนุก เราก็มีความสุขไปกับเขาด้วย