ก่อการครู – Korkankru

ก่อการครู

สวนศิลป์บินสิ! ติดปีกการศึกษา ชีวิตและการเรียนรู้ที่ห้องเรียนไม่ได้สอน

“เขาทำงานหนักแทบตายเพื่อที่จะซื้ออาหารดีๆ ซื้อเสื้อผ้าดีๆ ซื้อบ้านดีๆ และเพื่อรักษาตัวเอง ซึ่งเป็นปัจจัย 4 ที่เขารู้สึกไม่มีอำนาจเลือกพวกนี้ เขาต้องไปทำงานหนัก หาเงิน แล้วก็กลับมา “สังคมเราเป็นสังคมที่ถูกปกครอง ถูกครอบงำโดยกลุ่มอำนาจใหญ่ๆ กลุ่มทุนที่อยู่ข้างหลัง จัดระเบียบสังคมให้ไปสู่ผลประโยชน์ของเขา เพราะการศึกษาก็สร้างมาเพื่อระบบทุน ระบบอุตสาหกรรม ให้คนรับใช้ระบบเหล่านั้น มันไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้คนมีความสุข ให้คนใช้ชีวิตได้อย่างอิสระเสรี หรือให้คนเท่ากัน” วันเวลาในวัยเยาว์เดินไปอย่างเชื่องช้า...

กิ่งก้านใบ LearnScape: การเรียนรู้นอกห้องเรียนของผู้ประสบภัยทางการศึกษา

“ผมโตมากับยาย อยู่บ้านในชทบท ชอบฝันไปเรื่อยว่าอยากเป็นทนาย อยากเป็นปลัด อยากเป็นทหาร อยากเป็นตำรวจ ผมพยายามพิสูจน์ตัวเอง ผมอยากเป็นที่หนึ่ง อยากได้รับการยอมรับตามค่านิยมของสังคม แต่ก็ไม่เคยถูกยอมรับเลยสักครั้ง “บ้านผมไม่ได้อบอุ่น ไม่ได้ปลอดภัย ท้ายที่สุด ผมเลิกเรียน ไม่สนใจอะไร ทำให้ผมติดเพื่อน รู้สึกสนิทใจกับเพื่อน เพื่อนพาทำอะไรผมก็ทำด้วย พอการพิสูจน์ตัวเองมันไม่มีคุณค่ามากพอ ผมก็ไม่รู้ว่าจะทำต่อไปเพื่ออะไร “ผมกลายเป็นเด็กที่เรียกว่ากลุ่มเปราะบาง...

เปลี่ยนการ feedback สุดทิ่มแทง ด้วยการตั้งคำถามอย่างทรงพลัง และฟังอย่างลึกซึ้ง ผ่านห้องเรียนโค้ชเพื่อครู

เปลี่ยนครูเป็นโค้ช หน้าที่สอนก็หนักพอแล้วทำไมเราต้องมีทักษะโค้ชด้วย ? ลองนึกภาพว่า ถ้าครูทำหน้าที่เป็นเพียงแค่ผู้ให้ความรู้อย่างเดียว เมื่อหมดคาบครูก็กลับบ้าน ทว่าความจริงครูไม่ได้มีบทบาทเพียงแค่ให้ความรู้ แต่เหมือนเรากำลังดูแลชีวิตมนุษย์คนหนึ่ง หลายคนแบกความทุกข์ไว้เต็มหลัง เมื่อเผชิญกับปัญหา และต้องการหนทางเพื่อแก้ไข หรือต้องการคำแนะนำ ครูมักเป็นบุคคลเป็นอันดับแรก ๆ ที่ผู้เรียนนึกถึง และคงจะดีไม่น้อยถ้ามีใครสักคนมานั่งรับฟังอยู่ข้าง ๆ เขา ซึ่งเด็กทุกคนปราถนาที่จะได้รับการมองเห็นและการไว้วางใจ ดังนั้นทักษะการโค้ชจึงเข้ามามีบทบาทในห้องเรียน และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้ครูสามารถกลับมาดูแลหัวใจของเพื่อนมนุษย์หรือของเด็กในห้องเรียน...

รักษ์เขาชะเมา: การเรียนรู้คู่ขนาน เมื่อห้องเรียนไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของชีวิต

“โรงเรียนไม่มีความสุข หนูไม่อยากไปโรงเรียน”“ถ้าไม่อยากไปโรงเรียน แล้วมีโรงเล่นจะไปไหม” บทสนทนาขนาดสั้น ผ่านคำบอกเล่าจาก ป้าแฟ๊บ-บุปผาทิพย์ แช่มนิล ผู้ดูแลกลุ่มรักษ์เขาชะเมา ถึงที่มาของ ‘โรงเรียน โรงเล่น’ โดยมีความเชื่อมั่นว่า การศึกษาควรหลากหลาย ไม่ผูกขาด ใครใคร่เรียนก็ได้เรียน ผ่านการศึกษาบนฐานชุมชน เปิดพื้นที่นอกห้องเรียนให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้ธรรมชาติ รู้จักวิถีชุมชน ณ ทุ่งควายกิน อำเภอแกลง...

‘โรงเล่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้’ เพราะช่วงเวลาผ่อนคลายคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด

“การไปโรงเรียนหรือการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันของเด็ก เขาเครียดมาก ทำให้เกิดภาวะปิดกั้นไม่สามารถที่จะเรียนรู้ ขณะที่ครูก็ข่มขู่ บังคับ โดยเฉพาะโรงเรียนที่บอกว่าตัวเองเป็นวิชาการ เพราะฉะนั้นนอกจากเด็กจะถดถอยแล้ว ก็คือกลัวไปอีกร้อยแปด “ในทางหลักสูตรแกนกลางเขาอาจจะเขียนไว้สวย แต่ในทางปฏิบัติที่เราเห็น เด็กยังมีภาวะการเรียนรู้ถดถอย โดยเฉพาะเด็กรอบนอกที่เราเจอ เขาไม่กล้าที่จะพูดความคิด ความรู้สึก ความต้องการของตัวเอง เด็กเรียนจบม.3 แทบไม่รู้เลยว่าจะประกอบอาชีพอะไร ค้นหาตัวเองเจอหรือยัง ถ้ามันเวิร์คเด็กเราจะมีศักยภาพสูงกว่านี้ ประเทศเราจะไปได้ไกลกว่านี้แล้ว” ‘ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้’...

“เราต่างมี  Learning style เป็นของตัวเอง”
โจทย์ของการศึกษา คือการเรียนรู้ที่ไร้ขอบ 

ว่ากันตามตรง การศึกษาไทย คลำไปตรงไหนก็ดูจะเต็มไปด้วยปัญหา และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการก็ดี รวมทั้งเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูง ในหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา สิ่งที่พบคือ การกำหนดนโยบายใหม่เพื่อแก้ปัญหาการศึกษาของชาติ การยกเลิกโครงการเดิมเพื่อจัดทำโครงการใหม่ โดยไม่คำนึงถึงความต่อเนื่องและผลสัมฤทธิ์ของโครงการ นโยบายหลายอย่างมุ่งไปสู่การเรียกร้องความนิยมในช่วงเวลาสั้นๆ โดยไม่คำนึงผลเสียระยะยาว หลายโครงการทำเพื่อหาผลประโยชน์ในทางทุจริตที่ปรากฏอยู่ตามหน้าข่าวไม่ขาดตา หรือกล่าวอย่างตรงไปตรงมา ปัญหาที่แท้ไม่เคยถูกแก้ ซ้ำเติมด้วยปัญหาใหม่ ที่มาในนามของการแก้ไขปัญหา นี่คือวัฏจักรของระบบการศึกษาไทย ที่กำลังถูกตั้งเรียกร้องทั้งรากฐานวิธีคิดและวิธีปฏิบัติรูปแบบใหม่...

มหา’ลัยไทบ้าน ปี 2 #Mission To The Moon

.............ก่อการครู ชวนทำภารกิจพิชิตดวงจันทร์กับมหา’ลัยไทบ้าน ปี 2 #Mission To The Moon การศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและปลดแอกการเรียนรู้จากรั้วโรงเรียนสู่การเรียนรู้จากชุมชน ผ่านอัลบั้มภาพชุด “Mission To The Moon : ภารกิจเที่ยว ทำ เล่น เรียน รู้...

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกโครงการก่อการครู รุ่น 4

โครงการก่อการครูขอขอบคุณที่ท่านก้าวมาเป็นส่วนหนึ่งในการริเริ่มพัฒนาเปลี่ยนแปลงห้องเรียน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไปกับเรา ‘โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้’ โครงการฯ ขอประกาศรายชื่อครูผู้ผ่านการคัดเลือกในการเข้าร่วมขบวนการรุ่น 4 จำนวน 133 ท่าน ขอให้คุณครูแกนนำรุ่น 4  ยืนยันสิทธิ์และชำระเงินประกันการเข้าร่วมจำนวน 3,000 บาท ภายในวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565 นี้...

มายาคติว่าด้วยความสำเร็จ: การสอบเข้ามหาวิทยาลัยอาจไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต

ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล เคยสังเกตไหม เวลานั่งรถผ่านหน้าโรงเรียนมัธยม ไม่ว่าในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ที่ตลอดแนวรั้วดูเหมือนจะถูกเนรมิตให้เป็นพื้นที่โฆษณาขนาดมหึมา มีแผ่นป้ายไวนีลติดประกาศเชิดชูนักเรียนที่ได้รับรางวัลต่างๆ นานา ขนาบด้วยภาพนักเรียนชั้น ม.6 ที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน หากมองเข้าไปถึงความรู้สึกของเด็ก อาจมีบางคำถามผุดขึ้นตามมาว่า เด็กเหล่านั้นคิดอย่างไรกับการที่รูปของเขาและเธอถูกแปะไว้เต็มกำแพงโรงเรียนด้วยความชื่นชมของผู้ใหญ่ กับอีกมุม แล้วเด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ล่ะ จะรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้? นั่นคือข้อสังเกตประการหนึ่ง...

ภัสรัญ สระทองนวล: “วิชาใจ สำคัญไม่น้อยกว่าวิชาการ”

เริ่มต้นจากการเป็นครูแนะแนวไฟแรง งัดทุกกลวิชามาถ่ายทอดสู่นักเรียน เป็นครูที่เด็กๆ วิ่งเข้าหา ด้วยท่าทีเป็นกันเอง เปิดเผย รับฟัง  ทำให้ในเวลาไม่นานนัก ครูแก้ว - ภัสรัญ สระทองนวล ครูแนะแนวแห่งโรงเรียนกำแพงแสนวิทยา ก็กลายเป็นขวัญใจของเด็กๆ โดยปริยาย งานสอนไม่บกพร่อง งานกิจกรรมก็ไม่แพ้กัน  ครูแก้วปลุกปั้นทีมวอลเล่ย์บอลโรงเรียนในฐานะโค้ชครั้งแรก ก็หอบรางวัลที่ 3 ของจังหวัดมาประดับโรงเรียน...