Korkankru

โครงการบัวหลวงก่อการครู

Reading Time: 2 minutes

ในการดูแลของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

โครงการบัวหลวงก่อการครู

โครงการบัวหลวงก่อการครู เป็นโครงการในการดำเนินงานของคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และเครือข่ายองค์กรภาคีที่ทำงานด้านการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ในทุกบริบท มีจุดมุ่งหวังจะเห็นการพัฒนาการศึกษาไทยไปในทางที่ดีขึ้น โดยเริ่มจากครูผู้ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและขยายไปสู่ผู้เรียน

            โครงการบัวหลวงก่อการครูเริ่มเมื่อปี 2562 ภายใต้ชื่อโครงการบัวหลวงก่อการครู : ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ ได้รับแรงบันดาลใจจากโมเดลการพัฒนาครูจากโครงการก่อการครู 4 โมดูล คือ โมดูล 1 ครูคือมนุษย์ สำรวจภูมิทัศน์ภายในของความเป็นครู, โมดูล 2 วิชาก่อการครูแกนนำ, โมดูล 3 ครูคือกระบวนกร และโมดูล 4 ครูปล่อยแสง กลุ่มเป้าหมายคือครูจำนวน 100 คน ทั่วประเทศในการดูแลของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

            และในปี 2563 – 2566 ได้ดำเนินโครงการบัวหลวงก่อการครู : การพัฒนานิเวศการเรียนรู้ โดยมีจุดมุ่งหวังจะพัฒนาการศึกษาไทยที่มีความสอดคล้องกับบริบทชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “นิเวศการเรียนรู้” และพื้นที่ที่น่าสนใจในโรงเรียนที่อยู่ในการดูแลคือพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 8 โรงเรียน ซึ่งเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้เห็นจุดหมายตามที่โรงเรียนต้องการผ่าน 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การวิจัยและพัฒนานิเวศการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาศักยภาพบุคลากร

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาสื่อการสอนและทรัพยากรการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสื่อสารกับสังคม

รับชมวิดีโออื่น ๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PLbkczTHC1M-SfbfYQCQte-3g3-XnqNaeb

หันหลังให้กับไม้เรียว ด้วยจิตวิทยาเชิงบวกในห้องเรียน

Reading Time: 2 minutes “ถ้าไม่ทำการบ้าน จะโดนตี” “ถ้าไม่อ่านหนังสือ เธอจะสอบตก” “ถ้าทำคะแนนไม่ดี เธอจะไปแข่งกับใครได้” “ถ้าทำงานไม่เสร็จ ห้ามออกไปเล่นเด็ดขาด นั่งทำไปจนกว่าจะเสร็จ” การเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศเหล่านี้ นอกจากไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกกับการเรียนหรือเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ซ้ำร้าย แนวทางเช่นนี้อาจให้ผลในทางตรงข้าม และลงเอยด้วยความกลัว ความกังวลของผู้เรียน จากการที่ชีวิตถูกฝึกว่าห้ามผิดพลาดตลอดเวลา เช่นนี้แล้ว ห้องเรียนจึงไม่ใช่สถานที่อันพึงปรารถนาอีกต่อไป ‘ห้องเรียนจิตวิทยาเชิงบวก’ โครงการบัวหลวงก่อการครู โดยการดูแลของ ผศ.นพ.พนม เกตุมาน ที่ปรึกษาภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ ผศ.สุรวิทย์ อัสสพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงเริ่มต้นขึ้น โดยการพาครู 29 คน จาก 8 โรงเรียนในจังหวัดอุดรธานี ไปพบความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงบวกในห้องเรียน  สร้างจิตวิทยาเชิงบวกในห้องเรียน  ภายใต้หลักสูตรการอบรมห้องเรียนจิตวิทยาเชิงบวก ได้สรุปหัวใจสำคัญในการสร้างจิตวิทยาเชิงบวกที่คุณครูสามารถนำไปใช้กับการเรียนการสอนได้ โดยมีหลัก 5 ประการด้วยกันคือ  1. Positive Emotion (อารมณ์เชิงบวก) คือการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกทางบวก เช่น สนุก ตื่นเต้น ท้าทาย ...

May 29, 2023 2 min

‘กล้าที่จะไม่สอน’ สร้างห้องเรียนที่ปราศจากความกลัว

Reading Time: 2 minutes วิธีการสร้างห้องเรียนที่สร้างสรรค์และปราศจากความกลัว ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ครูต้องทำอะไรบ้าง จึงเป็นโจทย์ใหม่ที่ท้าทายระบบการศึกษาทั้งระบบ

May 29, 2023 2 min